ขอโทษประเทศไทย

วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2554




รําวงมาตรฐาน
ประวัติและที่มาในสมัยก่อนไม่มีคำว่า “มาตรฐาน” จะเรียกกันเพียงว่า “รำวง” เท่านั้น การรำวงนี้เป็นการละเล่นพื้นบ้านอย่างหนึ่งของชาวไทยที่บ่งบอกถึงความสนุกสนาน จะเล่นกันในบางท้องถิ่นและบางเทศกาลของแต่ละจังหวัดเท่านั้น รำวงมาตรฐานมีวิวัฒนาการมาจากการรำโทน ซึ่งเป็นการละเล่นพื้นเมืองของไทย หรืออาจพูดได้ว่า “รำวง” เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “รำโทน” สมัยก่อนเครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการรำโทนก็มี ฉิ่ง ฉาบ และโทน ใช้ตีประกอบจังหวะ โดยการฟ้อนรำจะมีเสียงโทนเป็นเสียงหลักตีตามจังหวะหน้าทับ จึงเรียกการฟ้อนรำชนิดนี้ว่า “รำโทน” ในด้านของบทร้องจะเป็นบทร้องที่มีภาษาเรียบง่าย ไม่พิถีพิถันในเรื่องถ้อยคำและสัมผัสวรรคตอนแต่อย่างใด เนื้อหาของเพลงจะออกมาในลักษณะกระเซ้าเย้าแหย่การหยอกล้อของหนุ่มสาว เชิญชวน ตลอดจนการชมโฉมความงามของหญิงสาวเป็นต้น ทั้งนี้ก็เพื่อความสนุกสนานในการเล่น ในเรื่องของการแต่งกายก็เน้นเพียงความสะดวกสบายของชาวบ้านเอง ไม่ได้ประณีตแต่อย่างใด
เมื่อประมาณ พ.ศ. 2483 ชาวบ้านนิยมเล่นรำโทนอย่างแพร่หลาย ศิลปะชนิดนี้จึงมีอยู่ตามท้องถิ่นและพบเห็นได้ตามเทศกาลต่างๆ มากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากนี้เอง จึงได้มีผู้คิดแต่งบทร้องและทำนองเพลงขึ้นใหม่เป็นจำนวนมาก แต่ทั้งนี้ก็ยังคงจังหวะหน้าทับของโทนไว้เช่นเดิม บทร้องและทำนองแปลกๆ ที่มีเกิดขึ้นมาใหม่โดยปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้จึงเป็นบทเพลงที่ขาดการบันทึกไว้เป็นหลักฐาน ไม่ปรากฏว่า ใครเป็นผู้แต่งบทร้องและทำนองในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2484 – 2488 เป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นที่ ตำบลบางปู จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2484 เพื่อเจรจาขอตั้งกองทัพในประเทศไทย โดยใช้เส้นทางต่างๆ ในแผ่นดินไทยลำเลียงเสบียงอาหาร อาวุธและกำลังพล เพื่อใช้ในการต่อสู้กับประเทศสัมพันธมิตร อังกฤษ อเมริกา
ซึ่งในขณะนั้นประเทศไทยมี จอมพล ป. (แปลก) พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ตัดสินใจยอมให้ประเทศญี่ปุ่นเข้ามาตั้งฐานทัพในประเทศไทย เพราะเกรงว่าหากปฏิเสธคงจะถูกปราบปรามแน่ ด้วยเหตุนี้เองประเทศไทยจึงได้รับผลกระทบจากการรุกรานของฝ่ายพันธมิตร ที่ส่งกองทัพเข้ามาโจมตีฐานทัพญี่ปุ่นทางอากาศ โดยเฉพาะในยามที่เป็นคืนเดือนหงาย จะมองเห็นจุดยุทธศาสตร์ได้ง่าย ข้าศึกมักจะเข้ามาโจมตีอย่างหนักด้วยการทิ้งระเบิด ซึ่งสร้างความเสียหายทำลายชีวิตและทรัพย์สินบ้านเรือนเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะบ้านเรือนที่อยู่ใกล้กับฐานทัพญี่ปุ่นเมื่อช่วงคืนเดือนหงายผ่านไปคืนเดือนมืดเข้ามา ข้าศึกจะมองเห็นจุดยุทธศาสตร์ไม่ชัดเจนจึงพักการรุกราน ประชาชนชาวไทยได้รับความเดือดร้อน ต่างอยู่ในสถานการณ์ที่หวาดกลัวเป็นอย่างมาก จึงได้หาวิธีผ่อนคลายความตึงเครียดความหวาดผวา ด้วยการนำศิลปะพื้นบ้านที่ซบเซาไป กลับมาร้องรำทำเพลง นั่นก็คือ “การรำโทน”
คำร้อง ทำนอง และการแต่งกาย ก็ยังคงเรียบง่าย สนุกสนานเช่นเดิม เพลงที่นิยมได้แก่เพลง ใกล้เข้าไปอีกนิด ช่อมาลี ตามองตา ยวนยาเหล่ เป็นต้น ต่อมา จอมพล ป. (แปลก) พิบูลสงคราม ได้เล็งเห็นศิลปะอันสวยงามของไทยที่มีอยู่อย่างแพร่หลาย หากชาวต่างชาติมาพบเห็นจะตำหนิได้ว่า ศิลปะการฟ้อนรำของไทยนี้มิได้มีความสวยงามประณีตแต่อย่างใด รวมถึงไม่มีศิลปะที่แสดงออกว่าเป็นชาติที่มีวัฒนธรรม ท่านจึงได้มอบให้กรมศิลปากรเป็นผู้รับผิดชอบในการปรับปรุงและพัฒนาการรำ “รำโทน” ขึ้นใหม่ให้มีระเบียบแบบแผนให้มีความประณีตงดงามมากขึ้น ทั้งทางด้านเนื้อร้อง ทำนอง ตลอดจนเรื่องการแต่งกายเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2487 กรมศิลปากรได้ประพันธ์บทร้องขึ้นใหม่ 4 เพลง คืองามแสงเดือน ชาวไทย,รำซิมารำ,คืนเดือนหงาย และได้กำหนดวิธีการเล่น ตลอดจนท่ารำและการแต่งกายให้มีความเรียบร้อยสวยงามอย่างศิลปะของไทย วิธีการเล่นนั้นจะเล่นรวมกันเป็นวง และเคลื่อนย้ายเวียนกันไปเป็นวงทวนเข็มนาฬิกา และด้วยเหตุนี้เองจึงได้เปลี่ยนชื่อ “รำโทน” เสียใหม่มาเป็น “รำวง” ต่อมาท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม ได้ประพันธ์เนื้อร้องขึ้นมาใหม่อีก 6 เพลง คือ ดวงจันทร์วันเพ็ญ,ดอกไม้ของชาติ, หญิงไทยใจงาม,ดวงจันทร์ขวัญฟ้า,ยอดชายใจหาญ,บูชานักรบ มอบให้กรมศิลปากรบรรจุท่ารำไว้เป็นแบบมาตรฐาน ส่วนทำนองนั้นรับผิดชอบแต่งโดยกรมศิลปากรและกรมประชาสัมพันธ์ เป็นเพลงที่มีเนื้อร้องสุภาพ ใช้คำง่าย ทำนองเพลงง่าย มุ่งให้เห็นวัฒนธรรมของชาติเป็นส่วนใหญ่ การแสดงจะใช้ผู้แสดงหญิงชายไม่น้อยกว่า ๕ คู่ ครั้นเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ชาวไทยก็ยังคงให้ความนิยมการเล่นรำวงสืบมาจนถึงปัจจุบัน และชาวต่างชาติก็นิยมเล่นกันอย่างแพร่หลาย ทั้งในงานเต้นรำต่างๆ จนกระทั่งมีนักประพันธ์ผู้หนึ่งเป็นชาวอเมริกันที่ชื่อว่า Foubion Bowers ที่ได้มาพบเห็นศิลปะการรำวงของไทย และนำไปกล่าวไว้ในหนังสือ Theatre in the East ซึ่งมีสำเนียงการเรียก “รำวง” เพี้ยนไปบ้างเล็กน้อยเป็น “รำบอง” (Rombong)
แต่อย่างไรก็ดี วัตถุประสงค์ของกรมศิลปากร ในการปรับปรุงศิลปะการรำวงทั้งหมด 10 เพลงนี้เพื่อเป็นศิลปะการรำวงที่มีระเบียบแบบแผน ทั้งคำร้อง ทำนอง ท่ารำ ตลอดจนการแต่งกาย ให้เป็นแบบฉบับมาตรฐาน สะดวกในการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมของไทยและสืบสานต่อไป ด้วยเหตุผลนี้ เราจึงเรียกรำวงที่มีศิลปะเป็นแบบฉบับมาตรฐานว่า “รำวงมาตรฐาน” สืบมาจนถึงปัจจุบันท่ารำ คุณครูศุภลักษณ์ ภัทรนาวิก,คุณครูมัลลี คงประภัศร์และคุณครูลมุล ยมะคุปต์ได้ร่วมกันประดิษฐ์ท่ารำขึ้นทั้งหมด ๑๔ แม่ท่า เป็นชื่อท่ารำที่อยู่ในรำแม่บท มีทั้งหมด ๑๐ เพลง ได้แก่ เพลงงามแสงเดือน,เพลงชาวไทย,เพลงรำซิมารำ เพลง,คืนเดือนหงาย,เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ ,เพลงดอกไม้ของชาติ, เพลงหญิงไทยใจงาม, เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า, เพลงยอดชายใจหาญและเพลงบูชานักรบคำร้องจมื่นมานิตย์นเรศ (เฉลิม เศวตนันท์) หัวหน้ากองการสังคีต กรมศิลปากร ได้ประพันธ์ขึ้น ๔ เพลง คือ เพลงงามแสงเดือน, เพลงชาวไทย,เพลงรำซิมารำและเพลงคืนเดือนหงายคุณหญิงละเอียด พิบูลสงคราม ได้ประพันธ์คำร้องไว้ ๖ เพลง คือเพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ,เพลงดอกไม้ของชาติ,เพลงหญิงไทยใจงาม,เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า,เพลงยอดชายใจหาญและเพลงบูชานักรบทำนองอาจารย์มนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทย กรมศิลปากร ได้แต่งทำนองไว้ ๖ เพลง คือ เพลงงามแสงเดือน,เพลงชาวไทย, เพลงรำซิมารำ,เพลงคืนเดือนหงาย,เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ,เพลงดอกไม้ของชาติครูเอื้อ สุนทรสนาน หัวหน้าวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ แต่งทำนองไว้ ๔ เพลง คือ เพลงหญิงไทยใจงาม,เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า,เพลงยอดชายใจหาญ,และเพลงบูชานักรบเครื่องดนตรีเดิมนั้นรำโทนมีเครื่องดนตรีประกอบ คือ ฉิ่ง กรับ ฉาบ และโทน เมื่อมีการพัฒนาการรำขึ้น จึงได้พัฒนาเครื่องดนตรีที่ใช้โดยใช้วงดนตรีสากลบรรเลงแทนการแต่งกายมิได้กำหนดเฉพาะเจาะจงว่าต้องแต่งชุดไทยอย่างใดอย่างหนึ่งแน่นอน แต่สามารถแต่งได้หลากหลายแบบเช่น แต่งชุดไทยจักรี ชุดไทยสมัย ร.๖ ชุดไทยแบบชาวบ้าน คือห่มสไบ นุ่งโจงกระเบน หรือชุดไทยสมัยใดก็ได้ขอให้เป็นแบบไทยที่ดูสุภาพงดงาม ชายก็แต่งได้ทั้งชุดไทยแบบชาวบ้าน คือนุ่งโจงกระเบนใส่เสื้อคอพวงมาลัยแขนสั้นผ้าคาดเอว หรือชุดไทยเสื้อพระราชทานกางเกงขายาว หรือชุดราชปะแตน หรือชุดสากลใส่สูทผูกเนคไทก็ได้
เนื้อเพลงเพลงงามแสงเดือน (ใช้ท่ารำ ท่าสอดสร้อยมาลา)
งามแสงเดือนมาเยือนส่องหล้า งามใบหน้าเมื่ออยู่วงรำ (ซ้ำ)เราเล่นกันเพื่อสนุก เปลื้องทุกข์ให้วายระกำ ขอให้เล่นฟ้อนรำเพื่อสามัคคีเอย
เพลงชาวไทย (ใช้ท่ารำ ท่าชักแป้งผัดหน้า)
ชาวไทยเราเอยขออย่าละเลยในการทำหน้าที่การที่เราได้เล่นสนุกเปลื้องทุกข์สบายอย่างนี้เพราะชาติเราได้เสรีมีเอกราชสมบูรณ์ เราจึงควรช่วยชูชาติให้เก่งกาจเจิดจำรูญเพื่อความสุขเพิ่มพูนของชาวไทยเราเอย
เพลงรำซิมารำ (ใช้ท่ารำ ท่ารำส่าย )
รำซิมารำ เริงระบำกันให้สนุกยามงานเราทำงานกันจริง ไม่ละไม่ทิ้งจะเกิดเข็ญทุกข์ถึงยามว่างเราจึงรำเล่นตามเชิงเช่นเพื่อให้สร่างทุกข์ตามเยี่ยงอย่างตามยุคเล่นสนุกอย่างวัฒนธรรมเล่นอะไรให้มีระเบียบให้งามให้เรียบจึงจะคมขำมาซิมาเจ้าเอ๋ยมาฟ้อนรำมาเล่นระบำของไทยเราเอย
เพลงคืนเดือนหงาย (ใช้ท่ารำท่าสอดสร้อยมาลาแปลง)
ยามกลางเดือนหงายเย็นพระพายโบกพริ้วปลิวมาเย็นอะไรก็ไม่เย็นจิตเท่าเย็นผูกมิตรไม่เบื่อระอาเย็นร่มธงไทยโบกไปทั่วหล้าเย็นยิ่งน้ำฟ้ามาประพรมเอย
เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ (ใช้ท่ารำ ท่าแขกเต้าเข้ารัง และท่าผาลาเพียงไหล่ )
ดวงจันทร์วันเพ็ญ ลอยเด่นอยู่ในนภาทรงกลดสดสี รัศมีทอแสงงามตาแสงจันทร์อร่าม ฉายงามส่องฟ้าไม่งามเท่าหน้านวลน้องยองใยงามเอยแสนงาม งามจริงยอดหญิงชาติไทยงามวงพักตร์ยิ่งดวงจันทรา จริตกิริยานิ่มนวลละไมวาจากังวาน อ่อนหวานจับใจรูปทรงสมส่วน ยั่วยวนหทัย สมเป็นดอกไม้ ขวัญใจชาติเอย
เพลง ดอกไม้ของชาติ (ใช้ท่ารำ ท่ารำยั่ว)
(สร้อย) ขวัญใจดอกไม้ของชาติ งามวิลาศนวยนาดร่ายรำ(ซ้ำ)เอวองค์อ่อนงาม ตามแบบนาฎศิลป์ชี้ชาติไทยเนาว์ถิ่น เจริญวัฒนธรรม(สร้อย)งามทุกสิ่งสามารถ สร้างชาติช่วยชายดำเนินตามนโยบาย สู้ทนเหนื่อยยากตรากตรำ(สร้อย)
เพลงหญิงไทยใจงาม (ใช้ท่ารำท่าพรหมสี่หน้า และท่ายูงฟ้อนหาง)
เดือนพราว ดาวแวววาวระยับแสงดาวประดับ ส่องให้เดือนงามเด่นดวงหน้า โสภาเพียงเดือนเพ็ญคุณความดีที่เห็น เสริมให้เด่นเลิศงามขวัญใจ หญิงไทยส่องศรีชาติรูปงามพิลาศ ใจกล้ากาจเรืองนามเกียรติยศ ก้องปรากฎทั่วคามหญิงไทยใจงาม ยิ่งเดือนดาวพราวแพรว
เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า(ใช้ท่ารำ ท่าช้างประสานงา และท่าจันทร์ทรงกลด )
ดวงจันทร์ขวัญฟ้า ชื่นชีวาขวัญพี่จันทร์ประจำราตรี แต่ขวัญพี่ประจำใจที่เทิดทูนคือชาติ เอกราชอธิปไตยถนอมแนบสนิทใน คือขวัญใจพี่เอย
เพลงยอดชายใจหาญ (ใช้ท่ารำชะนีร่ายไม้ และท่าจ่อเพลิงกาฬ)
โอ้ยอดชายใจหาญ ขอสมานไมตรีน้องมาร่วมชีวี กอบกรณีกิจชาติแม้สุดยากลำเค็ญ ไม่ขอเว้นเดินตามน้องจักสู้พยายาม ทำเต็มความสามารถ
เพลงบูชานักรบ( เที่ยวแรก ฝ่ายหญิงใช้ท่ารำขัดจางนาง ฝ่ายชายใช้ท่ารำจันทร์ทรงกลดเที่ยวที่สอง ฝ่ายหญิงใช้ท่ารำท่าล่อแก้ว ฝ่ายชายใช้ท่ารำท่าขอแก้ว )
น้องรักรักบูชาพี่ ที่มั่นคงที่มั่นคงกล้าหาญเป็นนักสู้เชี่ยวชาญ สมศักดิ์ชาตินักรบน้องรักรักบูชาพี่ ที่มานะที่มานะอดทนหนักแสนหนักพี่ผจญ เกียรติพี่ขจรจบน้องรักรักบูชาพี่ ที่ขยันที่ขยันกิจการบากบั่นสร้างหลักฐาน ทำทุกด้านทำทุกด้านครันครบน้องรักบูชาพี่ ที่รักชาติที่รักชาติยิ่งชีวิตเลือดเนื้อที่พลีอุทิศ ชาติคงอยู่คงอยู่คู่พิภพ

































รําวงมาตรฐาน
ประวัติและที่มาในสมัยก่อนไม่มีคำว่า “มาตรฐาน” จะเรียกกันเพียงว่า “รำวง” เท่านั้น การรำวงนี้เป็นการละเล่นพื้นบ้านอย่างหนึ่งของชาวไทยที่บ่งบอกถึงความสนุกสนาน จะเล่นกันในบางท้องถิ่นและบางเทศกาลของแต่ละจังหวัดเท่านั้น รำวงมาตรฐานมีวิวัฒนาการมาจากการรำโทน ซึ่งเป็นการละเล่นพื้นเมืองของไทย หรืออาจพูดได้ว่า “รำวง” เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “รำโทน” สมัยก่อนเครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการรำโทนก็มี ฉิ่ง ฉาบ และโทน ใช้ตีประกอบจังหวะ โดยการฟ้อนรำจะมีเสียงโทนเป็นเสียงหลักตีตามจังหวะหน้าทับ จึงเรียกการฟ้อนรำชนิดนี้ว่า “รำโทน” ในด้านของบทร้องจะเป็นบทร้องที่มีภาษาเรียบง่าย ไม่พิถีพิถันในเรื่องถ้อยคำและสัมผัสวรรคตอนแต่อย่างใด เนื้อหาของเพลงจะออกมาในลักษณะกระเซ้าเย้าแหย่การหยอกล้อของหนุ่มสาว เชิญชวน ตลอดจนการชมโฉมความงามของหญิงสาวเป็นต้น ทั้งนี้ก็เพื่อความสนุกสนานในการเล่น ในเรื่องของการแต่งกายก็เน้นเพียงความสะดวกสบายของชาวบ้านเอง ไม่ได้ประณีตแต่อย่างใด
เมื่อประมาณ พ.ศ. 2483 ชาวบ้านนิยมเล่นรำโทนอย่างแพร่หลาย ศิลปะชนิดนี้จึงมีอยู่ตามท้องถิ่นและพบเห็นได้ตามเทศกาลต่างๆ มากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากนี้เอง จึงได้มีผู้คิดแต่งบทร้องและทำนองเพลงขึ้นใหม่เป็นจำนวนมาก แต่ทั้งนี้ก็ยังคงจังหวะหน้าทับของโทนไว้เช่นเดิม บทร้องและทำนองแปลกๆ ที่มีเกิดขึ้นมาใหม่โดยปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้จึงเป็นบทเพลงที่ขาดการบันทึกไว้เป็นหลักฐาน ไม่ปรากฏว่า ใครเป็นผู้แต่งบทร้องและทำนองในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2484 – 2488 เป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นที่ ตำบลบางปู จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2484 เพื่อเจรจาขอตั้งกองทัพในประเทศไทย โดยใช้เส้นทางต่างๆ ในแผ่นดินไทยลำเลียงเสบียงอาหาร อาวุธและกำลังพล เพื่อใช้ในการต่อสู้กับประเทศสัมพันธมิตร อังกฤษ อเมริกา
ซึ่งในขณะนั้นประเทศไทยมี จอมพล ป. (แปลก) พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ตัดสินใจยอมให้ประเทศญี่ปุ่นเข้ามาตั้งฐานทัพในประเทศไทย เพราะเกรงว่าหากปฏิเสธคงจะถูกปราบปรามแน่ ด้วยเหตุนี้เองประเทศไทยจึงได้รับผลกระทบจากการรุกรานของฝ่ายพันธมิตร ที่ส่งกองทัพเข้ามาโจมตีฐานทัพญี่ปุ่นทางอากาศ โดยเฉพาะในยามที่เป็นคืนเดือนหงาย จะมองเห็นจุดยุทธศาสตร์ได้ง่าย ข้าศึกมักจะเข้ามาโจมตีอย่างหนักด้วยการทิ้งระเบิด ซึ่งสร้างความเสียหายทำลายชีวิตและทรัพย์สินบ้านเรือนเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะบ้านเรือนที่อยู่ใกล้กับฐานทัพญี่ปุ่นเมื่อช่วงคืนเดือนหงายผ่านไปคืนเดือนมืดเข้ามา ข้าศึกจะมองเห็นจุดยุทธศาสตร์ไม่ชัดเจนจึงพักการรุกราน ประชาชนชาวไทยได้รับความเดือดร้อน ต่างอยู่ในสถานการณ์ที่หวาดกลัวเป็นอย่างมาก จึงได้หาวิธีผ่อนคลายความตึงเครียดความหวาดผวา ด้วยการนำศิลปะพื้นบ้านที่ซบเซาไป กลับมาร้องรำทำเพลง นั่นก็คือ “การรำโทน”
คำร้อง ทำนอง และการแต่งกาย ก็ยังคงเรียบง่าย สนุกสนานเช่นเดิม เพลงที่นิยมได้แก่เพลง ใกล้เข้าไปอีกนิด ช่อมาลี ตามองตา ยวนยาเหล่ เป็นต้น ต่อมา จอมพล ป. (แปลก) พิบูลสงคราม ได้เล็งเห็นศิลปะอันสวยงามของไทยที่มีอยู่อย่างแพร่หลาย หากชาวต่างชาติมาพบเห็นจะตำหนิได้ว่า ศิลปะการฟ้อนรำของไทยนี้มิได้มีความสวยงามประณีตแต่อย่างใด รวมถึงไม่มีศิลปะที่แสดงออกว่าเป็นชาติที่มีวัฒนธรรม ท่านจึงได้มอบให้กรมศิลปากรเป็นผู้รับผิดชอบในการปรับปรุงและพัฒนาการรำ “รำโทน” ขึ้นใหม่ให้มีระเบียบแบบแผนให้มีความประณีตงดงามมากขึ้น ทั้งทางด้านเนื้อร้อง ทำนอง ตลอดจนเรื่องการแต่งกายเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2487 กรมศิลปากรได้ประพันธ์บทร้องขึ้นใหม่ 4 เพลง คืองามแสงเดือน ชาวไทย,รำซิมารำ,คืนเดือนหงาย และได้กำหนดวิธีการเล่น ตลอดจนท่ารำและการแต่งกายให้มีความเรียบร้อยสวยงามอย่างศิลปะของไทย วิธีการเล่นนั้นจะเล่นรวมกันเป็นวง และเคลื่อนย้ายเวียนกันไปเป็นวงทวนเข็มนาฬิกา และด้วยเหตุนี้เองจึงได้เปลี่ยนชื่อ “รำโทน” เสียใหม่มาเป็น “รำวง” ต่อมาท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม ได้ประพันธ์เนื้อร้องขึ้นมาใหม่อีก 6 เพลง คือ ดวงจันทร์วันเพ็ญ,ดอกไม้ของชาติ, หญิงไทยใจงาม,ดวงจันทร์ขวัญฟ้า,ยอดชายใจหาญ,บูชานักรบ มอบให้กรมศิลปากรบรรจุท่ารำไว้เป็นแบบมาตรฐาน ส่วนทำนองนั้นรับผิดชอบแต่งโดยกรมศิลปากรและกรมประชาสัมพันธ์ เป็นเพลงที่มีเนื้อร้องสุภาพ ใช้คำง่าย ทำนองเพลงง่าย มุ่งให้เห็นวัฒนธรรมของชาติเป็นส่วนใหญ่ การแสดงจะใช้ผู้แสดงหญิงชายไม่น้อยกว่า ๕ คู่ ครั้นเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ชาวไทยก็ยังคงให้ความนิยมการเล่นรำวงสืบมาจนถึงปัจจุบัน และชาวต่างชาติก็นิยมเล่นกันอย่างแพร่หลาย ทั้งในงานเต้นรำต่างๆ จนกระทั่งมีนักประพันธ์ผู้หนึ่งเป็นชาวอเมริกันที่ชื่อว่า Foubion Bowers ที่ได้มาพบเห็นศิลปะการรำวงของไทย และนำไปกล่าวไว้ในหนังสือ Theatre in the East ซึ่งมีสำเนียงการเรียก “รำวง” เพี้ยนไปบ้างเล็กน้อยเป็น “รำบอง” (Rombong)
แต่อย่างไรก็ดี วัตถุประสงค์ของกรมศิลปากร ในการปรับปรุงศิลปะการรำวงทั้งหมด 10 เพลงนี้เพื่อเป็นศิลปะการรำวงที่มีระเบียบแบบแผน ทั้งคำร้อง ทำนอง ท่ารำ ตลอดจนการแต่งกาย ให้เป็นแบบฉบับมาตรฐาน สะดวกในการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมของไทยและสืบสานต่อไป ด้วยเหตุผลนี้ เราจึงเรียกรำวงที่มีศิลปะเป็นแบบฉบับมาตรฐานว่า “รำวงมาตรฐาน” สืบมาจนถึงปัจจุบันท่ารำ คุณครูศุภลักษณ์ ภัทรนาวิก,คุณครูมัลลี คงประภัศร์และคุณครูลมุล ยมะคุปต์ได้ร่วมกันประดิษฐ์ท่ารำขึ้นทั้งหมด ๑๔ แม่ท่า เป็นชื่อท่ารำที่อยู่ในรำแม่บท มีทั้งหมด ๑๐ เพลง ได้แก่ เพลงงามแสงเดือน,เพลงชาวไทย,เพลงรำซิมารำ เพลง,คืนเดือนหงาย,เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ ,เพลงดอกไม้ของชาติ, เพลงหญิงไทยใจงาม, เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า, เพลงยอดชายใจหาญและเพลงบูชานักรบคำร้องจมื่นมานิตย์นเรศ (เฉลิม เศวตนันท์) หัวหน้ากองการสังคีต กรมศิลปากร ได้ประพันธ์ขึ้น ๔ เพลง คือ เพลงงามแสงเดือน, เพลงชาวไทย,เพลงรำซิมารำและเพลงคืนเดือนหงายคุณหญิงละเอียด พิบูลสงคราม ได้ประพันธ์คำร้องไว้ ๖ เพลง คือเพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ,เพลงดอกไม้ของชาติ,เพลงหญิงไทยใจงาม,เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า,เพลงยอดชายใจหาญและเพลงบูชานักรบทำนองอาจารย์มนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทย กรมศิลปากร ได้แต่งทำนองไว้ ๖ เพลง คือ เพลงงามแสงเดือน,เพลงชาวไทย, เพลงรำซิมารำ,เพลงคืนเดือนหงาย,เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ,เพลงดอกไม้ของชาติครูเอื้อ สุนทรสนาน หัวหน้าวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ แต่งทำนองไว้ ๔ เพลง คือ เพลงหญิงไทยใจงาม,เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า,เพลงยอดชายใจหาญ,และเพลงบูชานักรบเครื่องดนตรีเดิมนั้นรำโทนมีเครื่องดนตรีประกอบ คือ ฉิ่ง กรับ ฉาบ และโทน เมื่อมีการพัฒนาการรำขึ้น จึงได้พัฒนาเครื่องดนตรีที่ใช้โดยใช้วงดนตรีสากลบรรเลงแทนการแต่งกายมิได้กำหนดเฉพาะเจาะจงว่าต้องแต่งชุดไทยอย่างใดอย่างหนึ่งแน่นอน แต่สามารถแต่งได้หลากหลายแบบเช่น แต่งชุดไทยจักรี ชุดไทยสมัย ร.๖ ชุดไทยแบบชาวบ้าน คือห่มสไบ นุ่งโจงกระเบน หรือชุดไทยสมัยใดก็ได้ขอให้เป็นแบบไทยที่ดูสุภาพงดงาม ชายก็แต่งได้ทั้งชุดไทยแบบชาวบ้าน คือนุ่งโจงกระเบนใส่เสื้อคอพวงมาลัยแขนสั้นผ้าคาดเอว หรือชุดไทยเสื้อพระราชทานกางเกงขายาว หรือชุดราชปะแตน หรือชุดสากลใส่สูทผูกเนคไทก็ได้
เนื้อเพลงเพลงงามแสงเดือน (ใช้ท่ารำ ท่าสอดสร้อยมาลา)
งามแสงเดือนมาเยือนส่องหล้า งามใบหน้าเมื่ออยู่วงรำ (ซ้ำ)เราเล่นกันเพื่อสนุก เปลื้องทุกข์ให้วายระกำ ขอให้เล่นฟ้อนรำเพื่อสามัคคีเอย
เพลงชาวไทย (ใช้ท่ารำ ท่าชักแป้งผัดหน้า)
ชาวไทยเราเอยขออย่าละเลยในการทำหน้าที่การที่เราได้เล่นสนุกเปลื้องทุกข์สบายอย่างนี้เพราะชาติเราได้เสรีมีเอกราชสมบูรณ์ เราจึงควรช่วยชูชาติให้เก่งกาจเจิดจำรูญเพื่อความสุขเพิ่มพูนของชาวไทยเราเอย
เพลงรำซิมารำ (ใช้ท่ารำ ท่ารำส่าย )
รำซิมารำ เริงระบำกันให้สนุกยามงานเราทำงานกันจริง ไม่ละไม่ทิ้งจะเกิดเข็ญทุกข์ถึงยามว่างเราจึงรำเล่นตามเชิงเช่นเพื่อให้สร่างทุกข์ตามเยี่ยงอย่างตามยุคเล่นสนุกอย่างวัฒนธรรมเล่นอะไรให้มีระเบียบให้งามให้เรียบจึงจะคมขำมาซิมาเจ้าเอ๋ยมาฟ้อนรำมาเล่นระบำของไทยเราเอย
เพลงคืนเดือนหงาย (ใช้ท่ารำท่าสอดสร้อยมาลาแปลง)
ยามกลางเดือนหงายเย็นพระพายโบกพริ้วปลิวมาเย็นอะไรก็ไม่เย็นจิตเท่าเย็นผูกมิตรไม่เบื่อระอาเย็นร่มธงไทยโบกไปทั่วหล้าเย็นยิ่งน้ำฟ้ามาประพรมเอย
เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ (ใช้ท่ารำ ท่าแขกเต้าเข้ารัง และท่าผาลาเพียงไหล่ )
ดวงจันทร์วันเพ็ญ ลอยเด่นอยู่ในนภาทรงกลดสดสี รัศมีทอแสงงามตาแสงจันทร์อร่าม ฉายงามส่องฟ้าไม่งามเท่าหน้านวลน้องยองใยงามเอยแสนงาม งามจริงยอดหญิงชาติไทยงามวงพักตร์ยิ่งดวงจันทรา จริตกิริยานิ่มนวลละไมวาจากังวาน อ่อนหวานจับใจรูปทรงสมส่วน ยั่วยวนหทัย สมเป็นดอกไม้ ขวัญใจชาติเอย
เพลง ดอกไม้ของชาติ (ใช้ท่ารำ ท่ารำยั่ว)
(สร้อย) ขวัญใจดอกไม้ของชาติ งามวิลาศนวยนาดร่ายรำ(ซ้ำ)เอวองค์อ่อนงาม ตามแบบนาฎศิลป์ชี้ชาติไทยเนาว์ถิ่น เจริญวัฒนธรรม(สร้อย)งามทุกสิ่งสามารถ สร้างชาติช่วยชายดำเนินตามนโยบาย สู้ทนเหนื่อยยากตรากตรำ(สร้อย)
เพลงหญิงไทยใจงาม (ใช้ท่ารำท่าพรหมสี่หน้า และท่ายูงฟ้อนหาง)
เดือนพราว ดาวแวววาวระยับแสงดาวประดับ ส่องให้เดือนงามเด่นดวงหน้า โสภาเพียงเดือนเพ็ญคุณความดีที่เห็น เสริมให้เด่นเลิศงามขวัญใจ หญิงไทยส่องศรีชาติรูปงามพิลาศ ใจกล้ากาจเรืองนามเกียรติยศ ก้องปรากฎทั่วคามหญิงไทยใจงาม ยิ่งเดือนดาวพราวแพรว
เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า(ใช้ท่ารำ ท่าช้างประสานงา และท่าจันทร์ทรงกลด )
ดวงจันทร์ขวัญฟ้า ชื่นชีวาขวัญพี่จันทร์ประจำราตรี แต่ขวัญพี่ประจำใจที่เทิดทูนคือชาติ เอกราชอธิปไตยถนอมแนบสนิทใน คือขวัญใจพี่เอย
เพลงยอดชายใจหาญ (ใช้ท่ารำชะนีร่ายไม้ และท่าจ่อเพลิงกาฬ)
โอ้ยอดชายใจหาญ ขอสมานไมตรีน้องมาร่วมชีวี กอบกรณีกิจชาติแม้สุดยากลำเค็ญ ไม่ขอเว้นเดินตามน้องจักสู้พยายาม ทำเต็มความสามารถ
เพลงบูชานักรบ( เที่ยวแรก ฝ่ายหญิงใช้ท่ารำขัดจางนาง ฝ่ายชายใช้ท่ารำจันทร์ทรงกลดเที่ยวที่สอง ฝ่ายหญิงใช้ท่ารำท่าล่อแก้ว ฝ่ายชายใช้ท่ารำท่าขอแก้ว )
น้องรักรักบูชาพี่ ที่มั่นคงที่มั่นคงกล้าหาญเป็นนักสู้เชี่ยวชาญ สมศักดิ์ชาตินักรบน้องรักรักบูชาพี่ ที่มานะที่มานะอดทนหนักแสนหนักพี่ผจญ เกียรติพี่ขจรจบน้องรักรักบูชาพี่ ที่ขยันที่ขยันกิจการบากบั่นสร้างหลักฐาน ทำทุกด้านทำทุกด้านครันครบน้องรักบูชาพี่ ที่รักชาติที่รักชาติยิ่งชีวิตเลือดเนื้อที่พลีอุทิศ ชาติคงอยู่คงอยู่คู่พิภพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น