ขอโทษประเทศไทย

วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2554




รําวงมาตรฐาน
ประวัติและที่มาในสมัยก่อนไม่มีคำว่า “มาตรฐาน” จะเรียกกันเพียงว่า “รำวง” เท่านั้น การรำวงนี้เป็นการละเล่นพื้นบ้านอย่างหนึ่งของชาวไทยที่บ่งบอกถึงความสนุกสนาน จะเล่นกันในบางท้องถิ่นและบางเทศกาลของแต่ละจังหวัดเท่านั้น รำวงมาตรฐานมีวิวัฒนาการมาจากการรำโทน ซึ่งเป็นการละเล่นพื้นเมืองของไทย หรืออาจพูดได้ว่า “รำวง” เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “รำโทน” สมัยก่อนเครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการรำโทนก็มี ฉิ่ง ฉาบ และโทน ใช้ตีประกอบจังหวะ โดยการฟ้อนรำจะมีเสียงโทนเป็นเสียงหลักตีตามจังหวะหน้าทับ จึงเรียกการฟ้อนรำชนิดนี้ว่า “รำโทน” ในด้านของบทร้องจะเป็นบทร้องที่มีภาษาเรียบง่าย ไม่พิถีพิถันในเรื่องถ้อยคำและสัมผัสวรรคตอนแต่อย่างใด เนื้อหาของเพลงจะออกมาในลักษณะกระเซ้าเย้าแหย่การหยอกล้อของหนุ่มสาว เชิญชวน ตลอดจนการชมโฉมความงามของหญิงสาวเป็นต้น ทั้งนี้ก็เพื่อความสนุกสนานในการเล่น ในเรื่องของการแต่งกายก็เน้นเพียงความสะดวกสบายของชาวบ้านเอง ไม่ได้ประณีตแต่อย่างใด
เมื่อประมาณ พ.ศ. 2483 ชาวบ้านนิยมเล่นรำโทนอย่างแพร่หลาย ศิลปะชนิดนี้จึงมีอยู่ตามท้องถิ่นและพบเห็นได้ตามเทศกาลต่างๆ มากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากนี้เอง จึงได้มีผู้คิดแต่งบทร้องและทำนองเพลงขึ้นใหม่เป็นจำนวนมาก แต่ทั้งนี้ก็ยังคงจังหวะหน้าทับของโทนไว้เช่นเดิม บทร้องและทำนองแปลกๆ ที่มีเกิดขึ้นมาใหม่โดยปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้จึงเป็นบทเพลงที่ขาดการบันทึกไว้เป็นหลักฐาน ไม่ปรากฏว่า ใครเป็นผู้แต่งบทร้องและทำนองในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2484 – 2488 เป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นที่ ตำบลบางปู จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2484 เพื่อเจรจาขอตั้งกองทัพในประเทศไทย โดยใช้เส้นทางต่างๆ ในแผ่นดินไทยลำเลียงเสบียงอาหาร อาวุธและกำลังพล เพื่อใช้ในการต่อสู้กับประเทศสัมพันธมิตร อังกฤษ อเมริกา
ซึ่งในขณะนั้นประเทศไทยมี จอมพล ป. (แปลก) พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ตัดสินใจยอมให้ประเทศญี่ปุ่นเข้ามาตั้งฐานทัพในประเทศไทย เพราะเกรงว่าหากปฏิเสธคงจะถูกปราบปรามแน่ ด้วยเหตุนี้เองประเทศไทยจึงได้รับผลกระทบจากการรุกรานของฝ่ายพันธมิตร ที่ส่งกองทัพเข้ามาโจมตีฐานทัพญี่ปุ่นทางอากาศ โดยเฉพาะในยามที่เป็นคืนเดือนหงาย จะมองเห็นจุดยุทธศาสตร์ได้ง่าย ข้าศึกมักจะเข้ามาโจมตีอย่างหนักด้วยการทิ้งระเบิด ซึ่งสร้างความเสียหายทำลายชีวิตและทรัพย์สินบ้านเรือนเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะบ้านเรือนที่อยู่ใกล้กับฐานทัพญี่ปุ่นเมื่อช่วงคืนเดือนหงายผ่านไปคืนเดือนมืดเข้ามา ข้าศึกจะมองเห็นจุดยุทธศาสตร์ไม่ชัดเจนจึงพักการรุกราน ประชาชนชาวไทยได้รับความเดือดร้อน ต่างอยู่ในสถานการณ์ที่หวาดกลัวเป็นอย่างมาก จึงได้หาวิธีผ่อนคลายความตึงเครียดความหวาดผวา ด้วยการนำศิลปะพื้นบ้านที่ซบเซาไป กลับมาร้องรำทำเพลง นั่นก็คือ “การรำโทน”
คำร้อง ทำนอง และการแต่งกาย ก็ยังคงเรียบง่าย สนุกสนานเช่นเดิม เพลงที่นิยมได้แก่เพลง ใกล้เข้าไปอีกนิด ช่อมาลี ตามองตา ยวนยาเหล่ เป็นต้น ต่อมา จอมพล ป. (แปลก) พิบูลสงคราม ได้เล็งเห็นศิลปะอันสวยงามของไทยที่มีอยู่อย่างแพร่หลาย หากชาวต่างชาติมาพบเห็นจะตำหนิได้ว่า ศิลปะการฟ้อนรำของไทยนี้มิได้มีความสวยงามประณีตแต่อย่างใด รวมถึงไม่มีศิลปะที่แสดงออกว่าเป็นชาติที่มีวัฒนธรรม ท่านจึงได้มอบให้กรมศิลปากรเป็นผู้รับผิดชอบในการปรับปรุงและพัฒนาการรำ “รำโทน” ขึ้นใหม่ให้มีระเบียบแบบแผนให้มีความประณีตงดงามมากขึ้น ทั้งทางด้านเนื้อร้อง ทำนอง ตลอดจนเรื่องการแต่งกายเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2487 กรมศิลปากรได้ประพันธ์บทร้องขึ้นใหม่ 4 เพลง คืองามแสงเดือน ชาวไทย,รำซิมารำ,คืนเดือนหงาย และได้กำหนดวิธีการเล่น ตลอดจนท่ารำและการแต่งกายให้มีความเรียบร้อยสวยงามอย่างศิลปะของไทย วิธีการเล่นนั้นจะเล่นรวมกันเป็นวง และเคลื่อนย้ายเวียนกันไปเป็นวงทวนเข็มนาฬิกา และด้วยเหตุนี้เองจึงได้เปลี่ยนชื่อ “รำโทน” เสียใหม่มาเป็น “รำวง” ต่อมาท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม ได้ประพันธ์เนื้อร้องขึ้นมาใหม่อีก 6 เพลง คือ ดวงจันทร์วันเพ็ญ,ดอกไม้ของชาติ, หญิงไทยใจงาม,ดวงจันทร์ขวัญฟ้า,ยอดชายใจหาญ,บูชานักรบ มอบให้กรมศิลปากรบรรจุท่ารำไว้เป็นแบบมาตรฐาน ส่วนทำนองนั้นรับผิดชอบแต่งโดยกรมศิลปากรและกรมประชาสัมพันธ์ เป็นเพลงที่มีเนื้อร้องสุภาพ ใช้คำง่าย ทำนองเพลงง่าย มุ่งให้เห็นวัฒนธรรมของชาติเป็นส่วนใหญ่ การแสดงจะใช้ผู้แสดงหญิงชายไม่น้อยกว่า ๕ คู่ ครั้นเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ชาวไทยก็ยังคงให้ความนิยมการเล่นรำวงสืบมาจนถึงปัจจุบัน และชาวต่างชาติก็นิยมเล่นกันอย่างแพร่หลาย ทั้งในงานเต้นรำต่างๆ จนกระทั่งมีนักประพันธ์ผู้หนึ่งเป็นชาวอเมริกันที่ชื่อว่า Foubion Bowers ที่ได้มาพบเห็นศิลปะการรำวงของไทย และนำไปกล่าวไว้ในหนังสือ Theatre in the East ซึ่งมีสำเนียงการเรียก “รำวง” เพี้ยนไปบ้างเล็กน้อยเป็น “รำบอง” (Rombong)
แต่อย่างไรก็ดี วัตถุประสงค์ของกรมศิลปากร ในการปรับปรุงศิลปะการรำวงทั้งหมด 10 เพลงนี้เพื่อเป็นศิลปะการรำวงที่มีระเบียบแบบแผน ทั้งคำร้อง ทำนอง ท่ารำ ตลอดจนการแต่งกาย ให้เป็นแบบฉบับมาตรฐาน สะดวกในการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมของไทยและสืบสานต่อไป ด้วยเหตุผลนี้ เราจึงเรียกรำวงที่มีศิลปะเป็นแบบฉบับมาตรฐานว่า “รำวงมาตรฐาน” สืบมาจนถึงปัจจุบันท่ารำ คุณครูศุภลักษณ์ ภัทรนาวิก,คุณครูมัลลี คงประภัศร์และคุณครูลมุล ยมะคุปต์ได้ร่วมกันประดิษฐ์ท่ารำขึ้นทั้งหมด ๑๔ แม่ท่า เป็นชื่อท่ารำที่อยู่ในรำแม่บท มีทั้งหมด ๑๐ เพลง ได้แก่ เพลงงามแสงเดือน,เพลงชาวไทย,เพลงรำซิมารำ เพลง,คืนเดือนหงาย,เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ ,เพลงดอกไม้ของชาติ, เพลงหญิงไทยใจงาม, เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า, เพลงยอดชายใจหาญและเพลงบูชานักรบคำร้องจมื่นมานิตย์นเรศ (เฉลิม เศวตนันท์) หัวหน้ากองการสังคีต กรมศิลปากร ได้ประพันธ์ขึ้น ๔ เพลง คือ เพลงงามแสงเดือน, เพลงชาวไทย,เพลงรำซิมารำและเพลงคืนเดือนหงายคุณหญิงละเอียด พิบูลสงคราม ได้ประพันธ์คำร้องไว้ ๖ เพลง คือเพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ,เพลงดอกไม้ของชาติ,เพลงหญิงไทยใจงาม,เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า,เพลงยอดชายใจหาญและเพลงบูชานักรบทำนองอาจารย์มนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทย กรมศิลปากร ได้แต่งทำนองไว้ ๖ เพลง คือ เพลงงามแสงเดือน,เพลงชาวไทย, เพลงรำซิมารำ,เพลงคืนเดือนหงาย,เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ,เพลงดอกไม้ของชาติครูเอื้อ สุนทรสนาน หัวหน้าวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ แต่งทำนองไว้ ๔ เพลง คือ เพลงหญิงไทยใจงาม,เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า,เพลงยอดชายใจหาญ,และเพลงบูชานักรบเครื่องดนตรีเดิมนั้นรำโทนมีเครื่องดนตรีประกอบ คือ ฉิ่ง กรับ ฉาบ และโทน เมื่อมีการพัฒนาการรำขึ้น จึงได้พัฒนาเครื่องดนตรีที่ใช้โดยใช้วงดนตรีสากลบรรเลงแทนการแต่งกายมิได้กำหนดเฉพาะเจาะจงว่าต้องแต่งชุดไทยอย่างใดอย่างหนึ่งแน่นอน แต่สามารถแต่งได้หลากหลายแบบเช่น แต่งชุดไทยจักรี ชุดไทยสมัย ร.๖ ชุดไทยแบบชาวบ้าน คือห่มสไบ นุ่งโจงกระเบน หรือชุดไทยสมัยใดก็ได้ขอให้เป็นแบบไทยที่ดูสุภาพงดงาม ชายก็แต่งได้ทั้งชุดไทยแบบชาวบ้าน คือนุ่งโจงกระเบนใส่เสื้อคอพวงมาลัยแขนสั้นผ้าคาดเอว หรือชุดไทยเสื้อพระราชทานกางเกงขายาว หรือชุดราชปะแตน หรือชุดสากลใส่สูทผูกเนคไทก็ได้
เนื้อเพลงเพลงงามแสงเดือน (ใช้ท่ารำ ท่าสอดสร้อยมาลา)
งามแสงเดือนมาเยือนส่องหล้า งามใบหน้าเมื่ออยู่วงรำ (ซ้ำ)เราเล่นกันเพื่อสนุก เปลื้องทุกข์ให้วายระกำ ขอให้เล่นฟ้อนรำเพื่อสามัคคีเอย
เพลงชาวไทย (ใช้ท่ารำ ท่าชักแป้งผัดหน้า)
ชาวไทยเราเอยขออย่าละเลยในการทำหน้าที่การที่เราได้เล่นสนุกเปลื้องทุกข์สบายอย่างนี้เพราะชาติเราได้เสรีมีเอกราชสมบูรณ์ เราจึงควรช่วยชูชาติให้เก่งกาจเจิดจำรูญเพื่อความสุขเพิ่มพูนของชาวไทยเราเอย
เพลงรำซิมารำ (ใช้ท่ารำ ท่ารำส่าย )
รำซิมารำ เริงระบำกันให้สนุกยามงานเราทำงานกันจริง ไม่ละไม่ทิ้งจะเกิดเข็ญทุกข์ถึงยามว่างเราจึงรำเล่นตามเชิงเช่นเพื่อให้สร่างทุกข์ตามเยี่ยงอย่างตามยุคเล่นสนุกอย่างวัฒนธรรมเล่นอะไรให้มีระเบียบให้งามให้เรียบจึงจะคมขำมาซิมาเจ้าเอ๋ยมาฟ้อนรำมาเล่นระบำของไทยเราเอย
เพลงคืนเดือนหงาย (ใช้ท่ารำท่าสอดสร้อยมาลาแปลง)
ยามกลางเดือนหงายเย็นพระพายโบกพริ้วปลิวมาเย็นอะไรก็ไม่เย็นจิตเท่าเย็นผูกมิตรไม่เบื่อระอาเย็นร่มธงไทยโบกไปทั่วหล้าเย็นยิ่งน้ำฟ้ามาประพรมเอย
เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ (ใช้ท่ารำ ท่าแขกเต้าเข้ารัง และท่าผาลาเพียงไหล่ )
ดวงจันทร์วันเพ็ญ ลอยเด่นอยู่ในนภาทรงกลดสดสี รัศมีทอแสงงามตาแสงจันทร์อร่าม ฉายงามส่องฟ้าไม่งามเท่าหน้านวลน้องยองใยงามเอยแสนงาม งามจริงยอดหญิงชาติไทยงามวงพักตร์ยิ่งดวงจันทรา จริตกิริยานิ่มนวลละไมวาจากังวาน อ่อนหวานจับใจรูปทรงสมส่วน ยั่วยวนหทัย สมเป็นดอกไม้ ขวัญใจชาติเอย
เพลง ดอกไม้ของชาติ (ใช้ท่ารำ ท่ารำยั่ว)
(สร้อย) ขวัญใจดอกไม้ของชาติ งามวิลาศนวยนาดร่ายรำ(ซ้ำ)เอวองค์อ่อนงาม ตามแบบนาฎศิลป์ชี้ชาติไทยเนาว์ถิ่น เจริญวัฒนธรรม(สร้อย)งามทุกสิ่งสามารถ สร้างชาติช่วยชายดำเนินตามนโยบาย สู้ทนเหนื่อยยากตรากตรำ(สร้อย)
เพลงหญิงไทยใจงาม (ใช้ท่ารำท่าพรหมสี่หน้า และท่ายูงฟ้อนหาง)
เดือนพราว ดาวแวววาวระยับแสงดาวประดับ ส่องให้เดือนงามเด่นดวงหน้า โสภาเพียงเดือนเพ็ญคุณความดีที่เห็น เสริมให้เด่นเลิศงามขวัญใจ หญิงไทยส่องศรีชาติรูปงามพิลาศ ใจกล้ากาจเรืองนามเกียรติยศ ก้องปรากฎทั่วคามหญิงไทยใจงาม ยิ่งเดือนดาวพราวแพรว
เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า(ใช้ท่ารำ ท่าช้างประสานงา และท่าจันทร์ทรงกลด )
ดวงจันทร์ขวัญฟ้า ชื่นชีวาขวัญพี่จันทร์ประจำราตรี แต่ขวัญพี่ประจำใจที่เทิดทูนคือชาติ เอกราชอธิปไตยถนอมแนบสนิทใน คือขวัญใจพี่เอย
เพลงยอดชายใจหาญ (ใช้ท่ารำชะนีร่ายไม้ และท่าจ่อเพลิงกาฬ)
โอ้ยอดชายใจหาญ ขอสมานไมตรีน้องมาร่วมชีวี กอบกรณีกิจชาติแม้สุดยากลำเค็ญ ไม่ขอเว้นเดินตามน้องจักสู้พยายาม ทำเต็มความสามารถ
เพลงบูชานักรบ( เที่ยวแรก ฝ่ายหญิงใช้ท่ารำขัดจางนาง ฝ่ายชายใช้ท่ารำจันทร์ทรงกลดเที่ยวที่สอง ฝ่ายหญิงใช้ท่ารำท่าล่อแก้ว ฝ่ายชายใช้ท่ารำท่าขอแก้ว )
น้องรักรักบูชาพี่ ที่มั่นคงที่มั่นคงกล้าหาญเป็นนักสู้เชี่ยวชาญ สมศักดิ์ชาตินักรบน้องรักรักบูชาพี่ ที่มานะที่มานะอดทนหนักแสนหนักพี่ผจญ เกียรติพี่ขจรจบน้องรักรักบูชาพี่ ที่ขยันที่ขยันกิจการบากบั่นสร้างหลักฐาน ทำทุกด้านทำทุกด้านครันครบน้องรักบูชาพี่ ที่รักชาติที่รักชาติยิ่งชีวิตเลือดเนื้อที่พลีอุทิศ ชาติคงอยู่คงอยู่คู่พิภพ

































รําวงมาตรฐาน
ประวัติและที่มาในสมัยก่อนไม่มีคำว่า “มาตรฐาน” จะเรียกกันเพียงว่า “รำวง” เท่านั้น การรำวงนี้เป็นการละเล่นพื้นบ้านอย่างหนึ่งของชาวไทยที่บ่งบอกถึงความสนุกสนาน จะเล่นกันในบางท้องถิ่นและบางเทศกาลของแต่ละจังหวัดเท่านั้น รำวงมาตรฐานมีวิวัฒนาการมาจากการรำโทน ซึ่งเป็นการละเล่นพื้นเมืองของไทย หรืออาจพูดได้ว่า “รำวง” เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “รำโทน” สมัยก่อนเครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการรำโทนก็มี ฉิ่ง ฉาบ และโทน ใช้ตีประกอบจังหวะ โดยการฟ้อนรำจะมีเสียงโทนเป็นเสียงหลักตีตามจังหวะหน้าทับ จึงเรียกการฟ้อนรำชนิดนี้ว่า “รำโทน” ในด้านของบทร้องจะเป็นบทร้องที่มีภาษาเรียบง่าย ไม่พิถีพิถันในเรื่องถ้อยคำและสัมผัสวรรคตอนแต่อย่างใด เนื้อหาของเพลงจะออกมาในลักษณะกระเซ้าเย้าแหย่การหยอกล้อของหนุ่มสาว เชิญชวน ตลอดจนการชมโฉมความงามของหญิงสาวเป็นต้น ทั้งนี้ก็เพื่อความสนุกสนานในการเล่น ในเรื่องของการแต่งกายก็เน้นเพียงความสะดวกสบายของชาวบ้านเอง ไม่ได้ประณีตแต่อย่างใด
เมื่อประมาณ พ.ศ. 2483 ชาวบ้านนิยมเล่นรำโทนอย่างแพร่หลาย ศิลปะชนิดนี้จึงมีอยู่ตามท้องถิ่นและพบเห็นได้ตามเทศกาลต่างๆ มากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากนี้เอง จึงได้มีผู้คิดแต่งบทร้องและทำนองเพลงขึ้นใหม่เป็นจำนวนมาก แต่ทั้งนี้ก็ยังคงจังหวะหน้าทับของโทนไว้เช่นเดิม บทร้องและทำนองแปลกๆ ที่มีเกิดขึ้นมาใหม่โดยปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้จึงเป็นบทเพลงที่ขาดการบันทึกไว้เป็นหลักฐาน ไม่ปรากฏว่า ใครเป็นผู้แต่งบทร้องและทำนองในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2484 – 2488 เป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นที่ ตำบลบางปู จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2484 เพื่อเจรจาขอตั้งกองทัพในประเทศไทย โดยใช้เส้นทางต่างๆ ในแผ่นดินไทยลำเลียงเสบียงอาหาร อาวุธและกำลังพล เพื่อใช้ในการต่อสู้กับประเทศสัมพันธมิตร อังกฤษ อเมริกา
ซึ่งในขณะนั้นประเทศไทยมี จอมพล ป. (แปลก) พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ตัดสินใจยอมให้ประเทศญี่ปุ่นเข้ามาตั้งฐานทัพในประเทศไทย เพราะเกรงว่าหากปฏิเสธคงจะถูกปราบปรามแน่ ด้วยเหตุนี้เองประเทศไทยจึงได้รับผลกระทบจากการรุกรานของฝ่ายพันธมิตร ที่ส่งกองทัพเข้ามาโจมตีฐานทัพญี่ปุ่นทางอากาศ โดยเฉพาะในยามที่เป็นคืนเดือนหงาย จะมองเห็นจุดยุทธศาสตร์ได้ง่าย ข้าศึกมักจะเข้ามาโจมตีอย่างหนักด้วยการทิ้งระเบิด ซึ่งสร้างความเสียหายทำลายชีวิตและทรัพย์สินบ้านเรือนเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะบ้านเรือนที่อยู่ใกล้กับฐานทัพญี่ปุ่นเมื่อช่วงคืนเดือนหงายผ่านไปคืนเดือนมืดเข้ามา ข้าศึกจะมองเห็นจุดยุทธศาสตร์ไม่ชัดเจนจึงพักการรุกราน ประชาชนชาวไทยได้รับความเดือดร้อน ต่างอยู่ในสถานการณ์ที่หวาดกลัวเป็นอย่างมาก จึงได้หาวิธีผ่อนคลายความตึงเครียดความหวาดผวา ด้วยการนำศิลปะพื้นบ้านที่ซบเซาไป กลับมาร้องรำทำเพลง นั่นก็คือ “การรำโทน”
คำร้อง ทำนอง และการแต่งกาย ก็ยังคงเรียบง่าย สนุกสนานเช่นเดิม เพลงที่นิยมได้แก่เพลง ใกล้เข้าไปอีกนิด ช่อมาลี ตามองตา ยวนยาเหล่ เป็นต้น ต่อมา จอมพล ป. (แปลก) พิบูลสงคราม ได้เล็งเห็นศิลปะอันสวยงามของไทยที่มีอยู่อย่างแพร่หลาย หากชาวต่างชาติมาพบเห็นจะตำหนิได้ว่า ศิลปะการฟ้อนรำของไทยนี้มิได้มีความสวยงามประณีตแต่อย่างใด รวมถึงไม่มีศิลปะที่แสดงออกว่าเป็นชาติที่มีวัฒนธรรม ท่านจึงได้มอบให้กรมศิลปากรเป็นผู้รับผิดชอบในการปรับปรุงและพัฒนาการรำ “รำโทน” ขึ้นใหม่ให้มีระเบียบแบบแผนให้มีความประณีตงดงามมากขึ้น ทั้งทางด้านเนื้อร้อง ทำนอง ตลอดจนเรื่องการแต่งกายเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2487 กรมศิลปากรได้ประพันธ์บทร้องขึ้นใหม่ 4 เพลง คืองามแสงเดือน ชาวไทย,รำซิมารำ,คืนเดือนหงาย และได้กำหนดวิธีการเล่น ตลอดจนท่ารำและการแต่งกายให้มีความเรียบร้อยสวยงามอย่างศิลปะของไทย วิธีการเล่นนั้นจะเล่นรวมกันเป็นวง และเคลื่อนย้ายเวียนกันไปเป็นวงทวนเข็มนาฬิกา และด้วยเหตุนี้เองจึงได้เปลี่ยนชื่อ “รำโทน” เสียใหม่มาเป็น “รำวง” ต่อมาท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม ได้ประพันธ์เนื้อร้องขึ้นมาใหม่อีก 6 เพลง คือ ดวงจันทร์วันเพ็ญ,ดอกไม้ของชาติ, หญิงไทยใจงาม,ดวงจันทร์ขวัญฟ้า,ยอดชายใจหาญ,บูชานักรบ มอบให้กรมศิลปากรบรรจุท่ารำไว้เป็นแบบมาตรฐาน ส่วนทำนองนั้นรับผิดชอบแต่งโดยกรมศิลปากรและกรมประชาสัมพันธ์ เป็นเพลงที่มีเนื้อร้องสุภาพ ใช้คำง่าย ทำนองเพลงง่าย มุ่งให้เห็นวัฒนธรรมของชาติเป็นส่วนใหญ่ การแสดงจะใช้ผู้แสดงหญิงชายไม่น้อยกว่า ๕ คู่ ครั้นเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ชาวไทยก็ยังคงให้ความนิยมการเล่นรำวงสืบมาจนถึงปัจจุบัน และชาวต่างชาติก็นิยมเล่นกันอย่างแพร่หลาย ทั้งในงานเต้นรำต่างๆ จนกระทั่งมีนักประพันธ์ผู้หนึ่งเป็นชาวอเมริกันที่ชื่อว่า Foubion Bowers ที่ได้มาพบเห็นศิลปะการรำวงของไทย และนำไปกล่าวไว้ในหนังสือ Theatre in the East ซึ่งมีสำเนียงการเรียก “รำวง” เพี้ยนไปบ้างเล็กน้อยเป็น “รำบอง” (Rombong)
แต่อย่างไรก็ดี วัตถุประสงค์ของกรมศิลปากร ในการปรับปรุงศิลปะการรำวงทั้งหมด 10 เพลงนี้เพื่อเป็นศิลปะการรำวงที่มีระเบียบแบบแผน ทั้งคำร้อง ทำนอง ท่ารำ ตลอดจนการแต่งกาย ให้เป็นแบบฉบับมาตรฐาน สะดวกในการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมของไทยและสืบสานต่อไป ด้วยเหตุผลนี้ เราจึงเรียกรำวงที่มีศิลปะเป็นแบบฉบับมาตรฐานว่า “รำวงมาตรฐาน” สืบมาจนถึงปัจจุบันท่ารำ คุณครูศุภลักษณ์ ภัทรนาวิก,คุณครูมัลลี คงประภัศร์และคุณครูลมุล ยมะคุปต์ได้ร่วมกันประดิษฐ์ท่ารำขึ้นทั้งหมด ๑๔ แม่ท่า เป็นชื่อท่ารำที่อยู่ในรำแม่บท มีทั้งหมด ๑๐ เพลง ได้แก่ เพลงงามแสงเดือน,เพลงชาวไทย,เพลงรำซิมารำ เพลง,คืนเดือนหงาย,เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ ,เพลงดอกไม้ของชาติ, เพลงหญิงไทยใจงาม, เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า, เพลงยอดชายใจหาญและเพลงบูชานักรบคำร้องจมื่นมานิตย์นเรศ (เฉลิม เศวตนันท์) หัวหน้ากองการสังคีต กรมศิลปากร ได้ประพันธ์ขึ้น ๔ เพลง คือ เพลงงามแสงเดือน, เพลงชาวไทย,เพลงรำซิมารำและเพลงคืนเดือนหงายคุณหญิงละเอียด พิบูลสงคราม ได้ประพันธ์คำร้องไว้ ๖ เพลง คือเพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ,เพลงดอกไม้ของชาติ,เพลงหญิงไทยใจงาม,เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า,เพลงยอดชายใจหาญและเพลงบูชานักรบทำนองอาจารย์มนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทย กรมศิลปากร ได้แต่งทำนองไว้ ๖ เพลง คือ เพลงงามแสงเดือน,เพลงชาวไทย, เพลงรำซิมารำ,เพลงคืนเดือนหงาย,เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ,เพลงดอกไม้ของชาติครูเอื้อ สุนทรสนาน หัวหน้าวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ แต่งทำนองไว้ ๔ เพลง คือ เพลงหญิงไทยใจงาม,เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า,เพลงยอดชายใจหาญ,และเพลงบูชานักรบเครื่องดนตรีเดิมนั้นรำโทนมีเครื่องดนตรีประกอบ คือ ฉิ่ง กรับ ฉาบ และโทน เมื่อมีการพัฒนาการรำขึ้น จึงได้พัฒนาเครื่องดนตรีที่ใช้โดยใช้วงดนตรีสากลบรรเลงแทนการแต่งกายมิได้กำหนดเฉพาะเจาะจงว่าต้องแต่งชุดไทยอย่างใดอย่างหนึ่งแน่นอน แต่สามารถแต่งได้หลากหลายแบบเช่น แต่งชุดไทยจักรี ชุดไทยสมัย ร.๖ ชุดไทยแบบชาวบ้าน คือห่มสไบ นุ่งโจงกระเบน หรือชุดไทยสมัยใดก็ได้ขอให้เป็นแบบไทยที่ดูสุภาพงดงาม ชายก็แต่งได้ทั้งชุดไทยแบบชาวบ้าน คือนุ่งโจงกระเบนใส่เสื้อคอพวงมาลัยแขนสั้นผ้าคาดเอว หรือชุดไทยเสื้อพระราชทานกางเกงขายาว หรือชุดราชปะแตน หรือชุดสากลใส่สูทผูกเนคไทก็ได้
เนื้อเพลงเพลงงามแสงเดือน (ใช้ท่ารำ ท่าสอดสร้อยมาลา)
งามแสงเดือนมาเยือนส่องหล้า งามใบหน้าเมื่ออยู่วงรำ (ซ้ำ)เราเล่นกันเพื่อสนุก เปลื้องทุกข์ให้วายระกำ ขอให้เล่นฟ้อนรำเพื่อสามัคคีเอย
เพลงชาวไทย (ใช้ท่ารำ ท่าชักแป้งผัดหน้า)
ชาวไทยเราเอยขออย่าละเลยในการทำหน้าที่การที่เราได้เล่นสนุกเปลื้องทุกข์สบายอย่างนี้เพราะชาติเราได้เสรีมีเอกราชสมบูรณ์ เราจึงควรช่วยชูชาติให้เก่งกาจเจิดจำรูญเพื่อความสุขเพิ่มพูนของชาวไทยเราเอย
เพลงรำซิมารำ (ใช้ท่ารำ ท่ารำส่าย )
รำซิมารำ เริงระบำกันให้สนุกยามงานเราทำงานกันจริง ไม่ละไม่ทิ้งจะเกิดเข็ญทุกข์ถึงยามว่างเราจึงรำเล่นตามเชิงเช่นเพื่อให้สร่างทุกข์ตามเยี่ยงอย่างตามยุคเล่นสนุกอย่างวัฒนธรรมเล่นอะไรให้มีระเบียบให้งามให้เรียบจึงจะคมขำมาซิมาเจ้าเอ๋ยมาฟ้อนรำมาเล่นระบำของไทยเราเอย
เพลงคืนเดือนหงาย (ใช้ท่ารำท่าสอดสร้อยมาลาแปลง)
ยามกลางเดือนหงายเย็นพระพายโบกพริ้วปลิวมาเย็นอะไรก็ไม่เย็นจิตเท่าเย็นผูกมิตรไม่เบื่อระอาเย็นร่มธงไทยโบกไปทั่วหล้าเย็นยิ่งน้ำฟ้ามาประพรมเอย
เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ (ใช้ท่ารำ ท่าแขกเต้าเข้ารัง และท่าผาลาเพียงไหล่ )
ดวงจันทร์วันเพ็ญ ลอยเด่นอยู่ในนภาทรงกลดสดสี รัศมีทอแสงงามตาแสงจันทร์อร่าม ฉายงามส่องฟ้าไม่งามเท่าหน้านวลน้องยองใยงามเอยแสนงาม งามจริงยอดหญิงชาติไทยงามวงพักตร์ยิ่งดวงจันทรา จริตกิริยานิ่มนวลละไมวาจากังวาน อ่อนหวานจับใจรูปทรงสมส่วน ยั่วยวนหทัย สมเป็นดอกไม้ ขวัญใจชาติเอย
เพลง ดอกไม้ของชาติ (ใช้ท่ารำ ท่ารำยั่ว)
(สร้อย) ขวัญใจดอกไม้ของชาติ งามวิลาศนวยนาดร่ายรำ(ซ้ำ)เอวองค์อ่อนงาม ตามแบบนาฎศิลป์ชี้ชาติไทยเนาว์ถิ่น เจริญวัฒนธรรม(สร้อย)งามทุกสิ่งสามารถ สร้างชาติช่วยชายดำเนินตามนโยบาย สู้ทนเหนื่อยยากตรากตรำ(สร้อย)
เพลงหญิงไทยใจงาม (ใช้ท่ารำท่าพรหมสี่หน้า และท่ายูงฟ้อนหาง)
เดือนพราว ดาวแวววาวระยับแสงดาวประดับ ส่องให้เดือนงามเด่นดวงหน้า โสภาเพียงเดือนเพ็ญคุณความดีที่เห็น เสริมให้เด่นเลิศงามขวัญใจ หญิงไทยส่องศรีชาติรูปงามพิลาศ ใจกล้ากาจเรืองนามเกียรติยศ ก้องปรากฎทั่วคามหญิงไทยใจงาม ยิ่งเดือนดาวพราวแพรว
เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า(ใช้ท่ารำ ท่าช้างประสานงา และท่าจันทร์ทรงกลด )
ดวงจันทร์ขวัญฟ้า ชื่นชีวาขวัญพี่จันทร์ประจำราตรี แต่ขวัญพี่ประจำใจที่เทิดทูนคือชาติ เอกราชอธิปไตยถนอมแนบสนิทใน คือขวัญใจพี่เอย
เพลงยอดชายใจหาญ (ใช้ท่ารำชะนีร่ายไม้ และท่าจ่อเพลิงกาฬ)
โอ้ยอดชายใจหาญ ขอสมานไมตรีน้องมาร่วมชีวี กอบกรณีกิจชาติแม้สุดยากลำเค็ญ ไม่ขอเว้นเดินตามน้องจักสู้พยายาม ทำเต็มความสามารถ
เพลงบูชานักรบ( เที่ยวแรก ฝ่ายหญิงใช้ท่ารำขัดจางนาง ฝ่ายชายใช้ท่ารำจันทร์ทรงกลดเที่ยวที่สอง ฝ่ายหญิงใช้ท่ารำท่าล่อแก้ว ฝ่ายชายใช้ท่ารำท่าขอแก้ว )
น้องรักรักบูชาพี่ ที่มั่นคงที่มั่นคงกล้าหาญเป็นนักสู้เชี่ยวชาญ สมศักดิ์ชาตินักรบน้องรักรักบูชาพี่ ที่มานะที่มานะอดทนหนักแสนหนักพี่ผจญ เกียรติพี่ขจรจบน้องรักรักบูชาพี่ ที่ขยันที่ขยันกิจการบากบั่นสร้างหลักฐาน ทำทุกด้านทำทุกด้านครันครบน้องรักบูชาพี่ ที่รักชาติที่รักชาติยิ่งชีวิตเลือดเนื้อที่พลีอุทิศ ชาติคงอยู่คงอยู่คู่พิภพ

มารยาทไทย

ปี ๒๕๔๙ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้จัดทำองค์ความรู้ เรื่อง มารยาทไทย ประกอบด้วย การกำหนด ความหมาย ขอบข่าย ลำดับความสำคัญ และการปรับปรุงรายละเอียดการปฏิบัติท่ามารยาทไทย เรื่องการแสดงความเคารพ ซึ่งจัดทำโดย คณะกรรมการดำเนินงานด้านมารยาทไทย ตามคำสั่ง สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ที่ ๖๓๕/๒๕๔๙ ลงวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๔๙ โดยมี นายพะนอม แก้วกำเนิด เป็นประธานในการดำเนินงาน และได้ประชุมปฏิบัติการเมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๔๙ ณ ห้องประชุมกองอำนวยการร่วม ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ทั้งนี้วัตถุประสงค์ของการจัดทำองค์ความรู้ดังกล่าว ก็เพื่อธำรงรักษาวัฒนธรรมด้านมารยาทไทยอันเป็นรูปแบบปฏิบัติของคนไทยให้คงอยู่คู่ชาติไทย ทั้งนี้ได้มีการปรับปรุงเนื้อหาและการปฏิบัติให้มีความเหมาะสมกับยุคสมัยมากยิ่งขึ้น รายละเอียดดังนี้
ความหมาย มารยาท
“ มารยาท ” หมายถึง กิริยา วาจาที่สุภาพเรียบร้อย ที่บุคคลพึงปฏิบัติในสังคมโดยมีระเบียบแบบแผน อันเหมาะสมตามกาลเทศะ
ขอบข่าย มารยาทไทย
มารยาทไทยครอบคลุมถึงกิริยา วาจาต่าง ๆ เช่น การยืน การเดิน การนั่ง การนอน การรับของส่งของ การทำความเคารพ การแสดงกิริยาอาการ การรับประทานอาหาร การให้และรับบริการ การทักทาย การสนทนา การใช้คำพูด การฟัง การใช้เครื่องมือสื่อสาร รวมทั้งการประพฤติปฏิบัติในพิธีการต่าง ๆ
ลำดับความสำคัญมารยาทไทย
มารยาทไทย เป็นเอกลักษณ์สำคัญของคนไทย ควรกำหนดขึ้นไว้เป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติ ดังนี้
๑ การแสดงความเคารพ
๒ การยืน
๓ การเดิน
๔ การนั่ง
๕ การนอน
๖ การรับของส่งของ
๗ การแสดงกิริยาอาการ
๘ การรับประทานอาหาร
๙ การให้และรับบริการ
๑๐ การทักทาย
๑๑ การสนทนา
๑๒ การใช้คำพูด
๑๓ การฟัง
๑๔ การใช้เครื่องมือสื่อสาร
๑๕ การประพฤติปฏิบัติในพิธีการต่าง ๆ
คำสั่ง สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ที่ ๖๓๕ /๒๕๔๙เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานด้านมารยาทไทย

การยืน
การยืนโดยคำนึงถึงมารยาทจัดเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้
๑. การยืนเคารพธงชาติ
๒. การยืนถวายความเคารพสมเด็จพระสังฆราช
๓. การยืนถวายความเคารพพระมหากษัตริย์ และ พระบรมวงศ์
๔. การยืนในพิธีต่างๆ
๕. การยืนที่ไม่เป็นพิธี
๔. การยืนในพิธีต่างๆ
๔.๑ การยืนเคารพในพิธีที่มีการบรรเลงเพลงมหาฤกษ์ และเพลงมหาชัย
เพลงมหาฤกษ์ ใช้บรรเลงในการเปิดงานที่เป็นพิธีใหญ่ เช่น พิธีเปิดสถานทำการของรัฐบาล พิธีเปิดทางคมนาคมที่สำคัญๆ และงานที่เป็นมงคลทั่วไป
ใช้บรรเลงต้อนรับประธานของงานผู้มีเกียรติสูง นับตั้งแต่สมเด็จพระบรมราชกุมาร พระบรมวงศานุวงศ์ นายกรัฐมนตรี หรือเมื่อผู้เป็นประธานของงานกล่าวคำปราศัยจบก็จะบรรเลงเพลงมหาชัยเป็นพิเศษหรือบรรเลงในงานรับรองบุคคลสำคัญ งานสโมสรสันนิบาต เป็นต้น
เมื่อได้ยินเพลงมหาฤกษ์ หรือเพลงมหาชัย บรรเลง ให้ยืนตรงจนกว่าจะจบเพลง ในกรณีที่เป็นพิธีของทางราชการ ผู้ที่เป็นทหารหรือข้าราชการพลเรือน ที่อยู่ในเครื่องแบบให้ปฏิบัติตามระเบียบของราชการทหาร หรือราชการพลเรือนแล้วแต่กรณี
๔.๒ การยืนเคารพในพิธีให้เกียรติแก่ผู้ล่วงลับ ให้ยืนแสดงความเคารพเมื่อได้ยินเสียงแตรเดี่ยว เป่าเพลงนอน หรือเมื่อประธานวางเครื่องขมาหรือจุดเพลิงเผาศพ ไม่ว่าจะมีเพลงประโคมหรือไม่ก็ตาม และเมื่อการเชิญศพผ่านให้ยืนตรงแสดงความเคารพด้วย
๔.๓ การยืนเมื่อประธานในพิธีเดินผ่าน ทุกคนในที่นั้นลุกขึ้นยืนตรงหันหน้าไปทางประธานที่กำลังเดินผ่าน ปล่อยมือไว้ข้างตัว
๔.๔การยืนฟังโอวาท ให้ยืนตรง ชิดเท้า ปล่อยมือไว้ข้างตัว หันหน้าไปทางผู้ให้โอวาท ยกเว้นในกรณีที่ถือประกาศนียบัตร หรือเครื่องราชอิสริยาภรณ์ฯลฯ อยู่ ถ้าถือมือเดียวให้ถือด้วยมือขวาแนบไว้กับอกหรือระดับตั้งฉากกับลำตัว แล้วแต่ทางพิธีจะกำหนด ถ้าถือสองมือให้ถือระดับตั้งฉากกับลำตัว
๔.๕การยืนกล่าวคำปฏิญาณ โอกาสที่กล่าวคำปฏิญาณ เช่น กล่าวคำปฏิญาณต่อธงชัยเฉลิมพล ถวายสัตย์ปฏิญาณ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้ยืนตรง ชิดเท้า หันหน้าไปทางธงหรือพระองค์ท่าน กล่าวคำปฏิญาณของครู นักเรียน และกลุ่มบุคคลต่างๆ อาทิ ไทยอาสาป้องกันชาติ ลูกเสือ เนตรนารี ให้ผู้ที่กล่าวคำปฏิญาณปฏิบัติตามพิธีที่กำหนดไว้ของสถาบันนั้นๆ
๕. การยืนที่ไม่เป็นพิธี
๕.๑ การยืนรับคำสั่ง ให้ยืนตรง ชิดเท้า หน้าตรง ปล่อยมือไว้ข้างตัว
การยืนรับคำสั่ง
๕.๒ การยืนให้เกียรติผู้ใหญ่ การยืนลักษณะนี้ใช้เมื่อเรานั่งสนทนากันอยู่แล้วมีผู้ใหญ่เดินเข้ามาหรืออยู่ร่วมสนทนาด้วย ให้ลุกขึ้นยืนตรง มือประสานกันอยู่ระดับเอว ค้อมตัวเล็กน้อย รอจนผู้ใหญ่นั่งลงแล้วจึงนั่งลง
๕.๓ การยืนสนทนากับผู้ใหญ่ ให้ยืนตรง ชิดเท้า ค้อมตัวเล็กน้อย มือประสานกันอยู่ระดับเอว ไม่ควรยืนชิดหรือห่างผู้ใหญ่จนเกินไป
๕.๔ การยืนคุยกับเพื่อน การยืนพักผ่อน และการยืนดูมหรสพ ควรยืนในลักษณะสุภาพ ไม่ก่อความรำคาญหรือเกะกะกีดขวางผู้อื่น เช่น ยืนพูดข้ามศีรษะ หรือยืนบังผู้อื่นในการยืนดูมหรสพหรือขบวนแห่ เป็นต้น
๕.๕ การยืนเข้าแถวคอย ลักษณะการยืนเช่นเดียวกับข้อ ๕.๔ แต่จะต้องเข้าแถวให้เป็นระเบียบ เรียงลำดับก่อนหลัง ไม่ควรแย่งกัน เช่นการยืนตามลำดับก่อนหลังในการเตรียมขึ้นรถโดยสาร ในการขึ้นเผาศพ ในการรดน้ำอวยพรคู่บ่าวสาว และในการตักอาหารแบบช่วยตัวเอง
๕.๖ การยืนปฏิบัติหน้าที่ ได้แก่การยืนประกาศ ยืนบรรยาย หรือยืนแสดงปาฐกถา ฯลฯ ควรยืนในลักษณะสุภาพ

๓. การยืนถวายความเคารพพระมหากษัตริย์ และ พระบรมวงศ์
๓.๑ การยืนรับเสด็จฯ นอกพระที่นั่ง อาคาร หรือแนวทางลาดพระบาทที่รับเสด็จฯถ้าเป็นข้าราชการจัดให้ยืนเรียงแถวตามลำดับยศ ตำแหน่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ซึ่งกำหนดการเฝ้าฯ เป็นงาน ๆ เช่น แต่งเครื่องแบบเต็มยศ ครื่งยศปกติ โดยปฏิบัติตามระเบียบของเจ้าหน้าที่ หรือผู้รับผิดชอบแนะนำ
ถ้าแต่งเครื่องแบบสวมหมวกทั้งชายหญิงให้ยืนถวายความเคารพด้วยการทำวันทยาหัตถ์ หากไม่สวมหมวกข้าราชการชาย ทหาร ตำรวจ พลเรือนและหญิงที่แต่งเครื่องแบบทหาร ตำรวจ ให้ถวายคำนับโดยก้มศีรษะลงช้า ๆ ต่ำพอสมควรกระทำครั้งเดียวแล้วยืนตรง ถ้าเป็นพยาบาล ที่แม้จะสวมหมวกให้ย่อเข่าที่เรียกกันทั่วไปว่า “ถอนสายบัว”ตามแบบข้าราชการฝ่ายในสำนักพระราชวัง
บุคคลทั่วไปที่มีโอกาสได้เฝ้าฯ แต่มิได้แต่งเครื่องแบบ ชายให้ถวายคำนับ หญิงถวายความเคารพแบบย่อเข่าที่เรียกว่าถอนสายบัว ในกรณีต่างจังหวัด ชนบทพสกนิกร ประชาชนจะยกมือประนม ก้มศีรษะไหว้แบบไทยก็ได้ทั้งชาย หญิง ถ้าสวมหมวกที่มิใช่เครื่องแบบที่ทางราชการกำหนด ให้ถอดหมวก แล้วถวายความเคารพเหมือนผู้ที่ไม่ได้แต่งเครื่องแบบ ยกเว้นผู้ที่โพกผ้าหรือสวมหมวกตามลัทธิศาสนาของตน
๓.๒ การยืนเฝ้าฯ รับเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถฯ สมเด็จพระบรมวงศ์
ให้ยืนถวายความเคารพตามข้อ ๓.๑ แล้วยืนตรงจนกว่าจะเสด็จฯ เลยไป เมื่อประทับพระราชอาสน์ หรือพระเก้าอี้เรียบร้อยแล้ว ถวายความเคารพอีกครั้งหนึ่ง แล้วจึงเคลื่อนที่ได้และลงนั่งเก้าอี้ตามลำดับตำแหน่ง
ในกรณีที่ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจงานพระราชพิธีต่าง ๆ เช่น เสด็จฯ ไปทรงจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย หรือพระราชทานพระบรมราโชวาท ให้ยืนตรงจนกว่าทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจนั้นเสร็จ ประทับพระราชอาสน์ หรือพระเก้าอี้แล้ว จึงถวายความเคารพแล้วนั่งลง
ผู้ที่นั่งเฝ้าฯ อยู่ในงานพิธีการต่างๆ เมื่อมีกิจจำเป็นจะต้องไปจากที่นั้น ให้ยืนถวายความเคารพก่อนแล้วจึงออกไป เมื่อกลับมาต้องถวายความเคารพอีกครั้งแล้วจึงนั่งลง
ในกรณีการเฝ้า ฯ ที่ไม่ได้จัดให้นั่งเก้าอี้เฝ้าฯ เช่น งานสโมสรสันนิบาต งานเสด็จออกมหาสมาคม ผู้เฝ้า ฯ จะต้องยืนตลอดเวลาจนกว่าจะเสด็จ ฯ กลับ
๓.๓ การยืนเคารพในพิธีที่มีการบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี เพลงสรรเสริญพระบารมีบรรเลงเพื่อถวายความเคารพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถฯ สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร หรือผู้ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นผู้แทนพระองค์
การยืนเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมีในกรณีที่มิได้อยู่ในที่เฝ้าฯ เช่น เมื่อเพลงสรรเสริญพระบารมีบรรเลงเป็นการเปิดหรือปิดงาน หรือเมื่อมหรสพเริ่มหรือเลิก ควรทำความเคารพด้วยการยืนตรง เมื่อเพลงจบให้คำนับโดยก้มศีรษะ ทั้งชายและ หญิง
๑. การยืนเคารพธงชาติ เพลงชาติ หรือธงชัยเฉลิมพลในที่สาธารณะ ให้ยืนตรงแสดงคารวะโดยหันหน้าไปทางธงชาติ เมื่อเพลงจบให้ค้อมศีรษะคำนับ และสำหรับบุคคลทั่วไปเมื่อจะผ่านธงชัยเฉลิมพลให้หยุด และยืนแสดงคารวะ หรือเมื่อมีการเชิญธงชัยเฉลิมพลผ่านก็ให้ยืนตรงแสดงความเคารพเช่นเดียวกัน
๒. การยืนถวายความเคารพสมเด็จพระสังฆราช
๒.๑ เมื่อสมเด็จพระสังฆราชเสด็จมาถึงมณฑลพระราชพิธีก่อน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือ พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้ที่มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทอยู่ ณ ที่นั้น ถวายความเคารพโดยการยืนประนมมือไหว้ เมื่อเสด็จผ่านแล้วจึงนั่งลง
๒.๒ ในกรณีที่สมเด็จพระสังฆราชเสด็จมาถึงภายหลัง ให้ถวายความเคารพโดยวิธีนั่งประนมมือไหว้

วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

แม่

แม่
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่:
วิกิพจนานุกรม มีความหมายของคำว่า:แม่
แม่ หรือ มารดา เป็นคำที่เรียกผู้ให้กำเนิด และโดยทั่วไป คือ แม่ที่เป็นบุคคลสำคัญของครอบครัวแบบ พ่อ แม่ ลูก เป็นผู้มีพระคุณต่อลูกเพราะเป็นผู้ให้กำเนิด แม่ทั่วไปมีหน้าที่ให้ครอบครัวคือ เลี้ยงลูก ดูแลบ้าน
สำหรับผู้หญิงที่จะเป็นแม่คน หรือจะมีบุตรได้นั้น ควรจะมีอายุระหว่าง 20-30 ปี เนื่องจากในช่วงนี้จะเป็นช่วงที่ผู้หญิงมีการเจริญเติบโตทางร่างกาย สมบูรณ์เต็มที่ ไม่เด็ก หรือว่าแก่เกินไป
คนไทยบางคนมักเรียก แม่ ของตัวเองว่า "คุณแม่" ซึ่งถือเป็นคำที่สุภาพกว่าการเรียกว่า "แม่" ห้วน ๆ
ในภาษาไทยบางครั้งคำว่า แม่ ถูกใช้เรียก ผู้หญิง ทั่ว ๆ ไป หรือ จำเพาะเป็นกลุ่ม ๆ เช่น แม่บ้าน แม่นม หรือบางครั้งก็ใช้เรียกสิ่งที่เป็นตัวหลักของสิ่งอื่น เช่น แม่ทัพ แม่งาน และบางครั้งก็เรียกสิ่งที่ให้กำเนิดสิ่งอื่น ๆ ในธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ
มีบทประพันธ์แปลเกี่ยวกับความรักของแม่ของพระราชธรรมนิเทศ ไว้ดังนี้[1]

ในโลกอันหนาวทรวงลวงหลอกนี้
ช่างไม่มีธารรักอันศักดิ์สิทธิ์
ที่ซึมซาบดื่มด่ำอมฤต
เหมือนในจิตของแม่รักแท้จริง

[แก้] การออกเสียงคำว่าแม่ของแต่ละภาษา
แม่หรือว่าผู้หญิงที่แต่งงานแล้วให้กำเนิดลูก และลูกก็จะเรียกผู้หญิงคนนั้นว่าแม่โดยทั่วไปแล้วแต่ละภาษามักจะใช้อักษร "ม" เหมือนกันหมดเช่น
คนไทย จะเรียกผู้ที่ให้กำเนิดว่า "แม่"
ภาษาอังกฤษ จะเรียกผู้ที่ให้กำเนิดว่า "มาเธอร์ (Mother)" หรือ "มัม (Mom)"
ภาษาสันสกฤต จะเรียกผู้ให้กำเนิดว่า "มารดา"
ภาษาบาลี จะเรียกผู้ให้กำเนิดว่า "มาตา"
คนจีน จะเรียกผู้ให้กำเนิดว่า "ม่าม้า" (แต้จิ๋ว) จีนกลางอ่านว่า มาหมะ ()
คนแขก จะเรียกผู้ให้กำเนิดว่า "มามี้"
คนฝรั่งเศส จะเรียกผู้ให้กำเนิดว่า "มามอง"
คนญี่ปุ่น จะเรียกผู้ให้กำเนิดว่า "โอก้าซัง"
คนเกาหลี เรียกผู้ให้กำเนิดว่า "ออมม่า"
คนเวียดนาม เรียกผู้ให้กำเนิดว่า "แม๊" ออกเสียงใกล้เคียงภาษาไทยมาก อ้างอิง
^ อานุภาพรัก 'แม่' กว้างกว่าฟ้าใหญ่กว่าทะเล
แหล่งข้อมูลอื่น
ข้อมูลแม่และเด็ก
ข้อมูลที่สำคัญสำหรับคุณแม่มือใหม่
บทความเกี่ยวกับมนุษย์ มานุษยวิทยา และเรื่องที่เกี่ยวข้องนี้ยังไม่สมบูรณ์ คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้ด้วยการเพิ่มเติมข้อมูล