ขอโทษประเทศไทย

วันพุธที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การรับประทานอาหารหลายประเภท


รับประทานอาหารหลากหลายประเภท เพื่อการมีสุขภาพที่ดีขึ้น
FFA Issue 23, March 2005, "A Varied Diet for Better Health"

7 มีนาคม 2548
โภชนาการวิทยาศาสตร์ได้ระบุไว้ว่าสารอาหารที่มีความสำคัญแก่ร่างกายของมนุษย์นั้นมีจำนวนอยู่เกือบ50 ประเภท สารอาหารคือสารเคมี เช่น วิตามิน กรดอมิโน แร่ธาตุ และกรดไขมันที่สำคัญต่างๆ ที่มีความสำคัญต่อร่างกายแต่ร่างกายของเราไม่สามารถที่จะสังเคราะห์สารเหล่านี้ขึ้นได้เอง ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องพึ่งสารอาหารจากอาหารที่รับประทาน ตามที่นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่าสาร Phytochemical (ในพืชผักผลไม้และอาหารธรรมชาติที่มีฤทธิ์ในการป้องกันและต่อต้านมะเร็งนั้นจะมีสารที่เกิดจากธรรมชาติบางประเภทเป็นองค์ประกอบสารนี้ เรียกว่า Phytochemical) ที่มีอยู่ในผลไม้ ผัก ถั่ว เมล็ดพืช และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ซึ่งมีจำนวนมากกว่า 1,200 ประเภท ถึงแม้ว่าสารเหล่านี้ดูเหมือนว่าจะไม่มีความสำคัญมากนัก แต่ยังคงมีประโยชน์และส่งผลในทางบวกต่อสุขภาพของมนุษย์ และแน่นอนว่าสารอาหารเหล่านี้ไม่สามารถพบได้จากอาหารจานใดจานหนึ่งหรือแม้กระทั่งจากหมวดอาหารเพียงหมวดเดียว (เช่น แป้ง, ผักและผลไม้, เนื้อสัตว์) และการมุ่งรับประทานอาหารที่จัดอยู่ในหมวดอาหารเพียงหมวดเดียวนั้น ย่อมมีความเสี่ยงสูง เพราะการบริโภคสารอาหาร และ Phytochemical ในประมาณที่มากเกินไป สามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายของคนเราได้ และนี่คือเหตุผลว่าทำไมแนวทางการบริโภคอาหาร (Dietary Guideline) ต่างๆ จึงได้แนะนำให้ “รับประทานอาหารให้หลากหลายประเภท” และทำไมนักวิจัย และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพถึงได้มีความสนใจในเรื่องความหลากหลายทางโภชนาการเพิ่มมากขึ้น เชิญอ่านบทความนี้ต่อไปเพื่อค้นคว้าหาว่าทำอย่างไรเราจึงจะแน่ใจได้ว่าอาหารที่เรารับประทานนั้นจะให้คุณค่าทางโภชนาการที่สำคัญอย่างครบถ้วนเพื่อสร้างประโยชน์สูงสุดให้แก่สุขภาพ
อะไรคือสิ่งทำให้เกิดการรับประทานอาหารที่หลากหลาย?
การรับประทานอาหารที่หลากหลายคือการเลือกรับประทานอาหารข้ามหมวดประเภทอาหารหรือเกือบทั้งหมดของกลุ่มอาหาร เช่น ผัก ผลไม้ ธัญญาหาร เนื้อสัตว์ ปลา และผลิตภัณฑ์นมเนยต่างๆ การรับประทานอาหารที่หลากหลายนั้นยังครอบคลุมถึงการรับประทานอาหารภายในกลุ่มอาหารผสมกัน เช่น การรับประทานกล้วย 2 ใบ และ แครอท 3 หัวในทุกๆ มื้อเป็นประจำทุกวัน ซึ่งจะเท่ากับการบริโภคผลไม้และผักจำนวน 5 หน่วยบริโภคต่อวัน ตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ แต่ปริมาณสาร Phytochemical ที่ร่างกายได้รับนั้น ยังมีปริมาณไม่ถึงครึ่งตามที่นักวิทยาศาสตร์ได้กำหนดไว้ในหมวดอาหารประเภทผลไม้และผัก
การวิจัยได้แนะนำว่าการบริโภคอาหารให้หลากหลายประเภท โดยรับประทานให้ได้มากกว่า 30 ประเภทอาหารต่ออาทิตย์ หรือมากกว่า 12 ประเภทต่อวันนั้นจะทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารหลายๆ ประเภทที่สำคัญในปริมาณที่เพียงพอ ซึ่งแนวทางการบริโภคอาหารของประเทศญี่ปุ่นได้แนะนำการบริโภคอาหารให้หลากหลายประเภทโดยควรบริโภคให้ได้ 30 ประเภทต่อวัน
การประเมินความหลากหลายในการบริโภคอาหารนั้น เริ่มต้นโดยการจัดอาหารที่คล้ายคลึงกันให้อยู่ในกลุ่มเดียวกันเสียก่อน (ดูตัวอย่างประเภทอาหารในตาราง) ดังนั้น หากคุณรับประทานข้าวต้มเป็นอาหารเช้า ขนมปังที่ผลิตจากแป้งสาลีและแป้งข้าวไรน์สำหรับมื้อกลางวันและตามด้วยก๋วยเตี๋ยวที่ทำจากแป้งบักวีต(เส้นโซบุ)สำหรับอาหารมื้อเย็น ทั้งหมดนี้เป็นการบริโภคอาหารถึง 4 กลุ่มในวันนั้น แต่อย่างไรก็ตามการดื่มน้ำผลไม้ส้มโอใน มื้อเช้า รับประทานส้มเขียวหวานในช่วงสายเป็นของในวันและสลัดส้มโอจะนับเป็นการบริโภคอาหารเพียง 1 ประเภทของวัน
การบริโภคอย่างหลากหลาย, การบริโภคอย่างสมดุลย์ และการบริโภคในปริมาณที่พอดี มีส่วนช่วยส่งเสริมกัน
การเลือกบริโภคอาหารที่หลากหลายประเภททุกวันช่วยเสริมและสามารถเข้ากันได้เป็นอย่างดีกับคำแนะนำทางโภชนาการที่เน้นการบริโภคเพื่อให้เกิดความสมดุลย์และในปริมาณที่พอดีการรับประทานอาหารอย่างสมดุลย์หมายถึงการบริโภคอาหารที่รวมสารอาหารแต่ละชนิดและอาหารแต่ละหมวดไว้ในปริมาณกำลังพอดี แต่ไม่มากเกินไป เช่น โปรตีนอาหารที่ได้จาก สัตว์เนื้อแดง ปลา และสัตว์ปีกนั้นอุดมไปด้วยธาตุเหล็ก แต่มีปริมาณแคลเซียมอยู่ในระดับต่ำ นมและผลิตภัณฑ์จากนมนั้นอุดมไปด้วยสารโปรตีนที่มีคุณภาพสูง และมีแคลเซียมอยู่มากมาย แต่มีปริมาณธาตุเหล็กต่ำ ดังนั้น การนำอาหารทั้งสองกลุ่มนี้มาบริโภครวมกันเป็นประจำจึงเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้เราประสบความสำเร็จในการสร้างความสมดุลย์ทั้งปริมาณแคลเซี่ยมและเหล็กให้แก่ร่างกาย
หลักการบริโภคอาหารในปริมาณที่พอดีนั้น ยังสามารถใช้ร่วมกันกับหลักการรับประทานอาหารอย่างสมดุลย์และบริโภคอย่างหลากหลายด้วย เช่น การบริโภคไขมันในปริมาณที่พอดีนั้นเป็นหลักโภชนาการเพื่อการมีสุขภาพที่ดี เนื่องจากไขมันบางประเภท (ประมาณ 15% ของปริมาณพลังงานทั้งหมดที่มีในอาหาร) นั้นมีความสำคัญต่อสุขภาพ แต่หากบริโภคในปริมาณที่มากเกินไปแล้วสามารถนำไปสู่การมีน้ำหนักตัวที่มากเกินไปและโรคหัวใจ สำหรับกรณีนี้ การบริโภคอาหารที่มีไขมันสูงเป็นบางครั้งบางคราว ถือเป็นการบริโภคที่หลากหลายโดยปราศจาก คุณภาพแต่ร่างกายของการรับประทานอาหารทั่วๆ ไปโดยเฉพาะหากไขมัน (Fat) หรือ น้ำมัน (Oil) ที่บริโภคนั้นแตกต่างประเภทกัน
หลักฐานจากการศึกษาวิจัยเท่าที่มีอยู่ไม่กี่ชิ้นแสดงให้เห็นว่าการบริโภคอาหารหลากหลายประเภทนั้น ช่วยทำให้สุขภาพดีขึ้น เช่น มีชีวิตที่ยาวนานขึ้น ลดสภาพการเสื่อมถอยและความรุนแรงของโรคหรือความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น มะเร็ง เบาหวาน และช่วยให้ร่างกายฟื้นจากภาวะความเจ็บป่วยหรือช่วยรักษาบาดแผลให้หายเร็วยิ่งขึ้น
แนวทางการบริโภคอาหารของนานาประเทศได้แนะนำให้ประชาชนของตนเเลือกรับประทานอาหารให้หลากหลายประเภท
“จงเลือกและมีความสุขในการรับประทานอาหารที่หลากหลาย” เป็นสาร (message) ที่ยังคงมีอยู่ใช้อยู่อย่างไม่เปลี่ยนแปลงในแนวทางการบริโภคอาหารของนานาประเทศทั่วโลก ประเทศมาเลเซีย ประเทศไทย ประเทศเกาหลีใต้ ประเทศจีน ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศเหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างในอีกหลายๆ ประเทศในทวีปเอเชีย ที่ได้ระบุข้อความนี้ไว้ในแนวทางการบริโภคอาหารของประเทศอย่างเป็นทางการ
วิธีการบริโภคอาหารโดยให้มีความรู้สึกสนุกสนานและตื่นเต้นนั้นได้รับการส่งเสริมและถูกรวบรวมไว้ในแนวทางการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีให้แก่ครอบครัวรุ่นใหม่ในนานาประเทศทั่วโลก การนำเสนออาหารใหม่ๆ และวิธีการปรุงอาหารวิธีใหม่ๆ จึงมีอยู่เป็นประจำให้แก่เด็กๆ และสำหรับผู้ปกครองที่ต้องการปลูกฝังนิสัยการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพและวิถีการดำเนินชีวิตที่ดีแบบยั่งยืนให้แก่เด็กๆ แน่นอนว่าเด็กๆ ทั่วไป มักจะมีความรู้สึกชอบหรือไม่ชอบอาหารประเภทใดประเภทหนึ่งอย่างรุนแรง ซึ่งสำหรับผู้ปกครองที่พบว่าลูกหลานของตนนั้นเป็น “เด็กเรื่องมาก” จะรู้สึกว่าการที่จะส่งเสริมให้เด็กๆ หันมารับประทานอาหารที่หลากหลายประเภทนั้นเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ วิธีการแก้ปัญหาสำหรับสถานะการณ์เช่นนี้นั้น คือไม่ควรบังคับให้เด็กๆ รับประทานอาหารประเภทที่พวกเขาไม่ชอบหรือไม่ต้องการรับประทาน แต่ควรที่จะค่อยๆ สร้างความรู้สึกที่ดีโดยการสร้างความดึงดูด และทำให้เด็กๆ รู้สึกสนในและมีความสุขในการรับประทานอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มนั้นๆ ขึ้นมาเอง ( เช่น ให้มีส่วนร่วมในการเลือกประเภทอาหาร ให้เข้าครัวและช่วยจัดเตรียมและประกอบอาหาร หรือไปช้อปปิ้งร่วมกัน ฯลฯ ) และสิ่งต่อไปที่ผู้ปกครองควรจะปฏิบัติอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาหนึ่ง คือ แนะนำให้เด็กทานอาหารอาหารประเภทใหม่ๆ ในปริมาณแต่น้อยร่วมกับอาหารจานโปรดที่ชื่นชอบอยู่แล้ว และควรจำไว้เสมอว่าความชอบส่วนตัวนั้นจะค่อยๆ ลดน้อยลงไปเมื่อเวลาผ่านไปนานๆ
สาร Phytochemical เช่น สารฟลาโวนอยด์ (Flavonoids), สารไอโซไธโอยาเนท (Isothiocyanates), สารลูเทอิน (Lutein), สารเบต้า และ อัลฟ่า แคโรทีน (Beta & Alpha-Carotene) ปริมาณเล็กน้อยมีส่วนช่วยหยุดยั้งการลุกลามของโรคมะเร็ง และโรคหัวใจ
ประโยชน์ของการรับประทานอาหารหลากหลายประเภท
การรับประทานอาหารหลากหลายประเภทนั้นมีประโยชน์อยู่หลายประการ คือช่วยให้เกิดความสมดุลย์ของการเกิดปฏิกิริยาระหว่างสารหรือส่วนประกอบในอาหาร ทั้งปฏิกิริยาในทางบวกและลบ นอกจากนี้ยังช่วยก่อให้เกิดความสมดุลย์ของสารอาหารที่ร่างกายพึงจะได้รับในรูปแบบที่ต่างกันซึ่งได้รับมาจากแหล่งของอาหารที่ต่างประเภทกัน
การบริโภคอาหารที่หลากหลายนั้นยังช่วยเพิ่มความรู้สึกสนุกสนานและมีความสุขระหว่างการรับประทานอาหารด้วย ความสนใจเพิ่มมากขึ้นอยากค้นหาคำตอบในความลี้ลับของอาหารที่เรารับประทาน ได้พูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในระหว่างมื้ออาหาร นอกจากนี้ยังเป็นการเรียนรู้ชีวิตความเป็นอยู่ วัฒนธรรม และประเพณีของผู้คนที่มาจากส่วนอื่นๆ ของโลกด้วย
การศึกษาวิจัยในเรื่องประโยชน์ของการรับประทานอาหารที่หลากหลายประเภทนั้น ยังคงอยู่ในช่วงระยะเริ่มต้น แต่ตามหลักฐานเท่าที่มีปรากฎอยู่ในปัจจุบันนี้ ได้ค้นพบว่ามีประโยชน์ดังนี้
การรับประทานอาหารที่หลากหลายประเภทนั้น ดูเหมือนว่าจะเป็นการป้องกันการก่อตัวของเบาหวานประเภทที่ 2 มะเร็งบางชนิด และโรคหลอดเลือดหัวใจ
การศึกษาเรื่องเบาหวานประเภท 2 นั้น ค้นพบว่าการรับประทานอาหารอย่างหลากหลายประเภทนั้นจะช่วยลดอัตราความเสี่ยงของความเสื่อมสภาพของเส้นเลือดใหญ่ความเสื่อมถอยของอวัยวะ และทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดดีขึ้น
ผลการติดตามกรณีศึกษาอย่างต่อเนื่องของ US National Health and Nutrition Examination Survey (NHANES) I Epidemiological พบว่ากลุ่มของผู้ที่รับประทานอาหารหลากหลายประเภทนั้นโดยปกติแล้วจะมีอัตราการมีชีวิตที่ยาวนานขึ้น
การรับประทานอาหารหลากหลายประเภทที่อุดมไปด้วยสารอาหาร แต่ให้พลังงานน้อย เช่นผักและผลไม้นั้นช่วยในการควบคุมน้ำหนัก
เคล็ดลับการเพิ่มความหลากหลายของประเภทอาหาร
อาหารที่มีความหลากหลายอยู่ในตัวเอง เช่นขนมปังผสมธัญญาพืชหลายๆ ชนิดและมูสลี (Mueslis)
เสริฟเครื่องเคียง เช่นผลไม้ ผักสลัด แตงกวาดอง ถั่ว ผัก/ผลไม้ดอง พร้อมกับอาหารจานหลัก
อาหารประเภทผัด, ซุป และสลัด เป็นวิธีง่ายๆ ที่ทำให้ได้รับประทานผักหลากหลายประเภท โดยการใช้ส่วนผสมที่หลากหลาย
สร้างความรู้สึกที่อยากลองในสิ่งใหม่ๆ การทดลองชิมรสชาดอาหารใหม่ๆ ช่วยทำให้เรารู้สึกสนุกและตื่นเต้น
ตั้งเป้าไว้ว่าจะลองทานผลไม้หรือผักแปลกๆ ที่เราไม่คุ้นเคยให้เป็นประจำ เช่นเมื่อไปจ่ายตลาด พยายามเลือกซื้ออาหารที่ไม่ได้ซื้อเป็นประจำมาลองรับประทานและลองหมุนเปลี่ยนลองทานผักแปลกๆ ใหม่ๆ ไปเรื่อยๆ
หัดลองและสนุกกับการลองอาหารประจำชาติของประเทศอื่นๆ ดูบ้าง
นอกเหนือจากที่ได้กล่าวมาข้างต้นนี้ให้ลองเผื่อเวลาที่จะมีความสนุกสนานกับการได้ลองรับประทานอาหาร เครื่องดื่ม และขนมขบเคี้ยว และลองแบ่งความสนใจในวิธีการปรุงอาหารที่มีอยู่มากมายเหล่านั้นเป็นอย่างสม่ำเสมอ
เนื่องจากทวีปเอเชียมีข้อได้เปรียบด้านฤดูกาล ผู้บริโภคในแถบทวีปเอเชียจึงมีโอกาสได้มีความสุขกับการรับประทานอาหารทั้งในรูปของอาหารสดและอาหารแปรรูปที่มาจากแหล่งทรัพยากรอาหารมากมายหลายประเภทได้ตลอดทั้งปี ดังนั้น จึงเป็นโอกาสที่ดีที่จะปรับกลยุทธ์การรับประทานอาหารให้หลากหลายประเภทเป็นประจำและรวมถึงทดลองปรุงอาหารในวิธีอื่นๆ บ้าง แต่ยังคงสามารถเลือกใช้วัตถุดิบอาหารและคงรสชาดอาหารตามแบบที่ชอบในมื้ออาหารปกติของเราไว้เช่นเดิม
กลุ่มอาหาร
อาหาร
ข้าวสาลี (wheat)
ขนมปังที่ทำจากแป้งสาลีขาวหรือโฮลวีท, เส้นก๋วยเตี๋ยวทำจากแป้งสาลี, ซีเรียล สำหรับอาหารเช้าที่มีส่วนผสมจากแป้งสาลี, ขนมเค้ก, แคร็กเกอร์ทำจากข้าวสาลี, ขนมปังอบกรอบ (biscuit)
ข้าว
ข้าวขัดขาวและข้าวซ้อมมือ, ขนมอบกรอบที่ทำจากข้าว (rice cracker), อาหารเช้าที่ทำจากข้าวโอ๊ต (rice porridge), ขนมจีน
เห็ด (Fungi)
เห็ดหอมแห้งและสด, เห็ดนางรม, เห็ดเอโนกิ (Enoki/Enokitake mushroom), เห็ดกระดุม
ถั่วสด
(Fresh Green Legume)
ถั่วฝักยาว , ถั่ว Mange-Tout, ถั่วลันเตา, ถั่วแขก, ถั่วพลู
ถั่วแห้ง (Dried Bean)
ถั่ว Adzuki (ถั่วแดงของประเทศญี่ปุ่น นิยมนำมาทำของหวานโดยการต้มเชื่อมกับน้ำตาล), ถั่วขาว, ถั่ว Chick Pea (มีลักษณะสีเหลืองนวล มักทำเป็นถั่วแห้ง รู้จักกันในชื่อของ ถั่ว Garbanzo หรือ ถั่ว Ceci), ถั่วแดง, ถั่วเหลือง, เต้าหู้, Tempeh (อาหารพื้นเมืองประเทศอินโดนีเซีย ทำจากถั่วเหลืองหมัก), ถั่วเขียว
หัวหอม
กระเทียม, หอม, กุยช่าย, หอมแดง, หอมใหญ่, ต้นหอม
ดอกของผัก
ดอกกะหล่ำปลี, บรอคเคอลี่เขียวและม่วง
ผักใบเขียว
ผักคะน้า, ผักกาดหอม, ผักกวางตุ้ง, กะหล่ำปลี, ผักโขม
น้ำเต้า
(Gourd Vegetable)
ฟักทอง, ลูก Squash, แตงกวา, ลูก Marrow (ผักตระกูลน้ำเต้า เพาะปลูกในประเทศอังกฤษ มีเปลือกสีเขียวและมีขนาดประมาณแตงโมเมื่อโตเต็มที่) , มะระ, Zucchini
หัว (Root Vegetable)
หัว Mooli (ผักตระกูลแรดดิชมีสีขาว), แครอท, มันฝรั่ง, แห้ว, ขิง
ผลไม้เนื้อแข็ง
มะม่วง, แอพพริคอท, ลูกพลัม, ลูกพรุน, มะกอก
ผลไม้ที่มีเมล็ด
(Fleshy Seeded Fruit)
มะเดื่อ, อินทผลัม, กีวี, กะทกรก
แตง
แตงทุกประเภท เช่น แคนตาลูป, ฮันนี่ดิว, แตงโม
ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว
มะนาว (ทั้งไลม์และเลมอน), ส้มโอ, มะขาม, ส้ม, เกรพฟรุ้ท

ดนตรีไทย


ดนตรีไทย เป็นศิลปะแขนงหนึ่งของไทย ได้รับอิทธิพลมาจาก ประเทศต่าง ๆ เช่น อินเดีย จีน อินโดนีเซีย และอื่น ๆ เครื่องดนตรีมี 4 ประเภท ดีด สี ตี เป่า
สารบัญ[ซ่อนสารบัญ]
1 ประวัติความเป็นมาของ ดนตรีไทย
2 วิวัฒนาการของ ดนตรีไทย สมัยต่าง ๆ
2.1 สมัยสุโขทัย
2.2 สมัยกรุงศรีอยุธยา
2.3 สมัยกรุงธนบุรี
2.4 สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
3 วงดนตรีไทย
3.1 วงปี่พาทย์
3.2 วงเครื่องสาย
3.3 วงมโหรี
4 เครื่องดนตรีไทย
4.1 เครื่องตี
4.2 เครื่องสี
4.3 เครื่องดีด
4.4 เครื่องเป่า
5 เพลงดนตรีไทย
6 การบรรเลงดนตรีไทย
7 การบรรเลงดนตรีไทยประกอบงาน
8 ลีลาดนตรีไทย
if (window.showTocToggle) { var tocShowText = "แสดงสารบัญ"; var tocHideText = "ซ่อนสารบัญ"; showTocToggle(); }

[แก้ไข] ประวัติความเป็นมาของ ดนตรีไทย

จากการสันนิษฐานของท่านผู้รู้ทางด้าน ดนตรีไทย โดยการพิจารณา หาเหตุผลเกี่ยวกับกำเนิด หรือที่มาของ ดนตรีไทย ก็ได้มีผู้เสนอแนวทัศนะในเรื่องนี้ไว้ 2 ทัศนะที่แตกต่างกันคือ
ทัศนะที่ 1 สันนิษฐานว่า ดนตรีไทย ได้แบบอย่างมาจากอินเดีย เนื่องจาก อินเดียเป็นแหล่งอารยธรรมโบราณ ที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก อารยธรรมต่าง ๆ ของอินเดียได้เข้ามามีอิทธิพล ต่อประเทศต่าง ๆ ในแถบเอเชียอย่างมาก ทั้งในด้าน ศาสนา ประเพณีความเชื่อ ตลอดจน ศิลป แขนงต่าง ๆ โดยเฉพาะทางด้านดนตรี ปรากฎรูปร่างลักษณะ เครื่องดนตรี ของประเทศต่าง ๆ ในแถบเอเชีย เช่น จีน เขมร พม่า อินโดนิเซีย และ มาเลเซีย มีลักษณะ คล้ายคลึงกัน เป็นส่วนมาก ทั้งนี้เนื่องมาจาก ประเทศเหล่านั้นต่างก็ยึดแบบฉบับ ดนตรี ของอินเดีย เป็นบรรทัดฐาน รวมทั้งไทยเราด้วย เหตุผลสำคัญที่ท่านผู้รู้ได้เสนอทัศนะนี้ก็คือ ลักษณะของ เครื่องดนตรีไทย สามารถจำแนกเป็น 4 ประเภท คือ
- เครื่องดีด
- เครื่องสี
- เครื่องตี
- เครื่องเป่า
ใกล้เคียงกับลักษณะ เครื่องดนตรี อินเดียตามที่กล่าวไว้ในคัมภีร์ "สังคีตรัตนากร" ของอินเดีย ซึ่งจำแนกเป็น 4 ประเภท เช่นกันคือ
- ตะตะ คือ เครื่องดนตรี ประเภทมีสาย
- สุษิระ คือ เครื่องเป่า
- อะวะนัทธะ หรือ อาตตะ คือ เครื่องหุ้มหนัง หรือ กลอง ต่าง ๆ
- ฆะนะ คือ เครื่องตี หรือ เครื่องกระทบ
การสันนิษฐานเกี่ยวกับ กำเนิดหรือที่มาของ ดนตรีไทย ตามแนวทัศนะข้อนี้ เป็นทัศนะที่มีมาแต่เดิม นับตั้งแต่ ได้มีผู้สนใจ และ ได้ทำการค้นคว้าหาหลักฐาน เกี่ยวกับเรื่องนี้ขึ้น และนับว่า เป็นทัศนะที่ได้รับการนำมากล่าวอ้างกันมาก บุคคลสำคัญที่เป็นผู้เสนอแนะแนวทางนี้คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาแห่งวงการประวัติศาสตร์ของไทย
[แก้ไข] วิวัฒนาการของ ดนตรีไทย สมัยต่าง ๆ


[แก้ไข] สมัยสุโขทัย
นับตั้งแต่ไทยได้มาตั้งถิ่นฐานในแหลมอินโดจีน และได้ก่อตั้งอาณาจักรไทยขึ้น จึงเป็นการเริ่มต้น ยุคแห่งประวัติศาสตร์ไทย ที่ปรากฎ หลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร กล่าวคือ เมื่อไทยได้สถาปนาอาณาจักรสุโขทัยขึ้น และหลังจากที่ พ่อขุนรามคำแหง มหาราช ได้ประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นใช้แล้ว นับตั้งแต่นั้นมาจึงปรากฎหลักฐานด้าน ดนตรีไทย ที่เป็นลายลักษณ์อักษร ทั้งในหลักศิลาจารึก หนังสือวรรณคดี และเอกสารทางประวัติศาสตร์ ในแต่ละยุค ซึ่งสามารถนำมาเป็นหลักฐานในการพิจารณา ถึงความเจริญและวิวัฒนาการของ ดนตรีไทย ตั้งแต่สมัยสุโขทัย เป็นต้นมา จนกระทั่งเป็นแบบแผนดังปรากฎ ในปัจจุบัน พอสรุปได้ดังต่อไปนี้
สมัยสุโขทัย ดนตรีไทย มีลักษณะเป็นการขับลำนำ และร้องเล่นกันอย่างพื้นเมือง เกี่ยวกับ เครื่องดนตรีไทย ในสมัยนี้ ปรากฎหลักฐานกล่าวถึงไว้ในหนังสือ ไตรภูมิพระร่วง ซึ่งเป็นหนังสือวรรณคดี ที่แต่งในสมัยนี้ ได้แก่ แตร, สังข์, มโหระทึก, ฆ้อง, กลอง, ฉิ่ง, แฉ่ง (ฉาบ), บัณเฑาะว์ พิณ, ซอพุงตอ (สันนิษฐานว่าคือ ซอสามสาย) ปี่ไฉน, ระฆัง, และ กังสดาล เป็นต้น ลักษณะการผสม วงดนตรี ก็ปรากฎหลักฐานทั้งในศิลาจารึก และหนังสือไตรภูมิพระร่วง กล่าวถึง "เสียงพาทย์ เสียงพิณ" ซึ่งจากหลักฐานที่กล่าวนี้ สันนิษฐานว่า วงดนตรีไทย ในสมัยสุโขทัย มีดังนี้ คือ
1. วงบรรเลงพิณ มีผู้บรรเลง 1 คน ทำหน้าที่ดีดพิณและขับร้องไปด้วย เป็นลักษณะของการขับลำนำ
2. วงขับไม้ ประกอบด้วยผู้บรรเลง 3 คน คือ คนขับลำนำ 1 คน คนสี ซอสามสาย คลอเสียงร้อง 1 คน และ คนไกว บัณเฑาะว์ ให้จังหวะ 1 คน
3. วงปี่พาทย์ เป็นลักษณะของวงปี่พาทย์เครื่อง 5 มี 2 ชนิด คือ
วงปี่พาทย์เครื่องห้า อย่างเบา ประกอบด้วยเครื่องดนตรีชนิดเล็ก ๆ จำนวน 5 ชิ้น คือ 1. ปี่ 2. กลองชาตรี 3. ทับ (โทน) 4. ฆ้องคู่ และ 5. ฉิ่ง ใช้บรรเลงประกอบการแสดง ละครชาตรี (เป็นละครเก่าแก่ที่สุดของไทย)
วงปี่พาทย์เครื่องห้า อย่างหนัก ประกอบด้วย เครื่องดนตรีจำนวน 5 ชิ้น คือ 1. ปี่ใน 2. ฆ้องวง (ใหญ่) 3. ตะโพน 4. กลองทัด และ 5. ฉิ่ง ใช้บรรเลงประโคมในงานพิธีและบรรเลงประกอบ การแสดงมหรสพ ต่าง ๆ จะเห็นว่า วงปี่พาทย์เครื่องห้า ในสมัยนี้ยังไม่มีระนาดเอก
4. วงมโหรี เป็นลักษณะของวงดนตรีอีกแบบหนึ่ง ที่นำเอา วงบรรเลงพิณ กับ วงขับไม้ มาผสมกัน เป็นลักษณะของ วงมโหรีเครื่องสี่ เพราะประกอบด้วยผู้บรรเลง 4 คน คือ 1. คนขับลำนำและตี กรับพวง ให้จังหวะ 2. คนสี ซอสามสาย คลอเสียงร้อง 3. คนดีดพิณ และ 4. คนตีทับ (โทน) ควบคุมจังหวะ
[แก้ไข] สมัยกรุงศรีอยุธยา

ปรากฎหลักฐานเกี่ยวกับ ดนตรีไทย ในสมัยนี้ ในกฏมลเฑียรบาล ซึ่งระบุชื่อ เครื่องดนตรีไทย เพิ่มขึ้น จากที่เคยระบุไว้ ในหลักฐานสมัยสุโขทัย จึงน่าจะเป็น เครื่องดนตรี ที่เพิ่งเกิดในสมัยนี้ ได้แก่ กระจับปี่ ขลุ่ย จะเข้ และ รำมะนา นอกจากนี้ในกฎมณเฑียรบาลสมัย สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. 1991-2031) ปรากฎข้อห้ามตอนหนึ่งว่า "...ห้ามร้องเพลงเรือ เป่าขลุ่ย เป่าปี่ สีซอ ดีดกระจับปี่ ดีดจะเข้ ตีโทนทับ ในเขตพระราชฐาน..." ซึ่งแสดงว่าสมัยนี้ ดนตรีไทย เป็นที่นิยมกันมาก แม้ในเขตพระราชฐาน ก็มีคนไปร้องเพลงและเล่นดนตรีกันเป็นที่เอิกเกริกและเกินพอดี จนกระทั่งพระมหากษัตริย์ต้องทรงออกกฎมลเฑียรบาล ดังกล่าวขึ้นไว้
เกี่ยวกับลักษณะของ วงดนตรีไทย ในสมัยนี้มีการเปลี่ยนแปลง และพัฒนาขึ้นกว่าในสมัยสุโขทัย ดังนี้ คือ
1. วงปี่พาทย์ ในสมัยนี้ ก็ยังคงเป็น วงปี่พาทย์เครื่องห้า เช่นเดียวกับในสมัยสุโขทัย แต่มี ระนาดเอก เพิ่มขึ้น ดังนั้น วงปี่พาทย์เครื่องห้า ในสมัยนี้ประกอบด้วย เครื่องดนตรี ดังต่อไปนี้ คือ
ระนาดเอก
ปี่ใน
ฆ้องวง (ใหญ่)
กลองทัด ตะโพน
ฉิ่ง
2. วงมโหรี ในสมัยนี้พัฒนามาจาก วงมโหรีเครื่องสี่ ในสมัยสุโขทัยเป็น วงมโหรีเครื่องหก เพราะได้เพิ่ม เครื่องดนตรี เข้าไปอีก 2 ชิ้น คือ ขลุ่ย และ รำมะนา ทำให้ วงมโหรี ในสมัยนี้ ประกอบด้วย เครื่องดนตรี จำนวน 6 ชิ้น คือ
ซอสามสาย
กระจับปี่ (แทนพิณ)
ทับ (โทน)
รำมะนา
ขลุ่ย
กรับพวง
[แก้ไข] สมัยกรุงธนบุรี
เนื่องจากในสมัยนี้เป็นช่วงระยะเวลาอันสั้นเพียงแค่ 15 ปี และประกอบกับ เป็นสมัยแห่งการก่อร่างสร้างเมือง และการป้องกันประเทศเสียโดยมาก วงดนตรีไทย ในสมัยนี้จึงไม่ปรากฎหลักฐานไว้ว่า ได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงขึ้น สันนิษฐานว่า ยังคงเป็นลักษณะและรูปแบบของ ดนตรีไทย ในสมัยกรุงศรีอยุธยานั่นเอง
[แก้ไข] สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ในสมัยนี้ เมื่อบ้านเมืองได้ผ่านพ้นจากภาวะศึกสงคราม และได้มีการก่อสร้างเมืองให้มั่นคงเป็นปึกแผ่น เกิดความ สงบร่มเย็น โดยทั่วไปแล้ว ศิลป วัฒนธรรม ของชาติ ก็ได้รับการฟื้นฟูทะนุบำรุง และส่งเสริมให้เจริญรุ่งเรืองขึ้น โดยเฉพาะ ทางด้าน ดนตรีไทย ในสมัยนี้ได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงเจริญขึ้นเป็นลำดับ ดังต่อไปนี้ คือ
สมัยรัชกาลที่ 1 ดนตรีไทย ในสมัยนี้ส่วนใหญ่ ยังคงมีลักษณะ และ รูปแบบตามที่มีมาตั้งแต่ สมัยกรุงศรีอยุธยา ที่พัฒนาขึ้นบ้างในสมัยนี้ก็คือ การเพิ่ม กลองทัด ขึ้นอีก 1 ลูก ใน วงปี่พาทย์ ซึ่ง แต่เดิมมา มีแค่ 1 ลูก พอมาถึง สมัยรัชกาลที่ 1 วงปี่พาทย์ มี กลองทัด 2 ลูก เสียงสูง (ตัวผู้) ลูกหนึ่ง และ เสียงต่ำ (ตัวเมีย) ลูกหนึ่ง และการใช้ กลองทัด 2 ลูก ในวงปี่พาทย์ ก็เป็นที่นิยมกันมา จนกระทั่งปัจจุบันนี้
สมัยรัชกาลที่ 2 อาจกล่าวว่าในสมัยนี้ เป็นยุคทองของ ดนตรีไทย ยุคหนึ่ง ทั้งนี้เพราะ องค์พระมหากษัตริย์ ทรงสนพระทัย ดนตรีไทย เป็นอย่างยิ่ง พระองค์ทรงพระปรีชาสามารถ ในทาง ดนตรีไทย ถึงขนาดที่ ทรงดนตรีไทย คือ ซอสามสาย ได้ มีซอคู่พระหัตถ์ชื่อว่า "ซอสายฟ้าฟาด" ทั้งพระองค์ได้ พระราชนิพนต์ เพลงไทย ขึ้นเพลงหนึ่ง เป็นเพลงที่ไพเราะ และอมตะ มาจนบัดนี้นั่นก็คือเพลง "บุหลันลอยเลื่อน"
การพัฒนา เปลี่ยนแปลงของ ดนตรีไทย ในสมัยนี้ก็คือ ได้มีการนำเอา วงปี่พาทย์มาบรรเลง ประกอบการขับเสภา เป็นครั้งแรก นอกจากนี้ ยังมีกลองชนิดหนึ่งเกิดขึ้น โดยดัดแปลงจาก "เปิงมาง" ของมอญ ต่อมาเรียกกลองชนิดนี้ว่า "สองหน้า" ใช้ตีกำกับจังหวะแทนเสียงตะโพนในวงปี่พาทย์ ประกอบการขับเสภา เนื่องจากเห็นว่าตะโพนดังเกินไป จนกระทั่งกลบเสียงขับ กลองสองหน้านี้ ปัจจุบันนิยมใช้ตีกำกับจังหวะหน้าทับ ในวงปี่พาทย์ไม้แข็ง
สมัยรัชกาลที่ 3 วงปี่พาทย์ได้พัฒนาขึ้นเป็นวงปี่พาทย์เครื่องคู่ เพราะได้มีการประดิษฐ์ระนาดทุ้ม มาคู่กับระนาดเอก และประดิษฐ์ฆ้องวงเล็กมาคู่กับ ฆ้องวงใหญ่
[แก้ไข] วงดนตรีไทย

ดนตรีไทยมักเล่นเป็นวงดนตรี มีการแบ่งตามประเภทของการบรรเลงที่เป็นระเบียบมาแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบันเป็น 3 ประเภท คือ
[แก้ไข] วงปี่พาทย์
ประกอบด้วยเครื่องตีเป็นสำคัญ เช่น ฆ้อง กลอง และมีเครื่องเป่าเป็นประธานได้แก่ ปี่ นอกจากนั้นเป็นเครื่อง วงปี่พาทย์ยังแบ่งไปได้อีกคือ วงปี่พาทย์ชาตรี,วงปี่พาทย์ไม้แข็ง,วงปี่พาทย์เครื่องห้า,วงปี่พาทย์เครื่องคู่,วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่,วงปี่พาทย์ไม้นวม,วงปี่พาทย์มอญ,วงปี่พาทย์นางหงส์
[แก้ไข] วงเครื่องสาย
เครื่องสาย ได้แก่ เครื่องดนตรี ที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีที่มีสายเป็นประธาน มีเครื่องเป่า และเครื่องตี เป็นส่วนประกอบ ได้แก่ ซอด้วง ซออู้ จะเข้ เป็นต้น ปัจจุบันวงเครื่องสายมี 4 แบบ คือ วงเครื่องสายไทยเครื่องเดี่ยว,วงเครื่องสายไทยเครื่องคู่,วงเครื่องสายผสม,วงเครื่องสายปี่ชวา
[แก้ไข] วงมโหรี
ในสมัยโบราณเป็นคำเรียกการบรรเลงโดยทั่วไป เช่น "มโหรีเครื่องสาย" "มโหรีปี่พาทย์" ในปัจจุบัน มโหรี ใช้เป็นชื่อเรียกเฉพาะวงบรรเลงอย่างหนึ่งอย่างใดที่มีเครื่อง ดีด สี ตี เป่า มาบรรเลงรวมกันหมด ฉะนั้นวงมโหรีก็คือวงเครื่องสาย และวงปี่พาทย์ ผสมกัน วงมโหรีแบ่งเป็น วงมโหรีเครื่องสี่,วงมโหรีเครื่องหก,วงมโหรีเครื่องเดี่ยว หรือ มโหรีเครื่องเล็ก,วงมโหรีเครื่องคู่
[แก้ไข] เครื่องดนตรีไทย

เครื่องดนตรีไทยแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ ดีด สี ตี เป่า
[แก้ไข] เครื่องตี
กรับ เช่น กรับพวง และ กรับเสภา
ระนาด เช่น ระนาดเอก และ ระนาดทุ้ม
ฆ้อง เช่น ฆ้องมโหรี,ฆ้องมอญ,ฆ้องวงใหญ่ ,ฆ้องวงเล็ก,ฆ้องโหม่ง
ฉาบ
ฉิ่ง
กลอง เช่น กลองแขก,กลองตะโพน,กลองทัด,กลองยาว,ตะโพน,มโหระทึก,โทน,รำมะนา
[แก้ไข] เครื่องสี
ซอด้วง
ซอสามสาย
ซออู้
พิณน้ำเต้า
[แก้ไข] เครื่องดีด
จะเข้
กระจับปี่
[แก้ไข] เครื่องเป่า
ขลุ่ยเพียงออ
ขลุ่ยหลีบ
ปี่
ปี่ชวา
[แก้ไข] เพลงดนตรีไทย

แบ่งได้เป็น 4 แบบคือ
1. เพลงหน้าพาทย์ ได้แก่ เพลงที่บรรเลงประกอบกิริยาเคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทั้งของมนุษย์ ของสัตว์ ของวัตถุต่าง ๆ และอื่น ๆ
2. เพลงรับร้อง ที่เรียกว่าเพลงรับร้องก็ด้วยบรรเลงรับจากการร้อง คือ เมื่อคนร้องได้ร้องจบไปแล้วแต่ละท่อน ดนตรีก็ต้องบรรเลงรับในท่อนนั้น ๆ โดยมากมักเป็นเพลงอัตรา 3 ชั้นและเพลงเถา เช่น เพลงจระเข้หางยาว 3 ชั้น เพลงสี่บท 3 ชั้น และเพลงบุหลันเถา เป็นต้น
3. เพลงละคร หมายถึงเพลงที่บรรเลงประกอบการแสดงโขน ละคร และมหรสพต่าง ๆ ซึ่งหมายเฉพาะเพลงที่มีรัองและดนตรีรับเท่า นั้น เพลงละครได้แก่เพลงอัตรา 2 ชั้น เช่น เพลงเวสสุกรรม เพลงพญาโศก หรือชั้นเดียว เช่น เพลงนาคราช เพลงตะลุ่มโปง เป็นต้น
4. เพลงเบ็ดเตล็ด ได้แก่ เพลงเล็ก ๆ สั้น ๆ สำหรับใช้บรรเลงเป็นพิเศษ เช่น บรรเลงต่อท้ายเพลงใหญ่เป็นเพลงลูกบท หรือเพลงภาษา ต่าง ๆ ซึ่งบรรเลงเพื่อสนุกสนาน
[แก้ไข] การบรรเลงดนตรีไทย

การบรรเลงดนตรีไทยนั้น ผู้บรรเลงต้องจำทำนองเนื้อเพลงได้อย่างแม่นยำอย่างหนึ่ง รู้วิธีบรรเลงและหน้าที่ของ เครื่องดนตรีที่ตนบรรเลง เช่น ระนาดเอก ระนาดทุ้มว่ามีอย่างไร และมีสติปัญญาแต่งทำนองให้เกิดความไพเราะอีกอย่างหนึ่งเพราะการ บรรเลงดนตรีไทยไม่ได้ดูโน๊ต จึงต้องใช้ความจำ ในขณะที่บรรเลง ผู้บรรเลงจะต้องแต่งทำนองด้วยปัญญาของตน ให้ดำเนินไปตาม วิธีการบรรเลงเครื่องดนตรีที่ตนบรรเลง เช่น ระนาดเอก ก็ต้องเก็บถี่ ๆ ตีเป็นคู่ 8 พร้อม ๆ กันทั้งสองมือ และต้องไม่ให้ผ ิด ไปจากเนื้อเพลงของเพลงนั้นด้วย
[แก้ไข] การบรรเลงดนตรีไทยประกอบงาน

การที่จะมี่ดนตรีบรรเลงประกอบในงาน ที่จะจัดให้มีขึ้นนั้น ก็ควรจะยึดถือแบบแผนที่สมัยโบราณได้เคย ใช้กันมาจนเป็นประเพณีไปแล้ว คือ
งานที่มีพระสงฆ์สวดมนต์และฉันอาหาร ควรใช้วงปี่พาทย์ จะเป็นวงปี่พาทย์เครื่องห้า เครื่องคู่ หรือเครื่องใหญ่ ก็แล้วแต่เห็นสมควร
งานแต่งงาน หรือที่เรียกกันว่างานมงคลสมรส ควรใช้วงมโหรีหรือวงเครื่องสาย
งานศพ ถ้าจะใช้ดนตรีไทย ควรใช้วงปี่พาทย์นางหงส์
งานพิเศษที่จัดขึ้นเฉพาะครั้งคราว เช่น รับแขกผู้มีเกียรติ ชุมนุมเพื่อกิจการหรือสมาคมอาจใช้วงปี่พาทย์ไม้นวม หรือ มโหรี หรือเครื่องสาย ก็ได้ทั้งนั้น แล้วแต่เจ้าของงานจะพอใจ
[แก้ไข] ลีลาดนตรีไทย

ลีลาเครื่องดนตรีไทย หมายถึงท่วงท่าหรือท่วงทำนองที่เครื่องดนตรีต่างๆได้บรรเลงออกมา สำหรับลีลาของเครื่องดนตรีไทยแต่ละเครื่องที่เล่นเป็นเพลงออกมา บ่งบอกถึงคุณลักษณะและพื้นฐานอารมณ์ที่จากตัวผู้เล่น เนื่องมาจากลีลาหนทางของดนตรีไทยนั้นไม่ได้กำหนดกฏเกณฑ์ไว้ตายตัวเหมือนกับดนตรีตะวันตก หากแต่มาจากลีลาซึ่งผู้บรรเลงคิดแต่งออกมาในขณะเล่น เพราะฉะนั้นในการบรรเลงแต่ละครั้งจึงอาจมีทำนองไม่ซ้ำกัน แต่ยังมี ความไพเราะและความสอดคล้องกับเครื่องดนตรีอื่นๆอยู่
ลักษณะเช่นนี้ได้อิทธิพลมาตั้งแต่สมัยโบราณ ที่มี"กฎเกณฑ์" อยู่ที่การวาง "กลอน" ลงไปใน "ทำนองหลัก" ในที่นี้ หมายถึงในเพลงไทยเดิมนั้นเริ่มต้นด้วย "เนื้อเพลงแท้ๆ" อันหมายถึง "เสียงลูกตก" ก่อนที่จะปรับปรุงขึ้นเป็น "ทำนองหลัก" หรือที่เรียกว่า "เนื้อฆ้อง" อีกชั้นหนึ่ง ซึ่งในชั้นเนื้อฆ้องนี้ส่วนใหญ่จะยังคงเป็นทำนองห่างๆ ยังไม่มีความซับซ้อนมาก แต่ยังกำหนดลักษณะในการเล่นไว้ให้ผู้บรรเลงแต่ละคนได้บรรเลงด้วยลีลาเฉพาะของตนในกรอบนั้นๆ โดยลีลาที่กล่าวมาก็หมายถึง "กลอน" หรือ "หนทาง" ต่างๆที่บรรเลงไปนั่นเอง

การใช่ไฟฟ้าในบ้าน


สถานที่ที่ขอใช้ไฟฟ้า ต้องมีบ้านเลขที่และหรือมีสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอใช้ไฟฟ้ามาแสดง สถานที่ติดต่อขอใช้ไฟฟ้า ติดต่อขอแบบฟอร์มคำร้องขอใช้ไฟฟ้าได้ที่สำนักงานการไฟฟ้าฯทุกแห่ง กรอกแบบฟอร์มให้ถูกต้องแล้วยื่นแบบฟอร์มที่
สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในท้องที่ที่ขอใช้ไฟฟ้า
หลักฐานที่จะต้องนำมาแสดง1. บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวข้าราชการหรือบัตรประจำตัวพนักงานองค์การของรัฐ 2. สำเนาทะเบียนบ้านที่จะขอใช้ไฟฟ้า 3. ในกรณีที่ผู้ขอใช้ไฟฟ้าเดินสายและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในอาคารเอง ถ้ามีจำนวนดวงโคมเต้ารับและ เครื่องไฟฟ้าที่ติดตั้งไว้แล้ว และ ที่ติดตั้งใหม่รวมกันเกินกว่า 20 จุด (หนึ่งจุดเท่ากับดวงโคม 1 ชุด หรือเต้ารับ 1 ชุด) หรือใช้ไฟฟ้าเกินกว่า 5 กิโลวัตต์ จะต้องส่งแผนผังการเดินสาย และ ติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าขนาดมาตราส่วนไม่เกิน 1:100 จำนวน 2 ชุด เพื่อใช้ประกอบในการตรวจสอบแผนผังการเดินสายนี้ ผู้ขอใช้ไฟฟ้าจะจ้าง การไฟฟ้าฯจัดทำให้ก็ได้ 4. ผู้ขอใช้ไฟฟ้าอาจจะมอบให้ผู้อื่นไปทำการแทนได้โดยทำหนังสือมอบอำนาจซึ่งมีผู้ลงนามเป็นพยาน 2 คนและปิดอากรแสตมป์ 10 บาท ผู้รับมอบอำนาจ ต้องนำหลักฐานตามข้อ 1-3 ของผู้มอบอำนาจไปแสดงพร้อมหลักฐาน ตามข้อ 1 ของผู้รับมอบอำนาจเองด้วย
ขั้นตอนการขอใช้ไฟฟ้า
เมื่อการไฟฟ้าฯได้รับคำร้อง และมีหลักฐานดังกล่าวข้างต้นเรียบร้อยแล้ว การไฟฟ้าฯจะส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบ การเดินสายภายในอาคาร
เมื่อการไฟฟ้าฯได้ทำการตรวจสอบแล้วหากการเดินสายหรือการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าไม่ถูกต้องและ ไม่ปลอดภัย การไฟฟ้าฯจะให้คำแนะนำ เพื่อแก้ไขให้ถูกต้อง และเมื่อตรวจสอบถูกต้องแล้ว จะแจ้งให้ผู้ใช้ไฟฟ้า ทราบ เพื่อชำระค่าธรรมเนียม
ในกรณีที่ผู้ขอใช้ไฟฟ้ายังไม่ได้ติดตั้งสายภายในอาคารเมื่อติดตั้งสายภายในอาคารเรียบร้อยแล้ว ขอให้แจ้งการไฟฟ้าฯทราบอีกครั้ง เพื่อดำเนินการตรวจสอบให้ต่อไป
เมื่อตรวจสอบถูกต้องเรียบร้อยแล้ว โปรดชำระเงินค่าธรรมเนียมที่การไฟฟ้าฯที่ท่านขอใช้ไฟฟ้า และโปรดรับใบเสร็จรับเงิน จากเจ้าหน้าที่เก็บไว้ เป็นหลักฐานต่อไปด้วย ค่าธรรมเนียมการใช้ไฟฟ้า ในการขอใช้ไฟฟ้า ผู้ขอใช้ไฟฟ้าจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการใช้ไฟฟ้าตามที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ กำหนดอัตราไว้ตามชนิด และขนาดของมิเตอร์ที่ขอติดตั้ง โดยสอบถามรายละเอียด ที่สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ทุกแห่ง ดังนี้ 1. ค่าธรรมเนียมต่อไฟ 2. ค่าตรวจสอบการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในอาคาร 3. ค่าส่วนเฉลี่ยการใช้พลังไฟฟ้า 4. เงินประกันการใช้ไฟฟ้า 5. ค่าอุปกรณ์ไฟฟ้าหลังมิเตอร์(ถ้ามี)
การชำระค่าไฟฟ้าและการตรวจสอบมิเตอร์ 1. การอ่านมิเตอร์ การไฟฟ้าฯจะอ่านหน่วยในมิเตอร์ตามระเบียบของการไฟฟ้าฯ2. การชำระค่าไฟฟ้า ผู้ใช้ไฟฟ้าจะต้องชำระค่าไฟฟ้าเมื่อพนักงานเก็บเงินไปเรียกเก็บจากท่าน ถ้าไม่ได้รับชำระพนักงานเก็บเงิน จะมอบใบเตือนให้ผู้ใช้ไฟฟ้า นำเงินไปชำระที่สำนักงานการไฟฟ้าฯในเขตที่ท่านอยู่ ถ้าครบกำหนดในใบเตือนแล้วยังมิได้ชำระเงิน การไฟฟ้าฯจะงดจ่ายไฟฟ้าเป็นการชั่วคราว ถ้าผู้ใช้ไฟฟ้ามีความประสงค์ จะให้การไฟฟ้าฯเก็บเงินค่าไฟฟ้าประจำเดือน ณ สถานที่อื่นที่สะดวกต่อการชำระเงิน ควรปฏิบัติ ดังนี้
2.1
แจ้งทางโทรศัพท์ไปที่การไฟฟ้าฯ
2.2
ติดต่อด้วยตนเองที่การไฟฟ้าฯ
2.3
มีหนังสือแจ้งต่อผู้จัดการไฟฟ้าฯ อนึ่ง การไฟฟ้าฯได้เปิดบริการชำระค่าไฟฟ้า โดยวิธีหักบัญชีเงินฝากธนาคาร ขอให้สอบถามระเบียบการได้จากสำนักงานการไฟฟ้าฯทุกแห่ง 3. การตรวจสอบมิเตอร์ตามที่ผู้ใช้ไฟฟ้าร้องขอ ผู้ใช้ไฟฟ้ารายใด ที่สงสัยว่ามิเตอร์คลาดเคลื่อน มีสิทธิที่จะร้องขอให้การไฟฟ้าฯ ทำการทดสอบมิเตอร์ดังกล่าวได้ โดยการไฟฟ้าฯจะทดสอบติดตั้งมิเตอร์เปรียบเทียบ เป็นเวลา 24 ชั่วโมง หรือนำมิเตอร์ไปตรวจสอบที่กองมิเตอร์ และจะถือผลการทดสอบมิเตอร์ที่คลาดเคลื่อนไม่เกิน 2.5%ถือว่ามิเตอร์นั้นถูกต้อง การไฟฟ้าฯจะคิดค่าใช้จ่ายในการทดสอบตามระเบียบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ถ้าผลการทดสอบคลาดเคลื่อนแสดงค่าเกิน 2.5 % การไฟฟ้าฯจะเปลี่ยนมิเตอร์ให้ใหม่ และไม่คิดค่าทดสอบมิเตอร์ กับทั้งจะปรับปรุงเพิ่ม หรือลดหนี้สินส่วนที่คลาดเคลื่อน กับค่าไฟฟ้าในเดือนถัดไป
การย้ายมิเตอร์
ผู้ใช้ไฟฟ้าจะต้องนำหลักฐานดังต่อไปนี้แสดงต่อพนักงานไฟฟ้าในท้องที่ที่จะขอย้าย คือ
ใบเสร็จค่าประกันการใช้ไฟฟ้า
ใบเสร็จค่าไฟฟ้าครั้งสุดท้าย
บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวข้าราชการหรือบัตรประจำตัวพนักงานองค์การของรัฐ
ทะเบียนบ้านที่จะย้ายมิเตอร์ไป
การเพิ่มขนาดมิเตอร์
ถ้าผู้ใช้ไฟฟ้าติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มขึ้นจากที่มีอยู่เดิม ต้องไปแจ้งการไฟฟ้าฯเพื่อมาตรวจสอบเพิ่มขนาดมิเตอร์ โดยผู้ใช้ไฟฟ้าจะต้องนำหลักฐานไปแสดงเมื่อจะขอเพิ่มขนาดมิเตอร์ ดังนี้
ใบเสร็จค่าประกันการใช้ไฟฟ้า
ใบเสร็จค่าไฟฟ้าครั้งสุดท้าย
บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวข้าราชการหรือบัตรประจำตัวพนักงานองค์การของรัฐ
การโอนชื่อผู้ใช้ไฟฟ้า
การโอนชื่ออาจมีได้ในกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังต่อไปนี้
มีการซื้อขายบ้านที่ติดตั้งการใช้ไฟฟ้านั้น
ผู้ขอใช้ไฟฟ้าเดิมถึงแก่ความตาย
อื่นๆเช่นการโอนระหว่างผู้ให้เช่ากับผู้เช่าหรือผู้เช่ากับผู้เช่าช่วง เป็นต้น การโอนชื่อผู้ใช้ไฟฟ้าคู่กรณีต้องนำหลักฐานดังต่อไปนี้มาแสดงด้วยคือ
3.1
บัตรประจำตัวของผู้โอนและผู้รับโอน(ยกเว้นการโอนตามข้อ 2 ไม่ต้องแสดงบัตรประจำตัว ของผู้โอน)
3.2
สำเนาทะเบียนบ้านที่ติดตั้งการใช้ไฟฟ้าของผู้รับโอน
3.3
สำเนาใบมรณบัตรของผู้ใช้ไฟฟ้าเดิม(ใช้สำหรับกรณีผู้ขอใช้ไฟฟ้าเดิมถึงแก่ความตาย)
3.4
สำเนาสัญญาซื้อขาย(ใช้สำหรับกรณีที่มีการซื้อขายบ้าน)
3.5
ใบเสร็จค่าไฟฟ้าครั้งสุดท้ายของผู้โอน
3.6
ใบเสร็จรับเงินค่าประกันการใช้ไฟฟ้า
3.7
หลักฐานอื่นๆที่จำเป็นสำหรับค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการย้ายมิเตอร์ การเพิ่มขนาดมิเตอร์ และการโอนชื่อผู้ใช้ไฟฟ้าพนักงานการไฟฟ้าฯ จะชี้แจงรายละเอียดต่อท่านเมื่อนำหลักฐานไปติดต่อแจ้งความประสงค์
การเลิกใช้ไฟฟ้า
หลักฐานที่จะต้องนำไปแสดงเพื่อขอรับเงินค่าประกันการไฟฟ้าคืน
บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวข้าราชการหรือบัตรประจำตัวพนักงานองค์การของรัฐ
ใบเสร็จค่าประกันการใช้ไฟฟ้า
ใบเสร็จค่าไฟฟ้าครั้งสุดท้าย ผู้ใช้ไฟฟ้าอาจจะมอบให้ผู้อื่นไปทำการแทนได้ โดยทำหนังสือมอบอำนาจซี่งมีผู้ลงนามเป็นพยาน 2 คน และปิดอากรแสตมป์ 10 บาท ผู้รับมอบอำนาจจะต้องนำหลักฐานตามข้อ 1-3 ของผู้มอบอำนาจไปแสดงพร้อมหลักฐาน ตามข้อ 1ของผู้รับมอบอำนาจเองด้วย เมื่อท่านนำหลักฐานดังกล่าวไปแสดงต่อการไฟฟ้าฯ ในท้องที่ของท่านและเขียนคำร้องขอเลิกใช้ไฟฟ้า การไฟฟ้าฯจะตรวจสอบหลักฐานว่าท่านยังเป็นหนี้ค่าไฟฟ้าและภาระผูกพันอื่นๆอยู่อีกหรือไม่แล้วจึงคืนค่าประกันการใช้ไฟฟ้าให้แก่ท่าน การปฏิบัติผิดระเบียบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
เมื่อผู้ใช้ไฟฟ้าปฏิบัติผิดระเบียบข้อบังคับของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การไฟฟ้าฯจะไม่จ่ายหรืองดจ่ายไฟฟ้าให้ผู้ใช้ไฟฟ้าในกรณีต่อไปนี้
การเดินสายไฟฟ้าและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในและหรือภายนอก ยังไม่เรียบร้อยถูกต้องตามมาตรฐาน
ไม่ชำระเงินตามกำหนดในใบเตือน
ยินยอมให้ผู้อื่นต่อพ่วงไฟฟ้าไปใช้สถานที่อื่นนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในคำร้องขอใช้ไฟฟ้า
ละเมิดการใช้ไฟฟ้าหรือกระทำการใดๆให้การไฟฟ้าฯได้รับความเสียหายและไม่ยินยอมชดใช้ค่าเสียหาย ตามที่การไฟฟ้าฯได้เรียกเก็บ
กระทำการอันอาจจะทำให้เกิดเหตุขัดข้องหรืออาจเกิดอันตรายหรือการใช้ไฟฟ้าที่รบกวนผู้ใช้ไฟฟ้ารายอื่น ในกรณีที่มีการงดจ่ายไฟฟ้าการไฟฟ้าฯจะจ่ายไฟฟ้าให้ใหม่ต่อเมื่อผู้ใช้ไฟฟ้าได้ชำระเงินส่วนที่ค้างหรือชำระ ค่าเสียหายให้แก่การไฟฟ้าฯแล้วและต้องชำระค่าธรรมเนียมรวมทั้งค่าบริการต่างๆตามอัตราที่การไฟฟ้าฯกำหนดไว้ การละเมิดการใช้ไฟฟ้าเช่นการต่อไฟฟ้าตรงโดยไม่ผ่านมิเตอร์ตลอดจนการกระทำใดๆที่ทำให้มิเตอร์วัดค่าผิด ไปจากที่ใช้ไฟฟ้าจริงฯลฯจะมีความผิดต้องถูกดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญา ข้อหาลักทรัพย์และทำให้เสียทรัพย์มีโทษทั้งปรับและจำคุก การไฟฟ้าฯไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายซึ่งเกิดจากไฟฟ้าขัดข้องหรือต้องหยุดจ่ายไฟฟ้าเพราะความจำเป็นหรืองดจ่ายไฟฟ้าด้งกล่าวข้างต้น การแจ้งกระแสไฟฟ้าขัดข้อง เมื่อผู้ใช้ไฟฟ้าเกิดปัญหาในเรื่องระบบไฟฟ้าขัดข้องภายในหรือภายนอกอาคารของท่าน ซี่งท่านไม่สามารถดำเนินการแก้ไขเองได้ กรุณาติดต่อได้ที่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในท้องที่ที่ท่านอยู่ ซี่งจะมีพนักงานช่างของการไฟฟ้าฯประจำ อยู่ตลอด 24 ชั่วโมง การอ่านหน่วยมิเตอร์สำหรับผู้ใช้ไฟประเภทที่อยู่อาศัย และใช้ไฟสม่ำเสมอ

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจะทำการอ่านหน่วยในมิเตอร์สำหรับผู้ใช้ไฟประเภทที่อยู่อาศัยและใช้ไฟสม่ำเสมอ2เดือนครั้งในเดือนที่เว้นการจดหน่วยจะใช้วิธีเฉลี่ยหน่วยการใช้ไฟของผู้ใช้ไฟที่ผ่านมา2 เดือนหากหน่วยที่นำมาเฉลี่ยคิดค่าไฟในเดือนที่เว้นการจดหน่วยสูงหรือต่ำกว่าหน่วยที่ใช้จริง การไฟฟ้าฯจะปรับปรุงให้ถูกต้องในเดือนถัดไป ซึ่งเป็นเดือนที่ทำการจดหน่วย
ตัวอย่างเช่น
นาย ก. เริ่มต้นใช้ไฟในเดือนกุมภาพันธ์ 2537 ในเดือนมีนาคม 2537 เลขที่อ่านได้ 0050 เท่ากับ 50 หน่วย ในเดือนเมษายนเลขที่อ่านได้ 0096 หน่วย หน่วยการใช้ไฟในเดือนมีนาคมเท่ากับ 0096 - 0050 เท่ากับ 46 หน่วย ในเดือน เมษายน การไฟฟ้าฯจะเว้นการจดหน่วย แต่จะคิดค่าไฟฟ้า 48 หน่วย โดยวิธีนำหน่วยของเดือนกุมภาพันธ์ มารวมกับเดือน มีนาคม และหารด้วย 2 {(50+46)/2=48หน่วย}ในเดือนมิถุนายนทำการจดหน่วยได้0191หน่วย การไฟฟ้าฯจะคิดค่าไฟฟ้าจากผู้ใช้ไฟ โดยการนำหน่วยของเดือนเมษายนมาหักออกดังนี้ 0191 - 0096 เท่ากับ 95 และหักด้วยหน่วยเฉลี่ย ของเดือนพฤษภาคมอีก 48 หน่วย ดังนั้นหน่วยเดือนมิถุนายน เท่ากับ95-48=47หน่วยสำหรับผู้ใช้ไฟที่ใช้ไฟสม่ำเสมอจะไม่เกิดผลได้ หรือผลเสียแต่อย่างใด เนื่องจากในเดือนที่จดหน่วย การไฟฟ้าฯจะปรับปรุงหน่วยให้ถูกต้อง ดังนั้นหากท่านใช้ไฟเดือนใดมากน้อยกว่าที่ใช้เป็นปกติ เช่นมีการฉายภาพยนตร์หรือจัดงานเลี้ยง หรืองดการปั๊มน้ำ ได้โปรดแจ้งพนักงานเก็บเงินหรือตัวแทนเก็บเงินทราบ เพื่อการไฟฟ้าฯจะทำการจดหน่วยการใช้ไฟของท่านให้ถูกต้องในเดือนต่อไป หากท่านสงสัยเกี่ยวกับการจดหน่วย 2เดือนครั้งโปรดติดต่อสอบถามได้ จากพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ตัวแทนเก็บเงิน หรือสำนักงานการไฟฟ้าในท้องถิ่นของท่าน
ข้อควรระวังและข้อเตือนใจ
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้รับคำร้องเรียนจากผู้ใช้ไฟฟ้าและผู้ขอใช้ไฟฟ้าเสมอว่า มีบุคคลภายนอกอ้างตนเป็นพนักงานการไฟฟ้าฯไปหลอกลวงผู้ใช้ไฟฟ้าให้หลงเชื่อว่า เมื่อให้บุคคลผู้นั้นดำเนินการใดๆเกี่ยวกับการ ขอใช้ไฟฟ้า การเดินสายไฟฟ้าและรวมทั้งการติดตั้งมิเตอร์โดยขอรับผลประโยชน์ตอบแทนและผู้ใช้ไฟฟ้าไม่ต้อง ไปติดต่อที่สำนักงานการไฟฟ้าฯในท้องที่ที่ท่านอยู่เลยนั้นขอจงอย่าเชื่อโปรดไปติดต่อที่สำนักงานการไฟฟ้าฯโดยตรง ฉะนั้นถ้าปรากฏว่ามีบุคคลใดแอบอ้างเป็นพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมารับดำเนินการใดๆโดยขอรับ ผลประโยชน์ตอบแทนแล้วขอให้แจ้งผู้บังคับบัญชาของการไฟฟ้าฯในท้องที่ที่ท่านอยู่ทันที จะเป็นพระคุณยิ่ง
การชำระค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมใดๆผู้ใช้ไฟฟ้าจะต้องรับใบเสร็จรับเงินของการไฟฟ้าฯจากผู้รับเงิน ไว้เป็นหลักฐานทุกครั้ง ผู้ใช้ไฟฟ้าที่ใช้ไฟฟ้าอยู่แล้ว เมื่อจะมาติดต่อเกี่ยวกับการใช้ไฟฟ้าโปรดนำใบเสร็จรับเงินไปแสดงด้วยทุกครั้ง
คำเตือน
ด้วยปรากฏว่าปัจจุบันมีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลทำการติดต่อกับสถานประกอบธุรกิจ และโรงงานอุตสาหกรรม ในเขตจำหน่ายของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เพื่อรับจ้างดัดแปลงหรือแก้ไขมิเตอร์ หรืออุปกรณ์ประกอบให้หน่วยลดลง เพื่อให้เสียค่าไฟฟ้าน้อยด้วยวิธีต่างๆและดิดค่าจ้างต่อครั้งหรือตลอดไป ในการนี้มีสถานประกอบธุรกิจ และโรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่งหลงเชื่อยินยอมจ้างวาน โดยเข้าใจว่าจะได้รับประโยชน์ จากการกระทำดังกล่าว การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ใคร่ขอเรียนชี้แจงว่า การจ้างวานให้ดัดแปลง หรือแก้ไขมิเตอร์ หรืออุปกรณ์ประกอบ มิได้ก่อประโยชน์ให้กับกิจการของท่านแต่ประการใด แต่กลับทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่าย เกี่ยวกับค่าไฟฟ้ามากกว่าที่ควร เพราะนอกจากเสียค่าจ้างวานให้กระทำการแล้วยังต้องชดใช้ค่าละเมิดการใช้ไฟฟ้า หรือค่าเสียหายหรือชำระค่าไฟฟ้า เพิ่มตามที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเรียกร้อง จึงขอเรียนเตือนว่า อย่าให้ความร่วมมือกับบุคคล หรือกลุ่มบุคคลดังกล่าว เพราะเป็นการกระทำที่ผิดกฏหมาย ทั้งผู้จ้างวานและผู้รับจ้าง เท่ากับเป็นการลักทรัพย์ และทำให้เสียทรัพย์ของการไฟฟ้า ส่วนภูมิภาค ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ จะต้องถูกดำเนินคดีฟ้องร้องทั้งทางแพ่ง และทางอาญา กับทั้งยังต้องถูกงดจ่ายไฟฟ้า เป็นการก่อให้เกิดความเดือดร้อน ต่อการประกอบกิจการ ดังนั้นใคร่ขอความร่วมมือมายังท่าน หากบุคคลหรือกลุ่มบุคคล ใดมาติดต่อรับจ้างดัดแปลงหรือแก้ไขมิเตอร์หรืออุปกรณ์ประกอบ โปรดแจ้งให้สำนักงานการไฟฟ้าฯในท้องที่ของท่าน ทราบทันที ทั้งนี้ เพื่อเป็นการช่วยกันรักษาผลประโยชน์และทรัพย์สินของทางราชการ และสำหรับบุคคล หรือกลุ่มบุคคล อ้างตนเป็นพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค มาติดต่อ ขอให้ท่านตรวจสอบหนังสือนำตัวในการเข้ามาตรวจสอบมิเตอร์หรือ บัตรประจำตัวพนักงานองค์การของรัฐและจดเลขที่ บัตรชื่อ-สกุลไว้ ก่อนที่จะให้เข้าทำการตรวจสอบมิเตอร์เพื่อป้องกันการ กล่าวอ้าง

ประวัตสมุนไพร


การศึกษา การแพทย์สมัยก่อน เป็นการเรียนรู้ และการถ่ายทอด ภายในตระกูล โดยการถ่ายทอดขึ้นอยู่กับลักษณะ ความสัมพันธ์ ระหว่างผู้ถ่ายทอด กับผู้ที่ได้รับ เช่น ป้า น้า อา หรือ ผู้ใกล้ชิดที่สุด ในสมัยรัตนโกสินทร์ ตอนต้น จะพบว่า การถ่ายทอด วิชาในลักษณะดังกล่าว ชัดเจนมาก เป็นการ สืบทอดวิชา กรมหลวงวงษาธิราชสนิท เป็นแพทย์หลวง และทรงกำกับ กรมหมอ ผู้สืบทอด กรมหลวงวงษาธิราชสนิท คือ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ ต่อมาได้รับตำแหน่ง เป็นผู้บัญชาการ กรมหมอ และเป็นแพทย์ ประจำพระองค์ ของรัชกาลที่ 5 ด้วย ผู้ที่ได้รับการถ่ายทอดโดยการบอกเล่า ถึง สรรพคุณ และตำนาน ของพืช สมุนไพร บางชนิด ในเวลาต่อมา คือ ท่านเจ้าคุณ สีหศักดิ์สนทวงศ์ ผู้เป็นหลานตา นอกจากนี้ กรมขุนวรจักร ธรานุภาพ เป็นพระราชโอรส ในรัชกาลที่ 2 ทรงเป็นแพทย์หลวงในราชสำนัก และทรง เป็นต้นตระกูลปราโมช ผู้ที่ได้รับการสืบทอดวิชาแพทย์แผนไทยต่อมา คือ หม่อมเจ้ากำมสิทธิ์ แต่หม่อมเจ้า กำมสิทธิ์ ไม่ได้รับราชการเป็นหมอหลวง จึงทรงเป็นแพทย์เชลยศักดิ์เท่านั้น ส่วนพระยา อมรศาสตร์ประสิทธิ์ แพทย์หลวงใน สมัย รัชกาลที่ 5 ได้สืบทอดวิชา ให้แก่ หลวง กุมารประเสริฐ ต่อมาได้เป็นแพทย์หลวง ในสมัยรัชกาล ที่ 6
การถ่ายทอดวิชาความรู้ ระหว่างครูกับลูกศิษย์ โดยครูจะช่วยแนะนำสั่งสอน และฝึกฝน จนชำนาญ ซึ่งศิษย์ จะต้อง หมั่นสังเกต และจดจำ ตัวยา วิธีการรักษาไว้ ให้แม่นยำ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระราชโอรสในรัชกาลที่ 5 ทรงศึกษา แพทย์แผนไทย กับพระยา พิศนุประสาทเวช ต่อมาเป็นหัวหน้าหมอหลวง รัชกาลที่ 6 พระองค์ และยังได้ศึกษาแพทย์แผนไทย กับพระสงฆ์ ที่มีชื่อเสียงสมัยนั้น นั่นคือ หลวงปู่ศุข วัดมะขาม และ พระสงฆ์ อื่นๆอีกมากมาย เป็นหมอที่ มีความ เชี่ยวชาญมาก ชาวบ้านรู้จักในนามของ หมอพร พระองค์มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักดี ในวงการแพทย์แผนไทย เพราะไม่เพียง แต่ พระองค์ จะ รักษาโรคให้หายได้อย่างชะงัดแล้ว พระองค์ ยังเป็นแพทย์แผนไทย ที่มีความคิริเริ่ม และทันสมัย เช่น รู้จัก วิเคราะห์ ตัวยา ที่ปรากฏในตำรา จนมีความเชี่ยวชาญ และสามารถ ใช้รักษาผู้ป่วย ได้ผล เป็นที่น่าพอใจ ยิ่งไปกว่านั้น พระองค์ ยังมีความ ชำนาญ มาก จน ทรงชำระคัมภีร์อติสาระวรรค ( ว่าด้วยโรคลำไส้) ได้
การศึกษาวิชาแพทย์ จะถ่ายทอดภายในตระกูล จะสอนแต่เฉพาะ ลูกหลาน เป็นส่วนใหญ่ มีส่วนน้อยที่เป็นคนอื่น เนื่องจาก การรับใคร เป็นศิษย์ ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เพราะครูต้องใช้ความสังเกตุพิจารณา ในเรื่องของนิสัยใจคอ และ ความ อดทน หากพบว่า ลูกหลาน หรือศิษย์คนใด สมควรจะรับ สืบทอดวิชาความรู้ ได้มากน้อย แต่ไหน จึงเป็นที่รู้กันว่า ในสมัยก่อนศิษย์ จะมี ความปรีชาสามารถ สืบเนื่องมาจากครู
วิธีการถ่ายทอดความรู้ทางการแพทย์แผนไทย วิธีการถ่ายทอดความรู้ ทางการแพทย์แผนไทย เป็นลักษณะ ปากต่อปาก แล้วท่องจำ และ ต้องอาศัย ประสบการณ์ ที่ใช้ การสังเกต จดจำให้ขึ้นใจ การศึกษา วิชาแพทย์จึงไม่ใช่ของง่าย ต้องอาศัยความมะนะ บากบั่น พากเพียร และอดทน เป็น เวลาแรมปี เพื่อจะได้ จดจำ คำสั่งสอน ได้แม่นยำ โดยครูจะสอนวิธีการตรวจรักษาคนไข้ สอนวิธีปรุงยา โดยเริ่มจาก สอน ให้รู้จักสิ่งต่างๆ ที่ใช้เป็นส่วนประกอบของยา ทั้งที่เป็นพืชวัตถุ และธาตุวัตถุ ศิษย์จะต้องทำตัว ใกล้ชิด คอยสนใจ ปรนนิบัติ และ ติดตาม ถามไถ่ เวลาที่ครู ออกไปรักษาคนไข้ นอกสถานที่ ต้องคอยติดตาม เพื่อจะได้เรียนรู้ และหาความชำนาญ จากการ สังเกต อาการของคนไข้ โดยครูจะอธิบาย ให้รู้ถึง ที่ตั้งแรกเกิดของโรค ชื่อของโรค และยาสำหรับ บำบัดโรค ต้องให้ แม่นยำ
จวบจนสมัยที่มีตัวอักษรใช้ จึงมีการจดจารึก ความรู้ไว้ในที่ต่างๆ เช่น แกะไว้ในแผ่นหิน ไม้ หรือโลหะ โดยหวัง ให้วิชาแพทย์ คงอยู่ไม่เสื่อมสูญ สืบทอดมาจนมีการจารึก หรือเขียน ลงในใบลาน และสมุดข่อย เรียกว่า " พระคัมภีร์ หรือพระ ตำรา " ซึ่งมีการคัดลอกต่อๆ กันมา ข้อความในพระคัมภีร์ หรือ ตำราแพทย์ นั้น จะกล่าว และจำแนก ไว้ตามความรู้ ความเชียว ชาญ ของครู ได้แก่ อาการของโรค วิธีรักษา อีกทั้งสรรพคุณยา สมุนไพร ไว้อย่างพร้อมมูล
การแพทย์แผนไทย ผู้เป็นแพทย์สมัยก่อน จะต้อง มีความรู้ ความสามารถ ในการปรุง ยาเอง เพราะฉะนั้น จึง ต้อง เรียนรู้ เกี่ยวกับ พันธุ์ สมุนไพร ตามแต่ครู จะเห็นสมควร โดยในชั้นแรก จะต้อง เรียนรู้ ชนิดของสมุนไพร และคุณสมบัติ ตลอด จนถึงการเก็บรักษา ส่วนพิกัดยา แต่ละชนิด นั้นศิษย์ จะต้องอาศัยการสังเกตุ และจดจำเอาเอง ชั้นที่สอง คือ การศึกษา จากตำรา แพทย์ จะต้องศึกษา จากคัมภีร์ ที่ บอก ลักษณะ อาการของโรค และตำรา คัมภีร์สรรพคุณ ที่ บอกรสยาทั้งปวง คัมภีร์ ที่ต้อง ศึกษา ในเบื้องต้น คือ สมุฎฐานวินิจฉัย ธาตุวินิจฉัย โรคนิทาน ปฐมจินดา มหาโชตรัต ตักกศิลา สาโรช รัตนมาลา ชวตาร ติจรณสังคหะ มุจฉาปักขันธิกา เป็นลำดับ ขั้นสุดท้าย คือ การทำนายโรค ศึกษา โดยตามครู ไปเยี่ยมผู้ป่วย เรียกว่า ถือล่วมยา ต่อมาจะมีความชำนาญ ขึ้นเป็นลำดับ จนรักษาเองได้ จึงถือว่า เรียนจบหลักสูตร และเป็นหมอที่มีครูแล้ว
หลักสูตร ของครูบางคน จะสอนวิชาไสยศาสตร์ ให้ด้วย เรียกว่า ไสยรักษ์ คือการรักษาโรคภัยไข้เจ็บด้วยคาถา อาคม และนับว่า เป็นวิชาแพทย์แผนไทยแขนงหนึ่ง ดังความตอนหนึ่งใน คัมภีร์ ฉันทศาสตร์ ว่า
ผู้ใดจะเรียนรู้ พิเคราะห์ดูผู้อาจารย์ เที่ยงแท้ว่าพิสดาร ทั้งคุณไสยจึงควรเรียน สักแต่เป็นแพทย์ได้ คัมภีร์ไสยไม่จำเนียร ครูนั้นไม่ควรเรียน จำนำตนให้หลงทาง
ยุคก่อนกรุงสุโขทัย
สมัยเชียงแสนตอนต้น หรือสมัยโยนกนาคพันธ์ ประมาณ พ.ศ. 1300 ในรัชสมัย พระเจ้าสิงหนวัติ ซึ่งเป็น พระราช บุตรของพระเจ้ากลาหงส์ แห่งอาณาจักรน่านเจ้า ( มณฑลยูนานประเทศจีน) การแพทย์ของไทย นอกจากจะมีตำรา เดิมแบบ ไทย แท้ ซึ่งประกอบด้วยความเชื่อถือ ดั้งเดิม ของชนท้องถิ่น รวมทั้งสมุนไพร และไสยศาสตร์ แล้ว ยังได้ ความรู้ ผสมผสาน มา จากการแพทย์ อายุรเวท ของอินเดีย ซึ่งขยาย เข้ามา สมัยอาณาจักรลาว ประมาณ พ.ศ.600 โดยเข้ามาพร้อม กับ พระพุทธศาสนา หลักฐานที่ทำให้ เชื่อว่า การแพทย์แผนไทย มีรากฐานมาจาก การแพทย์ของอินเดีย ได้แก่ คัมภีร์แพทย์ ของไทย มักจะมีคำกล่าว สรรเสริญ ท่าน ชีวกโกมารภัจจ์ ในฐานะ ครูแพทย์ และในตำราแพทย์ ส่วนใหญ่ จะอ้างชื่อ ท่าน ชีวกโมารภัจจ์ เป็นผู้เรียบเรียง นอกจากนี้ คำศัพท์ ในคัมภีร์แพทย์ ยังปรากฏภาษาบาลี ซึ่งเป็นภาษาหลักใน พระไตรปิฎก และมี บทสวด ทางศาสนา เป็นจำนวนมากด้วย และยังได้รับอิทธิพลทางการแพทย์จากจีนด้วย เช่นตำรับยา บำรุงหัวใจ และยา อายุวัฒนะ ที่แพทย์ไทย นำมาผสม ด้วยโกฐต่างๆ ได้แก่ กฤษณา กะลำพัก อบเชย ชะเอมเทศ เกสรทั้งเจ็ด อำพันทอง เหล่า นี้ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังได้มีการใช้แร่ธาตุรักษาโรค เช่น ปรอท สารหนู และเหล็ก ส่วนที่ได้มาจากสัตว์วัตถุ เช่นเขากวาง เลือดแรด กระดูก ถุงน้ำดี พร้อมทั้งพฤกษชาติ ที่มีคุณค่าทางยา การแพทย์แผนไทยได้รับ การผสมผสาน กับแพทย์แผนจีน น้อยมาก โดยพิจารณา จากวิธีการ วินิจฉัยโรคที่แตกต่างกัน คือ ในการตรวจคนไข้แพทย์ จีน สมัยก่อน ให้ความสำคัญ กับ การ จับ ชีพจร ในขณะที่ไทยให้ความสำคัญกับอาการป่วยที่ปรากฏมากที่สุด การเต้นของชีพจร เป็นเพียงส่วนประกอบ ที่จะนำมา วินิจฉัยเท่านั้น การตรวจโรคของแพทย์แผนไทย ยังมีการซักประวัติโรคที่เคยเป็นมาก่อน อายุของคนไข้ เวลาที่เริ่มป่วย ตรวจ ความร้อน โดยแตะตัวคนไข้ หรืออังวัดความร้อน ที่หน้า ผาก ตรวจลิ้น ตรวจเปลือกตา ด้านใน และดูผิวพรรณ แล้ว จึงทำนายโรค
สมัยพระนางจามเทวี ( พ.ศ.1204 - 1211 ) จากตำนานพระธาตุลำปางหลวง กล่าวว่า ฤาษีวาสุเทพ กับสุกกทันฤาษี ได้ สร้าง นครหริภุญชัยขึ้น แล้ว เห็นพร้องต้องกันว่า ผู้ชาย จะครองนคร หริภุญชัยได้ไม่นาน ควรให้ผู้หญิงมาครอง จึงได้พร้อม ใจกันอาญเชิญ พระนางจามเทวี ( พระธิดาของเจ้าผู้ครองนคร ละโว้ปุระ หรือเมืองลพบุรี ในปัจจุบัน) จากเมือง ละโว้ ให้มา ครองนครหริภุญชัย ในราว พ.ศ. 1204 พระนางจามเทวี ได้ขอพระราชทาน สิ่งที่ เป็นมงคล จากพระราชบิดาไปด้วย เพื่อ นำ ไป ประกอบ กิจให้เป็นประโยชน์ ทั้งภายในและภายนอก ดังนี้
1. พระมหาเถร ที่ทรงปิฎก ประมาณ 500 องค์ 2. หมู่ปะขาวทั้งหลายที่ตั้งอยู่ในเบญจศีล 500 คน 3. บัณฑิต 500 คน 4. หมู่ช่างสลัก 500 คน 5. ช่างแก้วแหวน 500 คน 6 พ่อเลียง 500 คน 7. แม่เลี้ยง 500 คน 8. หมู่หมอโหรา 500 คน 9. หมอยา 500 คน 10. ช่างเงิน 500 คน 11. ช่างทอง 500 คน 12. ช่างเหล็ก 500 คน 13. ช่างเขียน 500 คน 14. หมู่ช่างทั้งหลายต่างๆ 500 คน 15. หมู่พ่อเวียงทั้งหลาย 500 คน ( คนงานฝ่ายก่อสร้าง)
แสดงว่า หมอยา เป็นกลุ่ม บุคคล ที่มีความสำคัญ มากกลุ่มหนึ่ง ในสังคม
สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ( พ.ศ. 1724-1762) เป็นกษัตริย์ของขอม ที่ได้ปราบดาภิเศก เป็น พระเจ้าแผ่นดิน เมื่อ พ.ศ. 1724 ภายหลังจากปราบขบถ ใน นครธม และกอบกู้บ้านเมืองได้สำเร็จ พระองค์ ต้องใช้เวลาถึง 10 ปี ในการปฎิสังขรณ์ ซ่อม แซมบ้านเมือง และสร้างถาวรวัตถุ ขึ้นใหม่ ตามจารึก หลักพระขรรค์ไชยศรี บทที่ 123 ระบุไว้ว่า ได้โปรดให้สร้างถนน 17 สาย บ้านซึ่งมีไฟ ( ซึ่งน่าจะหมายถึงที่พักสำหรับคนเดินทาง ) จำนวน 121 แห่ง และโรงพยาบาล หรือที่ปรากฏในจารรึก ว่า อโรคยศาล จำนวน 102 แห่ง กระจายอยู่ ทั่วราชอาณาจัร ในราว พุทธศตวรรษ ที่ 18 หรือประมาณ 800 กว่าปี มาแล้ว อโรคยาศาลนี้ สันนิษฐานว่า สร้างด้วยไม้ ส่วนใหญ่ จึงหักพังสูญหายไป คงเหลือแต่วิหาร หรือ ศาสนสถาน ของโรงพยาบาล และศิลาจารึก ที่สร้างด้วยอิฐหิน หรือศิลาแลง ไว้เป็นหลักฐานเท่านั้น ศิลาจารึก ที่พบบริเวณโรงพยาบาล เรียกว่า ศิลาจารึก โรงพยาบาล ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทย มีทั้งหมด 5 แห่งคือ
1. จารึกจากประสาทตาเมียนโตจ 2. จารึกปราสาท อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ 3. จารึกจากด่านประคำ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ 4. จารึกพิมาย จังหวัดนครราชสีมา 5. จารึกวัดกู่ บ้านหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ 6. จารึกจากกู่แก้ว อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นจารึก เกี่ยวกับพระเจ้า ชัยวรมันที่ 7 พบล่าสุด เมื่อปี พ.ศ. 2529
ศิลาจารึกดังกล่าวมีข้อความเหมือนกันเกือบทั้งหมด คือ กล่าวสรรเสริญ พระพุทธเจ้า กษัตริย์ และการจัดระเบียบ แบบ แผน ของสถานพยาบาล นอกจากนี้ ยังได้กล่าวถึงการเบิก จ่ายอาหาร และยา จากท้องพระคลังหลวง รวมทั้งได้ระบุชื่อยา ชื่อ สมุนไพร ตลอดจนจำนวน ของแต่ละสิ่ง ไว้ในจารึก ซึ่งอาจสรุป สาระสำคัญ ของข้อมูลเกี่ยวกับ คติความเชื่อและ การจัด แบบ แผนของอโรคยศาล ได้ 4 ประการคือ
1. การบูชาพระโพธิสัตว์ ในพุทธศาสนา ลัทธิมหายาน รวมทั้ง พระไภษัยชยคุรุไวฑูรย ประภา 2. ความสนพระทัย ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ในความทุกข์ อันเกิดจาก โรคภัยของ ประชาชน จึงทรงให้สร้าง อโรคย ศาล เพื่อใช้เป็นที่รักษาพยาบาลตามท้องถิ่น 3. จำนวนเจ้าหน้าที่ และวัสดุ สิ่งของที่ต้องใช้ในแต่ละวัน ในอโรคยศาล 4. กำหนดให้ อโรคยศาล เป็นที่ประกอบกิจ พิธีทางศาสนา
จากแนวความคิดและการศึกษาของศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส ทำให้ทราบว่า คนไข้ที่เข้ารับการรักษาตัว ที่อโรคยาศาล จะเข้าพักในสถานพยาบาล ซึ่งเป็นอาคาร ที่สร้างด้วย ไม้ แต่ปัจจุบัน ได้ผุพังไปหมดแล้ว ผู้ป่วยจะไม่พักอาศัยอยู่ในอาคาร ที่สร้าง ด้วยหิน หรือศิลาแลง เนื่องจากอาคารที่สร้างด้วยหิน หรือศิลาแลงนั้น จะสงวนไว้สำหรับพระผู้เป็นเจ้า ( เป็นที่ประดิษฐาน รูปเคารพ ) เท่านั้น แม้แต่พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญสูงสุด ก็ยังทรงประทับอยู่ในพระราชมณเฑียร ที่ทำด้วยไม้ หลักศิ ลาจารึก สร้างโรงพยาบาล ที่พบ ณ ประสาทตาเมียนโตจ จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งพบที่เมืองชัยภูมิ ที่เมืองคนบุรี นมหวาน และที่ ด่านประคำ จังหวัดนครราชสีมา ( ดังปรากฏอยู่ในหอวชิรญาณ) ข้อความในจารึก ได้กล่าวสรรเสริญ พระ เกียรติยศ ของพระบาท ชัยวรมัน ที่ได้ จัดสร้าง โรงพยาลาลรักษาคนไข้ รวมถึงสมุนไพร ที่ใช้ในการรักษาโรค นอกจากนี้ ยังได้กล่าวถึงการบริหารงาน ในโรงพยาบาล จำนวน 102 โรง และในพระแท่นของโรงพยาบาลต่างๆ มีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ 798 องค์ จำนวนข้าวสาร ที่เอามาเลี้ยงคนไข้ ในโรงพยาบาล มีจำนวน ปีละ 117,200 ชาริกา ( ชาริกา เป็นมาตรา ส่วนที่ใช้กันในพุทธศักราช 1724 ณ บริเวณแหลมทอง ซึ่งมีอัตราดังนี้
2 ปะณะ เป็น มาษ 4 ปะณะ เป็น กุฑุวะ 4 กุฑุวะ เป็น ปรสถะ 16 ปรสถะ เป็น โทรณะ 4 โทรณะ เป็น ชาริกา 11 ปะสะ เป็น ตุลา ( คือตุลกัฎฎี เห็นจะเป็นชั่ง )
จำนวนชาวนาที่ทำนา เพื่อส่งข้าวให้โรงพยาบาล ทั้งหญิงและชาย มีอยู่ 81,640 คน และจำนวน หมู่บ้านของชาวนา 838 หมู่บ้าน
การบริหารงานในโรงพยาบาล ประกอบด้วย ฝ่ายต่างๆ ดังนี้
ผู้ดูแล 4 คน ( เป็นแพทย์ 2 คน โดยมีบุรุษ 1 คน และสตรี 1 คน เป็นผู้ให้สถิติ ) ผู้ดูแลทรัพย์ จ่ายยา รับข้าวเปลือก และฟืน ใช้บุรุษ 2 คน ผู้หุงต้ม ทำความสะอาด จ่ายน้ำ หาดอกไม้ และหญ้า บูชายัญ ใช้บุรุษ 2 คน ผู้จัดพลีทาน ทำบัตร จ่ายบัตร สลาก และ หาฟืน เพื่อต้มยา ใช้บุรุษ 2 คน ผู้ดูแลโรงพยาบาล และส่งยา ให้แก่บุรุษแพทย์ เป็นบุรุษ 14 คน ผู้โม่ หรือ บดยาที่สันดาบ ด้วยน้ำ เป็นสตรี 6 คน ผู้ทำหน้าที่ตำข้าวเปลือก 2 คน ผู้ปฎิบัติงานในโรงพยาบาล ในจารึกสุรินทร์ 2 ระบุ จำนวนรวม 98 คน
ส่วนการจัดระบบด้านการรักษา พยาบาล ในโรงพยาบาล และการจัดหายา มาบริการยังไม่เพียงพอ อำนาจเหนือธรรม ชาติ เวทมนตร์ และความเชื่อ ความศรัทธาทางศาสนา จึงเข้ามา มีบทบาทสำคัญ ในการรักษาพยาบาลด้วย ซึ่งจะเห็นได้จาก การสร้าง พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภา ( พระโพธิสัตว์ ไภษัชคุรุไวฑูรยประภา) ซึ่งแปลว่า เป็นครูแห่งโอสถทั้งหลาย มีรัศมี ประดุจดังไพฑูรย์ เป็นที่เคารพแห่งมนุษย์ ทั้งหลายในสมัยนั้น มีอานุภาพ ในการรักษาโรคภัย ไข้เจ็บ มักทำเป็นรูปพระพุทธ รูป ทรงเครื่องปางนาคปรก แม้ว่าบางรูปจะไม่ปรากฏพังพานนาค แต่ยังคงมีขนดหางนาค แตกต่างจากพระพุทธรูปทรงเครื่อง นาคปรก ก็คือ ภายในพระหัตถ์ ที่ประสานกันเหนือเพลา มีวัตถุ รูปกรวย อยู่ภายใน วัตถุนี้ สันนิษฐาน ไว้ต่างๆ กันเช่น
* อาจเป็นยา หรือดอกไม้ หรือวัชระ * น่าจะเป็นผลไม้ประเภทสมุนไพร เช่นผลสมอ * น่าจะเป็นผลสมอ ซึ่งเป็นสมุนไพร ที่ใช้ทำยารักษาโรคภัยต่างๆ และหากคิดว่า เป็นหม้อน้ำมนตร์ ก็น่าจะหมายถึง ภาชนะ หรือ ผอบใส่โอสถ ไว้สำหรับ รักษาผู้เจ็บป่วยนั่นเอง เชื่อกันว่า การสร้าง พระไภสัชยคุรุไวฑูรยประภา ไว้ประจำโรงพยา บาล ก็เพื่อให้ บารมีของพระองค์ แผ่เมตตา ต่อคนไข้ ในอโรคยศาล จนไม่อาจ กล่าวได้ว่า ระหว่างการรักษา พยาบาล และ ศรัทธา นั้น ส่วนใหน จะสำคัญ มากกว่ากัน แต่สิ่ง ที่น่าสนใจ คือ ครูผู้รักษา จะต้องมีคุณธรรม ซึ่ง ในปัจจุบัน แนวความคิด นี้ยังคงมีอยู่ อาจสรุปได้ว่า องค์ประกอบในการรักษา จะประกอบด้วยยา หรือสมุนไพร ด้วยศรัทธา และความเคารพ นับถือใน คุณธรรมของ ครู และด้วย บารมี ของพระไภสัชยคุรุไวฑูรยประภา
อย่างไรก็ตามในศิลาจารึก ไม่ได้กล่าวว่า ในโรงพยาบาล 102 โรงนั้น ได้รับยา รักษา โรคและสิ่งของต่างๆ มาจากไหน กล่าวแต่เพียง บัญชีเครื่องยา และสิ่งของในปีหนึ่งๆ เท่านั้น แต่เข้าใจว่า ได้มาจากการชำระภาษีของประชาชน ส่วนสิ่งของที่หา ยากไม่มีในท้องที่ จะจัดส่ง มาจากท้องพระคลังในเมืองหลวง โดยตรง ดังจารึกของพระเจ้าชัยวรมัน ที่ 7 หลายแห่ง ได้ กล่าว ถึงการแต่งตั้ง ผู้ปกครองและการจัดเก็บภาษีในแต่ละท้องที โดยภาษีที่ต้องลำระในสมัยก่อน ส่วนใหญ่ จะชำระ เป็นสิ่งของ ประ เภท ทรัพยากรตามธรรมชาติ และผลิตผลตามธรรมชาติ ที่ได้จากป่า อโรคยศาล ในแต่ละวัน เฉพาะ ที่ได้รับจาก ท้องพระคลัง ของพระ มหากษัตริย์ โดย จะส่งมาปีละ 3 ครั้ง คือ วันเพ็ญเดือน 5 วันสารท และวันที่พระอาทิตย์เบนไปทางทิศใต้ มี หลายชนิด เช่น สมอ 50 ผล ขมิ้น 2 หัว น้ำผึ้ง 3 กุฑูวะ น้ำอ้อยเหลว 3 กุฑุวะ น้ำส้ม พุทรา 1 ปรสถะ รกฟ้าขาว 1 ปะละ 1/4 กันทง หัวหลาย ชันสยง เปลือกเทพธาโร ของ ทั้งสีสิ่งๆละ 1 ปะละครึ่ง เป็นต้น นอกจากนั้นจารึกในโรงพยาบาลได้กล่าวถึงชื่อพืช และ ผลิตผลของพืชหลายชนิด ซึ่งอาจใช้ในการรักษา ได้แก่ ผลตำลึง กฤษณา ข้าวบาร์เลย์ ดีปลี บุนนาค ผลจันทน์เทศ ผลกระวานเล็ก ขิงแห้ง พริกไทย ผักทอดยอด อบเชย หญ้ากระด้าง กระเทียม พริกขี้หนู พุทรา ข้าวสาร ถั่ว การบูร เมล็ด ธานี ถั่วฝักยาว ยางสน มิตรเทวะ ทารวเฉท ดอกไม้ เป็นต้น สมุนไพรเหล่านี้ นำมาเพื่อบูชายัญ และส่วนที่เหลือจะ บริจาคให้ คนไข้ ชื่อสมุนไพรที่ปรากฏในจารึก คงไม่ใช่สมุนไพรทั้งหมดที่ใช้ใน อโรคยศาล ส่วนหนึ่ง ของสมุนไพร คงได้จากการเก็บหา ดังปรากฏในจารึกที่ว่า .. " ผู้มอบ .... บุรุษคนหนึ่ง เป็น ผู้ดูแลทรัพย์ ... เป็นผู้หาข้าวเปลือกยาและฟืน .. " แสดงให้เห็นว่า นอก จากเบิกจากท้องพระคลัง แล้วยา ส่วนหนึ่ง ยังต้องเก็บหามาใช้ จึงไม่สามารถ บอกได้ว่า อโรคยศาล ในอดีต ใช้สมุนไพรใด รักษาโรคให้คนไข้ เนื่องจากข้อมูลที่กล่าวไว้ในจารรึก จะเป็นเครื่องบูชา และเรื่องของกษัตริย์ เป็นส่วนใหญ่ รายชื่อสมุนไพร ที่ปรากฏอยู่ เป็นสมุนไพร เฉพาะที่กษัตริย์ พระราชทาน ให้ ประชาชน
สืบเนื่องมาจากการเข้ามาของวัฒนธรรมอินเดียโบราณ ภายใต้อิทธิพล ศาสนา พราหมณ์ ก็ได้นำเอาความรู้วิชาแพทย์ แบบอายุรเวท มาด้วย เป็นการแพทย์ แบบทฤษฎีธาตุ เป็นส่วนหนึ่ง ในอาถรรพเวท ของคัมภีร์พระเวท การแพทย์ แบบอายุรเวท จึงได้รับการอุปถัมภ์ จากราชสำนัก มาโดยตลอด แม้ว่า พระเจ้า ชัยวรมัน ที่ 7 ซึ่งทรงสร้าง อโรคยศาล จะนับถือ พระพุทธศาสนา นิกายมหายาน แต่ระบบการแพทย์ ที่สืบทอดกันมายังคงเป็นแบบเดิม คือ ยึดถือ ทฤษฎี ธาตุ ซึ่งอธิบา ภาวะ การเจ็บป่วยของมนุษย์ว่า เกิดจาก ความไม่สมดุลของธาตุในร่างกาย ได้แก่ ธาติดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม และธาตุไฟ สมุนไพรที ่ ปรากฏอยู่ในจารรึก ส่วนใหญ่ จึงเป็นสมุนไพร ที่ใช้ปรับ ธาตุ เพื่อให้เกิดความสมดุลในร่างกาย ดังปรากฏในจารึก ปราสาทที่ กล่าวว่า เภษัย ที่ทำให้ร้อน ด้วยพริกผง และบุนนาค ก็เท่ากัน
สาเหตุที่กษัตริย์ พระราชทาน เฉพาะสมุนไพร ดังกล่าวไว้ในจารึก อาจสันนิษฐานได้ว่า เป็นเพราะกษัตริย์ ต้องทรง อุปถัมภ์การแพทย์แบบอายุรเวท ดังนั้น สมุนไพรใดที่หายาก ต้องสั่งมาจากต่างประเทศ หรือเป็นสมุนไพร ที่มีเฉพาะฤดูกาล จึงต้องเก็บไว้ในท้องพระคลัง เมื่อจำเป็น ต้องใช้ สมุนไพร ที่ไม่อาจเก็บหาได้ง่าย จะเบิกจากท้องพระคลัง ซึ่งจะเห็นได้ว่า สมุนไพร ที่ปรากฏอยู่ในจารึกเป็นสมุนไพร ที่นิยม ใช้กันทั่วโลก ในสมัยนั้น และบางชนิด เป็นของต่างประเทศ เช่น จันทน์เทศ ( Nutmeg) ซึ่งเป็นพืชพื้นเมือง แถบเกาะโมลุคคะ ใช้เป็นยากระตุ้น หรือยาขับลม สมุนไพร บางชนิด เป็นเครื่องเทศ ที่ใช้ ประกอบ อาหาร หาได้ทั่วไปไม่ ต้องเก็บไว้ในท้องพระคลัง จึงไม่มีชื่อระบุ ไว้ในจารึก ทำให้ไม่สามารถ รู้ว่า สมุนไพรทุกชนิด ที่ใช้ใน อโรคยศาล มีอะไรบ้าง แต่จากศิลาจารึก ที่ปราสาทพระขรรค์ไชยศรี บทที่ 1 2 3 ทำให้ เข้าใจน่าจะมีการผสมผสาน ใน เรื่องการใช้สมุนไพร จากประสบการณ์ ของบรรพบุรุษ ในแต่ละท้องถิ่น และ ลักษณะ การแพทย์ แบบนี้ จะไม่ถ่ายทอดกันอย่าง เปิดเผย เป็นลายลักษณ์อักษร เนื่องจากตำรายา มักเป็นที่หวงแหน ไม่ถ่ายทอด ไม่ถ่ายทอด กันง่าย หากไม่ได้ ทำพิธี เรียนต่อครู ย่อมถือว่า ผิดครู
ถึงแม้พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 จะได้ทรงลงท้ายคำขวัญ ในการสร้างโรงพยาบาล เมื่อ พุทธศักราช 1729 มีว่า " โอ้ ท่านทั้ง หลายซึ่งจะเป็นตัวแทนข้าพเจ้า ในวันหน้า ขอให้จารึกไว้ ในใจว่า การทำบุญกุศลทั้งสิ้น ซึ่งข้าพเจ้า ได้อุตสาห์ ทำมาจนบัดนี้ ขอท่านอย่าได้ละทิ้ง เฉยเสียเป็นอันขาด จงตั้งใจอุตสาห์ ดูแลปกปักรักษา ไว้ให้ดี ด้วยว่าการกุศลต่างๆ เหล่านั้นก็จะได้แก่ตัว ท่านเหมือนกั ดังมีท่านนักปราชญ์ ที่ได้กล่าวไว้ว่า ผุ้ใดก็ดี ที่อุตสาห์ ดูแล รักษาการบุญกุศลเหล่านี้ ก็จะได้รับกุศลส่วนใหญ่ ส่วนหนึ่ง จากผู้ซึ่งได้ ทำไว้ แต่แรกมา " แต่เมื่อพระองค์ สิ้นพระชนม์แล้ว ( พ.ศ.1762 พระชนมายุได้ 94 พรรษา) อาณาจักร ขอมก็เริ่มเสื่อม ลงไป พร้อมกับที ไทย เรืองอำนาจขึ้น กษัตริย์ องค์ต่อมา นับถือศาสนาพราหมณ์ มีความ เห็นไม่ลงรอยกับ กับพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 อโรคยศาล จึงขาดคน ทำนุบำรุง ค่อยๆ ทรุดโทรม ลง และ ล้มเลิกไป อาคาร ส่วนที่เป็นไม้ ก็พุพัง เหลือ เพียง ศิลปกรรม และสถาปัตยกรรม ที่เป็นหิน หรือ ศิลาแลง ปรากฏ ให้เห็นอย่างเช่น ทุกวันนี้
การที่ อโรคยศาล หรือ โรงพยาลาล ที่พระเจ้าชัยวรมัน ที่ 7 ได้ทรงสร้างไว้ถึง 102 แห่ง ไม่ปรากฏหรือมี ผู้สืบสานต่อให้ เห็นหลงเหลือ เป็นโรงพยาบาล สันนิษฐานว่า เป็นผลเนื่องมาจากอิทธิพลทางศาสนา เพราะในครั้งนั้นนอกเหนือจาก พระเจ้า ชัยวรมันที่ 7 ที่เสื่อมใส ในพระพุทธศาสนา นิกายมหายาน กษัตริย์พระองค์อื่น ที่ปกครองอาณาจักรขอมเท่าที่ปรากฏ ล้วนแต่ นับถือศาสนาพราหมณ์ เมื่อพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 สิ้นอำนาจลง จึงมีผู้พยายามที่จะล้มล้าง ทำลาย หรือไม่สนับสนุน สิ่งที่ พระเจ้า ชัยวรมัน ที่ 7 ได้ทรงสร้างขึ้น เป็นเหตุ ให้ผู้ที่นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน ต้องหลบหา สถานที่ ปฎิบัติกิจทางศาสนาใหม่ เช่นออกไป บำเพ็ญ เพียรตามป่าเขา เป็นฤาษีชีไพร หรือบวช เป็นพระธุดงค์ ไปยังที่ต่างๆ พร้อมกับนำความรู้ทาง การแพทย์ ติดตัวไปใช้ รักษา กันเอง ในรูปแบบ ที่ไม่เป็นทางการอีกครั้ง ในขณะเดียวกัน อโรคยศาล เมื่อขาดคนทำนุบำรุง จึงต้อง ล้ม เลิกไปในที่สุด

สมัยกรุงสุโขทัย ( พ.ศ. 1763-1920)
จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ไม่พบข้อมูลเกี่ยวกับ ระบบการแพทย์ ในสมัยนี้เลย แต่เชื่อว่า ต้องมีระบบการแพทย์ ที่มีการใช้ยาจากสมุนไพร โดยนำมาต้ม หรือ พอก หรือบด ให้ ละเอียด รับประทาน เพราะมีการค้นพบ หินบดยา สมัยทาราวดี ซึ่งเป็นยุคก่อนสุโขทัย ดังนั้น ในสมัยสุโขทัย ก็คงมีการบดยา ใช้เช่นเดียวกัน และได้พบศิลาจารึก ของพ่อขุนรามคำแหง ที่วัด ป่ามะม่วง จังหวัดสุโขทัย ซึ่งเขียนขึ้น ประมาณ พ.ศ. 1800 บันทึกไว้ว่า ทรงสร้างสวนสมุนไพร ขนาดใหญ่ ไว้บนเขาหลวง หรือเขาสรรพยา ให้ราษฎร ได้เก็บสมุนไพร ไปใช้รักษาโรค ยามเจ็บป่วย รวมถึงรูปจารึก ที่เกี่ยวกับการนวด ซึ่งพบอยู่ในเขต อำเภอครีมาศ จังหวัดสุโขทัย
ในสมัยนั้นมีความเชื่อกันว่า ความเจ็บป่วย เกิดจากการกระทำของภูตผีปีศาจ จึงมีพิธีแสดงความ นบนอบ ดังข้อความ ตอนหนึ่งในหนังสือไตรภูมิพระร่วงว่า " ผิแลว่า ผู้ใดไปไหว้นบคำรพบูชาแก่กงจัรแก้ว นั้นด้วยข้าวตอกดอกไม้ แลกงจักรนั้น เพียร ย่อมบำบัดเสีย ซึ่งความเจ็บไข้ " นอกจากนี้ ในบริเวณเมืองเก่าสุโขทัย และที่เตาเผา ชามพบตุ๊กตาเสียกบาล เป็นจำนวนมาก เป็นตุ๊กตาแบบแม่อุ้มลูก พ่ออุ้มลูก ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ในสมัยสุโขทัย คงจะมี ปัญหาเรื่องโรคเด็ก และการคลอดบุตร แล้วลูก ตายหรือ หรือตายทั้งแม่และลูก เพราะพิธีเสียกบาล เป็นพิธีที่ทำขึ้นเมื่อเด็กแรกเกิด ไม่สบาย โดยเชื่อว่า เป็นการกระทำของผี นอกจากการรักษาโดยใช้ยาสมุนไพร และไสยศาสตร์แล้ว ยังมีรูปจารึกเกี่ยวกับการนวด ซึ่งได้รับความนิยมมาก และมีความ สำคัญถึงขึ้น มีกรมหมอนวด และ เจ้ากรมหมอนวด ซ้าย - ขวา ดังบันทึกตอนหนึ่ง ของ ม.ร. ลาลูแบร์ ในสมัยกรุงศรีอยุธยาที่ กล่าวไว้ว่า " ในกรุงสยามนั้น ถ้าใครป่วยไข้ลง ก็จะเริ่มให้ยืดเส้น ยืดสาย โดยให้ผู้มีความชำนาญ ในทางนี้ ขึ้นไปแล้วใช้เท้า เหยียบ " แสดงให้เห็นว่าการแพทย์แผนไทย โดยเฉพาะในส่วนของการใช้สมุนไพร และการนวด ไม่ได้มีใช้แต่ ราชสำนักเท่า นั้น ราษฎรโดยทั่วไป ต่างก็มีความรู้ ทางการแพทย์ ไว้ใช้รักษากันเอง ในระดับพื้นบ้าน ยามเจ็บป่วย ความรู้ทางการแพทย์ ของ ราษฎร ส่วนใหญ่เชื่อว่า เกิดจากการสังเกต และจากประสบการณ์ ในการทดลองใช้พืชต่างๆ เป็นยาอย่างลองผิดลองถูก หลายๆ ครั้ง ทั้งด้วยตนเอง คนรอบข้าง และสังเกตุจากสัตว์ต่างๆ ที่รักษา ตัวเอง ยามเมื่อเจ็บป่วย แล้วบอกเล่าถ่ายทอด สั่งสอน ความรู้ ทางการแพทย์นั้นๆ เช่น การใช้สมุนไพร ชื่อนั้น ชื่อนี้ ในการรักษา โรคหรือ อาการ นั้นๆ ต่อกันมา แก่บุตรหลาน หรือคนในครัว เรือน รวมไปถึงผู้ที่มาฝากตัวเป็นศิษย์ ซึ่งผู้มีความรู้ ดังกล่าว ภายหลังเรียกอย่างเป็นทางการว่า หมอเชลยศักดิ์ ส่วนใน ราชสำนัก ความรู้ทางการแพทย์ นอจากจะสืบทอดเฉพาะ ภายในตระกูล แพทย์ แล้วยังได้รับ ความรู้จากตำรับต่างๆ ที่ทางพระ มหากษัตริย์ โปรดเกล้าๆ แต่งตั้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง ทำการรวบรวม ตำรายาดีๆ ที่ได้รับการพิสูจน์ ผลการรักษา แล้วว่า หายจริง จากทั่วราชอาณาจักร มาตั้งเป็น ตำรับ เก็บไว้ใน โรงพระโอสถ ซึ่งเท่ากับจำกัด ใช้เฉพาะ ในตระกูลแพทย์ เท่านั้นไม่ได้ เผยแพร่ สู่สาธารณชน เรียกผู้มี ความรู้ประเภทนี้ ว่า " หมอหลวง "

สมัยกรุงศรีอยุธยา ( พ.ศ. 1893-2310 )
การแพทย์แผนไทย เท่าที่มีเอกสารพอจะค้นคว้าได้ ก็มีแต่เพียงในสมัยกรุงศรีอยุธยา เท่านั้น ส่วนในสมัยกรุงสุโขทัย หรือก่อนหน้านั้น ไม่มีหลักฐานที่แน่นอน มีแต่เพียงข้อ สันนิษฐานจากหลักฐาน แวดล้อมทางประวัติศาสตร์ รวมไปถึง หลักฐาน ที่เป็น บันทึก โดยชาวต่างประเทศ ที่เป็นเพียงมุมมอง ของการรักษา ความเจ็บป่วย ในสายตาของชาวต่างประเทศ เท่านั้น ซึ่ง แม้จะค่อนข้างเกินความจริงไปบ้าง แต่ก็ต้องยอมรับว่า มีคุณค่าไม่น้อยต่อวงการแพทย์แผนไทย ที่คนไทยเองไม่ได้บันทึก เรื่อง ราวในส่วนนี้ไว้ เพราะอย่างน้อย ก็ช่วยให้พอมองเห็นรูปแบบของการรักษา พยาบาลในสมัยนั้น การแพทย์แผนไทย ในสมัย กรุงศรีอยุธยา คาดว่า มี ลักษณะไม่แตกต่างจากสมัยสุโขทัยเท่าใดนัก เพราะมีประวัติบันทึกพอสรุปได้ว่า การแพทย์ในสมัย นี้ มีลักษณะ ผสมผสาน ปรับประยุกต์ มาจาก การแพทย์ของอินเดีย ที่เรียกว่า " อายุรเวท " และการแพทย์ของจีน รวมทั้งความเชื่อ ทางโหราศาสตร์ และไสยศาสตร์ เช่นการผูกตะกรุด คาดผ้าประเจียด ลงเลยยันต์ คาถาอาคม วงด้ายสายสิญน์ เป็นต้น เพื่อ ให้สอดคล้องกับ สภาพของชุมชน แนวความคิดหลักการแพทย์ ไทยเป็นแบบอายุรเวท ซึ่งมีเป้าหมาย ที่สภาวะ สมดุล ของธาตุ ทั้ง 4 อันเป็นองค์ประกอบชีวิต ผู้ที่จะเป็นแพทย์ได้ ต้องมีวัตรปฎิบัติ ที่งดงามในทุกด้าน โดยเฉพาะ ด้านความกตัญญู รู้คุณ ต่อ ครูบาอาจารย์ นั้น ถือว่า ครู ดั้งเดิม คือ พระฤาษี ซึ่งมีหลาย องค์ ที่เป็นผู้ค้นพบ คุณค่า ทางยา ของสมุนไพร ต่างๆ และค้นพบ วิธีกายภาพบำบัด บริหาร ร่างกาย ตามตำรับฤาษีดัดตน ครูผู้ยิ่งใหญ่ท่านหนึ่ง คือ ท่านชีวกโกมารภัจจ์ แพทย์ ประจำราชสำนัก ของพระเจ้าพิมพิสาร และแพทย์ประจำพระองค์ของ พระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นผู้รอบรู้ ในเรื่องสมุนไพรต่างๆ สามารถนำมาปรุงยา รักษาโรค ได้แทบทุกชนิด และชำนาญในการผ่าตัดด้วย เกี่ยวกับเรื่องพระฤาษี กับสมุนไพร และท่าดัดตนนั้น สันนิษฐานว่า อาจสืบเนื่องมาจากราชอาณาจักรขอม หลังสิ้นรัชสมัย พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ราษฎรผู้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนานิกายมหายาน ซึ่งออกบวช หาสถานที่ วิเวก บำเพ็ญเพียร จนเรียกได้ว่า เป็นพระฤาษี เมื่อไปอยู่กลางป่า แต่เพียงลำพัง ต้องพึ่งตนเอง และ หาวิธีรักษาตน เองยามเจ็บป่วย ทำให้เกดการค้นพบ พืชสมุนไพร ที่สามารถใช้รักษาความเจ็บป่วย ขึ้น จึงจดจำไว้ ในเวลา เดียวกัน ขณะที่นั่งบำเพ็ญ เพียร อาจเกิด อาการเมื่อยขบ หรือค้นพบว่า เมื่อลองยกแขนยกขา หันหน้าหันหลัง แล้วอาการปวด เมื่อยข้อ ขัดยอก ที่เกิดหายไป ก็จำท่าต่างๆ ๆไว้ กลายเป็นวิธีบริหารร่างกาย ตำรับ ฤาษีดัดตน ในเวลาต่อมา ในสมัยกรุงศรี อยูธยา มีหลักฐาน ทางประวัติศาสตร์ ที่กล่าวถึงการแพทย์ แผนไทย ไว้ ไม่กี่รัชกาล ซึ่งจะได้กล่าวตามลำดับดังต่อไปนี้
สมัยพระรามาธิบดีที่ 2 พ.ศ. 2016 ฝรั่งชาติแรก คือ โปรตุเกส เข้ามาตั้งถิ่นฐาน เป็นปึกแผ่น ในกรุงศรีอยุธยา หลายร้อยคน เชื่อว่าคงจะมีแพทย์ มาด้วย กล่าวกันว่า ตำรับยา ของแพทย์โปรตุเกส ที่ตกทอดมาถึงปัจจุบัน คือ ตำรับยาขี้ ผึ้งใส่บาดแผลบางชนิด สมัยพระชัยราชาธิราช ทรงพระราชทาน ที่ดิน เป็นบำเหน็จ ความดีความชอบ แก่ชาวโปรตุเกส จำนวน120 คนที่ได้เข้าร่วมรบ ในสงครามเมืองเชียงกราน จนได้ชัยชนะ จึงให้ สร้างนิคมเฉพาะพร้อมโบสถ เชื่อว่า คงจะต้องมี แพทย์ หรือ หรือผู้มีความรู้ ทางแพทย์เข้ามาด้วย ดังนั้น น่าจะเป็นความจริงว่า ชาวโปรตุเกส เป็นพวกแรก ที่นำเอาการแพทย์ แบบตะวัน ตก เข้ามาในไทย ชาวโปรตุเกส ได้นำ ศาสนา คริสต์ นิกายโรมันคาธอลิค เข้ามา เผยแพร่ แก่ชาวไทย และ เข้าใจว่า ได้รับ อนุญาต ให้ทำการเผยแพร่ ได้โดยสะดวก แต่เนื่องจากความเข้าใจในเรื่องภาษา ยังมีไม่พอ ทำให้การเผยแพร่ ไม่ค่อยได้ผล
สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ( พ.ศ. 2199-2231 ) เมื่อพ.ศ. 2047 พ่อค้าชาวโปรตุเกส ได้นำการแพทย์ แบบตะวันตก เข้ามาเผยแพร่เป็นครั้งแรก และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องง โดยใน พ.ศ. 2205 เริ่มมีการติดต่อ กับฝรั่งเศส สมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 โดยมองเชนเยอร์ ลังแบรต์ เดอ ลามอตต์ พร้อมด้วย มิชชั่นนารี ผู้ช่วยสองคน เข้ามาทางเมืองตะนาว ศรี ซึ่งสมัยนั้น เป็นเขต ขัณฑสีมาของไทย ปรากฏหลักฐานว่า ฝรั่งเศส ได้ตั้งโรงพยาบาล ขึ้นที่กรุงศรีอยุธยา ( ยังสืบไม่ได้ว่า ตั้งอยู่ ณ ที่ใด และไม่สามารถ สันนิษฐานได้ว่าเป็น โรงพยาบาลเดียวกับ โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา) ตามที่ปรากฏในรายงาน ของ มิสซิย็อง ฟรังเซส พ.ศ. 2222 ว่า โรงพยาบาลอยุธยา มีคนไข้ประจำ 50-90 คน และคนไข้ไปมาวันละ 200-300 คน
โรงพยาบาลในขณะนั้น จึงได้อาศัยใช้เป็นที่ บำบัดทุกข์บำรุงสุข แก่ปวงชนชาวไทย ทั้งหลาย การนี้ อาจมีผลผลักดัน ให้เกิดความรุ้สึกว่า การแพทย์แผนไทยกำลังถูกท้าทาย บรรดา หมอหลวง จึงได้ร่วมกันรวบรวม ตำรับยาต่างๆ ขึ้นเป็นครั้ง แรกในประวัติการแพทย์ไทย เรียกว่า " ตำราโอสถพระนารายณ์ " แพทย์ฝรั่งเศส ซึ่ง่เข้ามารับใช้ในราชสำนัก และ เป็นที่ไว้ วางพระราชหฤทัย ได้ประกอบ พระโอสถถวาย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช และได้มี โอกาสบันทึกตำรับยา ที่นำมาจากยุโรป ในตำราพระโอสถพระนารายณ์ นี้ด้วย ซึ่งตำราเหล่านี้ ยังตกทอดมาถึงทุกวันนี้ ตำราพระโอสถพระนารายณ์ นี้ ค้นพบในสมัย รัตนโกสินทร์ มีตำรา พระโอสถหลายขนาน ที่ปรากฏ ชื่อหมอหลวง และวันคืน ที่ตั้งพระโอสถ นั้นจดไว้ชัดเจนว่า อยู่ระหว่าง พ.ศ. 2202-2204 ซึ่งตรงกับรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่ได้รวบรวม เข้าคัมภีร์ เมื่อเวลา ล่วงไป แล้วถึงสมัย พระเพทราชา เนื้อความ ปรากฏในยาขนานหนึ่ง ว่า หมอ ฝรั่งได้ประกอบ ถวายสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง นิพพานท้ายสระ คือ สมเด็จพระเพทราชา ลักษณะ การแพทย์แผนไทย ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ก็คือ การแพทย์ ที่คนไทย ได้ใช้มาในสมัยสุโขทัย แล้วนั้นเอง เพราะการแพทย์เป็นเรื่องของประเพณี วัฒณธรรม ซึ่งมีการถ่ายทอด ต่อเนื่องกันอยู่เสมอ ความรู้ในด้านการรักษา พยาบาล ได้ยึดถือตามตำรา ที่บรรพบุรุษ ได้สะสม และถ่าย ทอดมา และถือว่า คัมภีร์แพทย์ เป็นสิ่งศักสิทธิ์ จึงไม่คิดดัดแปลง แก้ไข้ ดังนั้น วิธีการป้องกัน และบำบัดโรค จึงคงเป็นไปในรูปเดิม ถึงแม้ว่า จะมีชาวต่างประเทศ นำวิชาการแพทย์ตะวันตก เข้ามาเผยแพร่ แต่ก็ไม่มีอิทธิพล ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในวิธีการรักษา ของไทย แต่อย่างใด ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ ชาวต่าง ประเทศ เข้ามาติดต่อกับไทยไม่นานพอ ที่จะวางรากฐานการแพทย์แผนตะวันตก ในสมัยนั้นได้ และพระมหากษัตริย์ไม่สนับ สนุน เนื่อง จาก ขัดกับธรรมเนียมไทย ตำราพระโอสถพระนารายณ์ ได้พิมพ์ ครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2460 โดยสมเด็จพระศรีพัชริน ทราบรมราชชินีนาถ ๆ ได้โปรดให้พิมพ์ ในงาน พระราชทานเพลิงศพ พระยาแพทยพงษา ( นาก โรจนแพทย์ )
มร.ลาลูแบร์ เอกอัครราชฑูตของพระเจ้าหลุยส์ ที่ 14 แห่งประเทศฝรั่งเศส ได้เขียนจดหมายเหตุ พระราชพงศาวดาร สยาม ครั้งกรุงศรีรอยุธยา แผ่นดินสมเด็ พระนารายณ์มหาราช ให้ภาพของโรคภัยไข้เจ็บ และวิธีการรักษา ในสมัยนั้นว่า เรื่อง โรคพาธของชาวสยาม ใน กรุงศรีอยุธยา มีตั้งแต่ โรคป่วง โรคบิด ไข้กำเดา ไข้หวัด ไข้จับสั่น โรคพิษบาดทะยัก โรคลมจับ โรคอัมพาต โรคคุดทะราด เข้าข้อ ฝีต่างๆ เป็น ปรวดพิษ แผลเปื่อยพัง โรคโลหิตไหลทางเหงือก ไม่ค่อยพบ โรคขี้เรื้อนกุด ถังยังไม่ค่อยเห็น แต่คนเสียจริตมีชุม การถูกกระทำยำยีเชิงกฤติคุณ ความประพฤติลามก พาให้เกิดกามโรค ในกรุงสยาม ก็ ตกไม่หยอก อนึ่งในกรุงสยามก็มีโรคติดต่อกัน แต่หาใช่ทำกาฬโรคอย่างทวีปยุโรปไม่ ตัวโรคห่าของกรุงสยาม ก็คือ ไข้ทรพิษ อหิวาตกโรค อีกตอนหนึ่งว่า ... หมอสยาม ไม่เข้าใจเครื่องในร่างกาย และไม่รู้จักผ่าตัด ...และ .. หมอสยามมียาแต่ตามตำรา .. หมอสยามไม่พึ่งพยายามทราบยาอย่างในบำบัดโรค อย่างไหนได้หลับตาถือ แต่ตำรับที่ได้เรียนมาจาก บิดา มารดา และครูบา อาจารย์ และในตำรานั้น หมอชั้นใหม่ ก็คงดื้อใช้ไม่แก้ไข อย่างใด หมอสยาม ไม่พยักพะวง ตรวจสมุห์ฐานโรค ว่า อะไรเป็น ตัวสำคัญ ที่ส่อให้เกิดโรค วางยาไปตามตำราตามบุญตามกรรม แม้กระนั้น ก็ยังไม่วาย ที่จะรักษา ให้หายได้มาก หมอสยาม ไม่เว้น ที่จะโทษว่า เป็นเพราะถูกคุณ กระทำ ยำเยีย หรือฤทธิผีสาง
หมอนวด ชอบขยำ บีบไปทั่วตัว เมื่อใครป่วยไข้ลงในกรุงสยาม บางทีดีขึ้น เดินเอาเท้าเหยียบบนกายคนไข้ แม้ใน สตรีมีครรภ์ ก็พอใจ ให้เด็กเหยียบ ที่หลัง เพื่อให้คลอดบุตรง่าย
อาหารของคนไข้ คนไข้สยามมักบำรุงตัว ชั่วข้าวต้มอย่างเดียวเท่านั้น เนื้อสัตว์ แม่แต่ซุป ถือเป็นของแสลง เมื่อ คนไข้ทุเลา พอจะกินอาหารแข็งๆ ได้บ้าง ก็ให้กินแต่ เนื้อหมู ถือว่าไม่สู้แสลง ดีกว่าเนื้อสัตว์อย่างอื่นหมด
ประเภทหมอสยาม เมื่อ มร. ลาลูแบร์ ป่วย สมเด็จพระมหากษัตริย์สยาม โปรดพระราชทาน ให้หมอหลวง ทั้งกรม ตรวจรักษา มีหมอสยาม หมอรามัญ และจีนแส ผลัดกันทยอย มาตรวจชีพจร อยู่ช้านาน แล้ลงเนื้อว่า เป็นไข้กำเดาเล็กน้อย และท้องเสีย ..
ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชพบบันทึกว่า มีระบบการจัดหายา ที่ชัดเจน สำหรับราษฎร โดยมีแหล่ง จำหน่าย และสมุนไพรหลายแห่ง ทั้งในและนอกกำแพงเมือง ในส่วนราชการ และราชสำนัก มีโรงพระโอสถ อยู่ในพระราชวัง
แต่เมื่อสิ้นรัชกาล สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ใน พ.ศ. 2231 เกิดการผันผวนทางการเมือง จากการกระทำของขุน หลวงสรศักดิ์ และสมเด็จพระเพทราชา ซึ่งขึ้นครองราชสมบัติแทน ชาวฝรั่งเศส ถูกขับไล่ออกจากกรุงศรีอยุธยา เนื่องจากไม่ วางใจ พวกฝรั่งเศส ทำให้การแพทย์แผนตะวันตกเสื่อมสูญไปด้วย
ใน ..คำให้การขุนหลวง วัดประดู่ทรงธรรม กล่าวไว้ว่า ปลายสมัยอยุธยา บนตัวเกาะกรุงศรีอยุธยา มีร้านขายเครื่องสมุน ไพรให้แก่ชาวบ้านทั่วไป โดยระบุว่า ... ที่ถนนป่ายา มีร้านขายเครื่องเทศ เครื่องไทย ครบสรรพคุณยา ทุกสิ่ง ชื่อตลาดป่ายา 4 และยังได้กล่าวถึงโรงทำยาหลวง ซึ่งเรียกว่า " โรงพระโอสถ " ไม่น้อยกว่า 2 โรงว่า ... นอกประตูไพชยนต์นี้ มีโรงพระโอสถ 1 และมีโรงพระโอสถ ตั้งอยู่หน้าสวนองุ่น ( สวนองุ่นตั้งอยู่ ท้ายสระใหญ่ อันเป็นที่ตั้ง ของพระที่นั่ง บรรยงค์รรัตนาศน์ ) โรงพระโอสถหลวงนี้ นอกจากปรุงยา ใช้ในพระราชวัง แล้วยัง เตรียมยา สำหรับ ใช้ในกองทัพ เมื่อออกไป ทำสงครามด้วย
จากหลักฐานดังกล่าวข้างต้น สามารถให้ภาพระบบการแพทย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้เป็นอย่างดีว่า ส่วนใหญ่คนไทย นิยมการรักษา แบบการแพทย์แผนไทย มีร้านขายเครื่องสมุนไพร ทั้งไทยและจีน ตั้งอยู่ภานในและภายนอกกำแพงพระนคร.
สมัยกรุงธนบุรี ( พ.ศ. 2311-2325)
พ.ศ. 2312 เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงสถาปนาเมืองธนบุรี เป็นนครหลวง ทรงกำหนด เขตเมืองหลวงทั้งสอง ฝั่งให้แม่น้ำเจ้าพระยา อยู่ในเขตกลางเมืองหลวง วัดโพอาราม ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออก ของแม่น้ำเจ้าพระยา จึงอยู่ในเขตพระมหา นคร และได้ถูกยกขึ้นเป็นพระอารามหลวง มีพระราชาคณะ ครองตั้งแต่นั้นมา สันนิษฐานว่า อาจเนื่องมาจากเป็น ช่วงที่กำลัง กอบกู้เอกราช บันทึกความรู้ทางการแพทย์จึงถูกละเลยไป ไม่ปรากฏหลักฐานให้เห็นชัดเจน การที่กรุงศรีอยุธยาถูกพม่าเผา เป็นเหตุให้ตำรับตำราต่างๆ โดยเฉพาะทางการแพทย์ ที่เก็บรักษา ไว้ถูกทำลายเสียหาย เพราะถูกไฟเผา หรือกระจัดกระจาย ขาดหายไป ประกอบกับในสงคราม ย่อมมีผู้คนล้มตาย ซึ่งเข้าใจว่า คงจะมีแพทย์ ทั้งที่เป็นหมอหลวง หมอราษฎร์ รวมอยู่ด้วย แต่เชื่อว่า ความรู้ทางการแพทย์ ยังคงมีใช้กันอยู่โดยเฉพาะ ใช้ในการดูแลผู้บาดเจ็บจากสงคราม
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ( พ.ศ. 2325- ปัจจุบัน )
การแพทย์ไทยในสมัย รัตนโกสินทร์ มีแบบแผนการรักษา ได้รับการถ่ายทอดความรู้ มาจากสมัยอยุธยา โดยผ่านทาง ตำรายาและคัมภีร์ต่างๆ ซึ่งส่วนหนึ่งได้รับการสืบทอด มาจากแพทย์รุ่นก่อน และอีกส่วนหนึ่งได้มีการรวบรวม คัดลอกขึ้นมาใหม่ ในสมัยรัตนโกสินทร์ โดยการเรียกประชุม ให้แพทย์ และผู้มีความรู้นำตำรายา และคัมภีร์ แพทย์ที่มีอยู่ตามวัด บ้านเรือนราษฎร และที่เป็นสมบัติของแพทย์นำมาตรวจทาน แก้ไข เรียบเรียงขึ้นใหม่ โดยเลือกเอาแต่ตำรายา ที่เห็นว่า ดี และเชื่อถือได้มาคัด ลอกเก็บไว้ใช้ เป็นตำราในกรมหมอหลวง ซึ่งต่อมา ตำราเหล่านี้ ก็ได้ เป็นที่แพร่หลายโดยทั่วไป ผู้ที่มีส่วนสำคัญ ในการนี้ นอก จากเป็นผู้มีความรู้และแพทย์ทั้งหลายแล้ว พระเจ้าแผ่นดินก็ทรงเป็นผู้ที่มีบทบาท สำคัญ ด้วยเช่นกัน ซึ่ง จะได้กล่าวรายละเอียด ในแต่ละรัชกาลตามลำดับ
ตำราราและวิชาการแพทย์ที่ได้ มีการบันทึก เป็นวิธีหนึ่ง ซึ่งแพทย์ ใช้ในการถ่ายทอด ความรู้ให้แก่บุตรหลาน ของตน และ คนทั่วๆไป และในการบันทึกความรู้นี้ มีทั้งที่แพทย์ เป็นผู้บันทึกรวบรวม ความรู้ต่างๆ ขึ้นไว้ใช้สำหรับ เป็นบันทึก ช่วยจำสำหรับ ตนเอง เพราะการศึกษาวิชาแพทย์นั้นต้องเรียนรู้ ทั้งในเรื่อง สมุฎฐานการเกิดโรค รวมทั้งคุณสมบัติ ของสมุนไพร ที่ใช้ในการ รักษาโรคแล้ว ยังต้องเรียนรู้ การปรุงยา และการรักษาคนไข้ มีรายละเอียด มากเกินกว่าที่จะจดจำ ได้ทั้งหมด จึงต้องมีการบัน ทึกความรู้ต่างๆ ไว้ใช้สำหรับเป็นคู่มือของแพทย์เอง เมื่อใช้นานไป ก็กลายเป็นตำรา ซึ่งแพทย์รุ่นหลัง และคนทั่วไป นำมาคัด ลอกเก็บไว้ใช้สืบ ต่อกันมาเรื่องๆ ทำให้ความรู้ ทางการแพทย์ไทย สามารถ ถ่ายทอดความรู้ ไปยังคนรุ่นต่อๆไป ได
สมัยรัชกาลที่ 1 (พ.ศ. 2325-2352 )
- สมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฎิสังขรณ์ "วัดโพธ" ิ์ เป็นพระอารามหลวง ให้ชื่อว่า " วัดพระเชตุพน วิมลมังคลาราม " - รวบรวมและจารึกตำรายา ฤาษีดัดตน ตำราการนวดไว้ตามศาลาราย - จัดตั้งกรมหมอและโรงพระโอสถคล้ายในสมัยอยุธยา แพทย์ที่รับราชการเรียก หมอหลวง ส่วนหมอที่รักษา ราษฎรทั่วไป เรียก" หมอราษฎร์" หรือ " หมอ เชลยศักดิ์ "
เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ผู้ทรงเป็นพระปฐมบรมราชวงศ์จักรี ปราบดาภิเษกขึ้นเสวยราชสมบัติ ย้ายพระมหานคร มาตั้ง ณ ฝั่งตะวันออก ฝั่งเดียว และสร้างพระบรมมหาราชวังขึ้นใหม่ และได้ทรงปฎิสังขรณ์ วัดโบราณ ชื่อ วัดโพธาราม หรือ วัดโพธิ์ ขึ้นเป็นพระอารามหลวง ให้ชื่อว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม มีผู้สันนิษฐานว่า วัดโพธารามนี้ ได้ สร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2231-2246 ในสมัยสมเด็จพระเพทราชา ไม่ปรากฏผู้สร้างแน่ชัด แต่เป็นวัดที่ราษฎรสร้างขึ้น อยู่ที่ตำบล บางกอก ปากแม่น้ำเจ้าพระยา เมืองธนบุรี วัดนี้ผิดไปจากวัดอื่นๆ คือ แบ่งเป็น 2 ภาค เป็นพุทธาวาส หนึ่ง และสังฆาวาสอีก หนึ่ง นับได้ว่า เป็นจุดเริ่มวิวัฒนาการ ของการแพทย์แผนไทย เนื่องจากในรัชสมัยนี้ ได้โปรดๆ ให้รวบรวม จารึกตำรายา และ ฤาษีดัดตน ไว้ตามศาลาราย สำหรับการจัดหายา ของ ราชการ มีการจัดตั้ง กรมหมอโรงพระโอสถ คล้ายกับในสมัยอยุธยา ผู้ที่ ได้รับราชการ เรียกว่า " หมอหลวง " ส่วนหมอที่รักษาราษฎร์ ทั่วไป เรียกว่า " หมอราษฎร์ " หรือ " หมอเชลยศักดิ์ "
รูปแบบของการถ่ายทอดความรู้ในอดีตนั้น เน้นความสัมพันธ์ ส่วนตัว ระหว่าง ครูกับลูกศิษฐ์ จนกระทั่ง รัชสมัยพระบาท สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬโลก ทรงโปรดเกล้าๆ ให้ปฎิสังขรณ์ วัดโพธิ์ เพื่อให้เป็นสถานที่ เผยแพร่ความรู้ และเป็นประโยชน์ แก่ไพร่ฟ้า ประชาชน การถ่ายทอดความรู้ ทางการแพทย์ จึงเปลี่ยนรูปแบบไปสู่สาธารณชนมากขึ้น เพราะที่วัดโพธิ์ ประกอบ ไปด้วยแผ่นศิลา ที่จารึก สรรพศิลปวิทยาทั้งปวง สามารถเรียนได้จาก ศิลาจารึก นั้น เป็นต้นว่า โบราณคดี วรรณคดี กาพย์ โคลง ฉันท์ ช่างพระพุทธรูป ช่างปั้น ช่างแกะสลัก ช่างเขียน ช่างก่อสร้าง มีรูปหมอนวด ตำราแผนหมอนวด บอกทางที่อยู่ ของเส้นและภาพประกอบมากมาย หมวดบริหาร กายจารึก คำโคลง ฤาษีดัดตน มีภาพ ปั้นประกอบ หรือหมอยา ศิลาจารึก บอก สมุฎฐานของโรค วิธีรักษาโรคยาเด็ก และยาผู้ใหญ่ อย่างพร้อมมูล ตลอดจนใบไม้ ยาสมุนไพร ใช้ปรุงยา ที่หายาก ไม่ค่อย มี ผู้รู้จัก ก็นำมาปลูก ไว้เป็นอันมาก ตำรายามี คำอธิบาย บอกวิธีรักษา ไว้ครบถ้วน สมัยรัชกาลที่ 2 ( พ.ศ. 2352-2367 )
- พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมีพระบรมราชโองการให้ เหล่าผู้ชำนาญโรคและสรรพคุณยา รวมทั้งผู้มี ตำรา ยานำเข้ามาถวาย และให้กรมหมอลวงคัดเลือก ให้จดเป็นเป็นตำราหลวง สำหรับโรงพระโอสถ - พ.ศ.2359 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าๆ ให้ตรากฎหมายชื่อว่า " กฎหมายพนักงานพระโอสถถวาย "
เป็นรัชสมัยแห่งการฟื้นฟู เรื่องการแพทย์ เพราะพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงเห็นว่า คัมภีร์แพทย์ ณ โรงพระโอสถ สมัยอยุธยา หายไป จึงทรงค้นคว้าตำรายาจากที่ต่างๆ เพราะทรงวิตกว่า ตำราและคัมภีร์แพทย์ต่างๆ จะเสื่อมสูญ ดังนั้นในปีวอก จัตวาศก จุลศักราช 1174 พ.ศ.2356 ทรงมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าๆ ให้เหล่าผู้เชี่ยวชาญลักษณะโรค และสรรคุณยา รวมทั้งผู้มีตำรายาดีๆ นำเข้ามาทูลเกล้าถวาย และทรงโปรดๆ ให้ พระพงศ์นรินทรราชนิกูล พระโอรสในสมเด็จ พระเจ้ากรุงธนบุรี ซึ่งเป็นหมอหลวง สืบถาม และเลือกสรร ตำรายาดี จดเป็นตำราหลวง สำหรับโรงพระโอสถ ตำรานี้มีชื่อว่า ตำราพระโอสถครั้งรัชกาลที่ 2 ตำรานี้พิมพ์ครั้งแรกตรงกับปีมะโรง พ.ศ. 2459 โดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิร ญาณวโรรส โปรดให้พิมพ์ ส่วนการพิมพ์ ครั้งต่อๆมา ไม่ปรากฎหลักฐานชัดแจ้ง
นอกจากนี้ ในสมัยรัชกาลที่ 2 เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงพระอิสรียศ เป็น พระเจ้าลูกยาเธอ กรม หมื่นเจษฎาบดินทร์ ได้ทรงปฎิสังขรณ์ วัดจอมทอง แล้วถวายเป็นพระอารามหลวง ได้รับพระราชทานนามว่า วัดราชโอรส ในการปฎิสังขรณ์นี้ ทรงให้จารึก ตำรายา ตำราหมอนวด รูปปั้นฤาษีดัดตน ไว้ในกำแพงแก้ว ของพระวิหารและพระอุโบสถด้วย พ.ศ. 2359 มีพระราชโองการโปรดเกล้าๆ ให้ตรากฎหมาย ชื่อว่า กฎหมายพนักงานพระโอสถถวาย จากกฎหมายฉบับนี้ จะเห็นได้ว่า รัชกาลที่ 2 ทรงให้ความสำคัญกับการปรุงยามาก โดยจัดเป็นศิลปะ และศาสตร์ ชั้นสูง ผู้ที่ได้รับความไว้วางพระ ราชหฤทัย ในตำแหน่ง เจ้าพนักงานพระโอสถ ซึ่งมีหน้าที่ปรุงยา ต้องมีทั้งความซื่อสัตย์ ความละเอียด ถี่ถ้วน และต้อง ปรุงยา สม่ำเสมอ เป็นหน้าที่ ต้อง มีความรับผิดชอบสูงมาก ดังนั้นการศึกษาเพื่อเข้ารับราชกาล เป็นพนักงานพระโอสถ จึงน่าที่จำกัด อยู่ในวงศ์ตระกูลที่สืบเป็นมรดกตกทอดกันมา เท่านั้น ในการดูแลรักษาสุขภาพ สมัยรัชกาลที่ 2 ได้มีการแยกแพทย์ไทย เป็น 2 ประเภทคือ หลวง และหมอเชลยศักดิ์ การถ่ายทอดวิชาแพทย์ ก็เช่นเดียวกัน ที่ต้องศึกษา กันในตระกูล หรือ ในบางกรณีการถ่าย ทอดความรู้ ทางการแพทย์ ก็เกิดจาก เคยเป็นลูกมือ ( ศิษย์) ของหมออื่นมา เป็นเวลาหลายปี จนมีความคุ้นเคย เพราะเห็นการ รักษาพยาบาลมาก ส่วนอีกประเภทหนึ่งจะ เริ่มศึกษาจากตำราแพทย์ ด้วยตนเอง ทำความเข้าใจ และทดลองตามตำรา ใช้รักษา ตนเองก่อน จึงรับรักษาคนอื่นๆ ซึ่งหมอประเภทนี้ จะมีความชำนาญ และได้รับความเชื่อถือมาก เช่น ระยะเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้ง ที่ 2 เกิดภาวะขาดแคลนหมอ บุตรภรรยาของพระยาจันทบุรี ( กล่อม) ป่วยหาหมอ รักษาไม่ได้ ท่านจึงต้องศึกษาวิชาแพทย์ด้วย ตนเอง เป็นต้น
วิชาการถ่ายทอดวิชาแพทย์ เริ่มจาก ให้รู้จักต้นไม้ ใบยา และสรรพคุณสมุนไพร ก่อนแล้ว จึงศึกษาพระคัมภีร์แพทย์ หลังจากนั้น จึงฝึกหัดดูอาการไข้กับครู เพื่อแนะนำ เทียบอาการ จนคุ้นเคย จึงออกรักษาตามลำพัง ในการเรียน ไม่มีกำหนดเวลา ที่แน่นอน ไม่มีการวัดผลที่เป็นมาตรฐาน และไม่มีประกาศนียบัตร หรือเครื่องหมายใดๆ ที่แสดงให้เห็นว่า สำเร็จ การศึกษา หรือรับรอง ความสามารถ แต่ในกลุ่มหมอหลวง สิ่งที่พอ จะใช้วัดความสามารถของหมอ คือ บรรดาศักดิ์ ที่ได้รับ พระราช ทาน เช่น พระยา พระหลวง ขุน เป็นต้น
หมอหลวงและหมอเชลยศักดิ์ มีความแตกต่างกันดังนี้
หมอหลวง คือหมอที่เชี่ยวชาญ เป็นพิเศษ รับราชการสังกัด อยู่ในกรม ราชแพทย์ จึงเป็นข้าราชการที่มีศักดินา ได้รับพระราชทาน เบี้ยหวัด เงินปี ทำหน้าที่รักษา พระมหากษัตริย์ บุคคลต่างๆ ในราชสำนัก และรักษาตาม พระบรม ราชโองการ ของกษัตริย์ การศึกษา ของหมอหลวง จะเป็นระบบและน่าเชื่อถือ ให้คุ้นเคย กับการรักษาพยาบาล แล้วจะได้เลื่อน ขึ้นเป็นผู้ช่วยแพทย์ ติดตามหมอหลวง ไปทำการรักษา จนมีความชำนาญในการตรวจ ผสมยา เมื่อโตขึ้น ก็มีความรู้ พร้อมที่เข้า รับราชการได้ เมื่อมีตำแหน่งว่าง ในกรมหมอหลวง ก็จะ ได้รับการบรรจุเข้าทำงานทันที หมอหลวง จะได้รับสิทธิพิเศษ เหนือ กว่าหมอเชลยศักดิ์ หลายอย่าง เช่น สามารถเก็บสมุนไพรตาม บ้านราษฎร หรือในที่ใดๆ ก็ได้ โดยมี กระบองแดง เป็น สัญลักษณ์แสดง ถ้าสมุนไพร ชนิดใดขาดแคลน และหมอหลวงไม่สามารถ หาได้ในบริเวณ เมืองหลวง ก็จะมี สารตราในนาม เจ้าพระยาจักรี ออกไปยัง หัวเมือง ให้เก็บสมุนไพร ต่างๆ มายัง โรงพระโอสถ ในด้านรายได้ของหมอหลวง มักจะได้รับเงินเป็น จำนวนมาก จากการรักษา เจ้านาย หรือข้าราชการตาม พระบรมราชโองการ ถึงแม้ว่า โดยธรรมเนียม ประเพณีแล้ว หมอ หลวง ที่พระมหากษัตริย์ พระราชทานไปรักษานั้น จะไม่คิดค่ารักษาพยาบาล แต่คนไข้ ก็มักจะ จ่ายให้หมอ เป็นการแสดงความขอบคุณ เสมอ
หมอเชลยศักดิ์ ( หมอราษฎร์) คือหมอที่ไม่ได้รับราชการ ประกอบอาชีพ อิสระ ฝึกฝนเล่าเรียน จาก บรรพบุรุษ ที่เป็นหมอ อยู่ก่อน หรือศึกษาจากตำราแล้วทดลองฝึก หัดจนมีความชำนาญ เช่น หมอพื้นเมือง ทั่วไป ซึ่งส่วนใหญ่ จะเป็นหมอ ที่มีชื่อเสียง และมีลุกศิษย์ มาก ทั้งฆราวาส และพระสงฆ์ โดยทั่วไป หมอเชลยศักดิ์ มักจะเป็นผู้ชาย ( ยกเว้นหมอตำแย ซึ่งมัก จะเป็นหญิง สูงอายุ ) ทำหน้าที่ทั้งหมอและ เภสัชกร กล่าวคือ เมื่อตรวจไข้และ วินิจฉัยโรคแล้ว หมอคนเดียวกันนี้ จะทำการ ปรุงงยารักษาด้วย โดยหมอจะมีล่วมยา 1 ใบ ภายใน บรรจุซองยา สมุนไพร ชนิดต่างๆ เมื่อตกลงจะรักษาคนไข้รายใด ก็ให้เจ้า ของไข้ตั้งขวัญข้าว ซึ่งประกอบไปด้วย ข้าวสาร กล้วย หมากพลู และเงินติดเทียน หกสลึง สิ่งเหล่านี้เรียกว่า ค่าขวัญข้าว ใช้ สำหรับเป็นค่าบูชาครู แพทย์ ( ชีวกกุมารภัจจ์) หมออาจจะให้เจ้าของไข้ เก็บ เครื่องยาสมุนไพร ส่วนเครื่องเทศ หมอเรียกร้องเงิน ซื้อบ้าง ถ้าไข้ไม่สำคัญ คนไข้หายเร็ว เจ้าของไข้ก็ส่ง ขวัญข้าว ทั้งหมด ให้หมอ และให้ค่ายา อีก 3 บาท แต่ถ้าหมอรักษาไม่ หาย หมอจะไม่ได้อะไรเลย ไม่ว่าจะลงทุนไปแล้วเท่าไรก็ตาม ในรายที่คนไข้มีฐานะดี ผู้เป็นเจ้าของไข้เกรงว่า หมอจะทำการ ตรวจและรักษาไม่เต็มที่ ก็จะตั้งรางวัลไว้สูง หากหมอคนใด รักษาหาย ได้ ก็จะ ได้รับรางวัล ที่ตั้งไว้ นอกจากนี้ ในกรณี ที่หมอ มีชื่อเสียง บางครั้ง อาจมีการเรียกเก็บเงินก่อน ทำการรักษาพยาบาล เรียกว่า ค่าเปิดล่วมยา หมอเชลยศักดิ์ มีรายได้จากค่า ตอบแทนในการรักษาพยาบาลเท่านั้น ซึ่งแตกต่างกันไป แล้วแต่ละท้องถิ่น และไม่แน่เสมอไป ว่า จะได้เงิน ในกฎหมายสมัย ก่อน บัญญัติให้หมอ สามารถ เรียกสิ่งอื่น เป็นค่ารักษาได้นอกจากเงิน ในกรณี ที่ คนไข้ไม่มีเงิน ดังนั้น รายได้ของหมอเชลย ศักดิ์ จึงไม่แน่นอน มักจะประกอบอาชีพอื่นไปด้วย
หมอเชลยศักดิ์ นี้มีโอกาส เลื่อนเป็นหมอหลวง ได้ ในกรณีที่แสดงความสามารถ เป็นที่พอ พระราชหฤทัย พระมหากษัตริย์ ก็จะโปรดๆ ให้เข้ารับราชการ ในกรมหมอหลวง หรือ มีโอกาส เข้ารับราชการ เป็นหมอประจำเมือง ในกรมหมอหลวง ของเมือง ใหญ่ๆ เช่นเมือง นครศรีธรรมราช เป็นต้น หมอเชลยศักดิ์ มีทั้งที่เป็ฆราวาส และพระสงฆ์
ส่วนแพทย์ ที่ไม่ได้รับการแยกประเภท อย่างเป็นทางการ แต่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย ในชนบท อีก 2 ประเภท คือ หมอ กลางบ้าน และหมอพระ โดย หมอกลางบ้าน เป็นหมอที่มีความรู้ และทางยา พอใช้ได้ สามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บพื้นๆ ได้ อย่างดี ปัจจุบัน อาจเทียบได้กับหมอประจำตำบล ส่วนหมอพระ หรือหมอวัด ซึ่งสังคมปัจจุบัน มองข้ามบทบาท และความ สำคัญ หมอเป็นพระ ที่มีความรู้ทางแพทย์แผนไทยย พอสมควร มีความเมตตา และไม่ประสงค์ สินจ้าง ยาที่ใช้มาก เช่น ยาเขียว ยาลม ยาธาตุ ๆ เป็นต้น
สมัยรัชกาลที่ 3 ( พ.ศ. 2367-2394)
- พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฎิสังขรณ์วัด พระเชตุพนวิมลมังคลาราม อีกครั้ง - ทรงประกาศให้ผู้มีตำรับตำรายาโบราณ ทั้งหลาย ที่มี สรรพคุณดี และเชื่อถือได้ นำมาจารึกเป็นหลักฐานบนหินอ่อน ประดับไว้บนผนังพระอุโบสถ ศาลาราย เสา และกำแพงวิหารคต รอบ พระเจดีย์สีองค์ และตามศาลา ต่างๆของวัดโพธิ์ การจารึกนี้เป็นตำรา บอกสมุฎฐานของโรคและวิธีการรักษา และยังได้ จัดหาสมุนไพรที่ใช้ปรุงยา และหายากมาปลูกใน วัดโพธิ์ เป็นจำนวนมาก - ทรงให้ปั้นรูปฤาษีดัดตน ในท่าต่างๆ เพื่อช่วยให้ผู้ประสงค์จะฝึกตนเป็นแพทย์ หรือ หาทางบำบัด ตน ได้ศึกษา เป็น สาธารณะทาน - โปรดเกล้าๆ ให้มีการจัดตั้ง โรงเรียนแพทย์แผนโบรารแห่งแรก คือ " โรงเรียนแพทย์ แผนโบราณวัดโพธิ์ " - รัชสมัยนี้ มีการนำเอาการแพทย์แผนตะวันตกเข้ามาเผยแพร่ โดย คณะ มิชชั่นนารี่ ชาว อเมริกัน ชื่อ หมอ บรัดเลย์ มีการปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ การใช้ยาเม็ดควินิน รักษาโรค ไข้จับสั่น เป็นต้น
ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีมิชชันนารี โปรแตสแตนท์ คณะแรกเข้ามาในกรุงเทพ โดย ทุน สมาคมมิชชันนารี ลอนดอน ได้ทำการเผยแพร่ศาสนาและ แจกยารักษาโรคด้วย
การแพทย์แผนตะวันตก ได้ถูกนำมาเผยแพร่อีกครั้ง ใน พ.ศ. 2371 โดยรุ่นแรกคงทำ แต่เพียงแจกยา และ แจกหนัง สือทางศาสนา ที่แปลไว้แล้วเป็นภาษาจีน
พ.ศ. 2374 มิชชันนารีอเมริกันมากรุงเทพๆ ได้นำยาเข้าด้วยเป็นจำนวนมาก แจกจ่ายยา ให้คนไข้ที่มารับการรักษา ที่บ้านพัก พร้อมกับเผยแพร่ศาสนาไปด้วย
ประมาณปี พ.ศ. 2375 รัฐบาลไทยมีประกาศ ห้ามราษฎรรับหนังสือแจก จาก มิชชันนารี ด้วยเกรงว่า คนไทยจะเข้าไป รีตกันหมด ( เปลี่ยนไปนับถือคริสตศาสนา)
รัชกาลที่ 3 ทรงให้ปฎิสังขรณ์วัด พระเชตุพน วิมลมังคลาราม อีกครั้ง เมื่อวันพุะ เดือน 10 แรม 10 ค่ำ ปีมะโรง พ.ศ. 2375 เพื่อเป็นการสนองพระเดชพระคุณ เชิดชูพระเกียรติสมเด็จพระไอยกาธิราช( รัชกาลที่ 1 ) ให้ยืนยงคงอยู่ชั่วกาลนาน นอก จากนี้ ยังมีพระราชประสงค์ ที่รวมบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ ในด้านต่างๆ รารวมกัน เพื่อถ่ายทอดวิชา ความูไว้ให้อนุชน รุ่นหลัง และที่สำคัญ คือ พระราชประสงค ์ จะฟื้นฟู ทางด้านจิรยธรรม ของ ประชาชน และเป็นแหล่งรวบรวม ความรู้ต่างๆ ของ ไทย การบูรณปฎิสังขรณ์ ครั้งนี้ห่างจากครั้งแรกประมาณ 40 ปี ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าๆ ให้รวบรวม เลือกสรรตำรับตำรา ต่างๆ ซึ่งสมควร จะเล่าเรียน เป็นชั้นวิสามัญ ศึกษามาตรวจตราแก้ไข ของเดิมบ้าง หรือประชุมผู้รู้หลักในวิชานั้นๆ ให้แต่งขึ้น ใหม่บ้าง แล้วโปรดให้จารึกแผ่นศิลา ประดับไว้ในบริเวณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม มีรูปเขียนและรูปปั้นประกอบกับตำรา นั้นๆ เพื่อคนทั้งหลาย ไม่เลือกว่า ตระกูลชั้นใดๆ ใครมีใจรักวิชาอย่างใด ก็สามารถ เล่าเรียน ได้จากศิลาจารึกที่วัดพระเชตุพน
การศึกษาวิชาแพทย์แผนไทยนั้น ถ้าไม่ใช่ผู้ที่อยู่ในตระกูลแพทย์ หาก ต้องการศึกษา หาความรู้ ทางด้านนี้ ก็จะต้องเป็น ผู้ที่มีความมะนะ อดทนเป็นอย่างมาก เนื่องจากคนไทยไม่นิยม ถ่ายทอดความรู้ ให้ผู้อื่น ที่ไม่ใช่ลูกหลานในตระกูลของตน ดัง นั้นการฝากตัวเป็นศิษย์ จึงไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องผ่านขั้นตอนต่างๆมากมาย กว่าที่ครูแพทย์ จะยอมรับ เป็น ศิษย์ และถ่ายทอดวิขา ความรู้ให้ การศึกษา วิชาแพทย์มิใช่ของง่าย ต้องอาศัยความมะนะ บากบั่น อดทน และพากเพียร เป็นเวลาแรมปี เพื่อจะได้ จดจำคำสั่งสอน ของอาจารย์ ชนิดต่อปาก ต่อคำ มาท่องจำให้ขึ้นใจ ผู้ที่ทำตัวไกล้ชิด กับบิดาผู้เป็นอาจารย์ หรือลูกศิษย์ ที่มา สมัคร เรียน จะต้องสนในปรนนิบัติ และคอยติดตามถามไถ่ เวลาที่ท่านออกไปรักษาคนไข้นอกสถานที่ ก็ต้องคอยติดหน้า ตามหลัง อยู่เสมอ มิได้ขาด เพื่อที่จะได้เรียนรู้ หาความชำนาญ ในการสังเกตุอาการคนไข้ ท่านผู้เป็นอาจารย์ ก็จะอธิบาย ให้ รู้ถึงตั้งแต่แรกเกิดโรค รู้จักชื่อโรค ที่เกิดขึ้น รู้จักยาสำหรับบำบัดโรค รู้ว่ายาใด ควรจะแก้โรคอย่างใด อันนี้ เป็นกิจ ที่จะต้อง เรียนรู้ ให้แม่นยำ
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า นโยบาย การตั้งตำรับยา และฤาษีดัดตน ขึ้นไว้เป็นทาน ของ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว นั้นเป็นคุณูปการ อย่างใหญ่หลวง ที่ทำให้การถ่ายทอดความรู้ทางด้านการแพทย์แผน ไทย มิได้หยุดยั้ง เพียงในรัชสมัย ของทั้งสองพระองค์เท่านั้น หากยังสืบสาน มาจนกระทั่งทุกวันนี้ก็ด้วย วิธีการที่ พระองค์ ท่าน โปรด ให้บันทึกความรู้ ต่างๆ เหล่านี้ไว้บนแผ่นศิลา เพราะไม่เพียงแต่จะทำให้องค์ ความรู้ต่างๆ ที่ถูกบันทึกลงไปได้เผยแพร่ แก่ประชาชนทั่วถึงแล้ว แผ่นศิลาจารึกเหล่านั้น ยังเปรียบเสมือนเป็นบันทึกทางการแพทย์ ซึ่งได้รวบรวม องค์ความรู้ต่างๆ ไว้ เพื่อถ่ายทอดให้คนรุ่นหลังสามารถมาใช้เป็น ที่ ศึกษาหาความรู้ได้ ซึ่งเท่ากับเป็นการอนุรักษ์ วิชาความรู้ ทาง ด้านการแพทย์ แผนไทยไว้ และในขณะเดียวกัน ก็เป็นแหล่งการเผยแพร่ความรู้เหล่านั้นออกไปด้วย เนื่องจากศิลาจารึกเหล่านี้ เป็นวัสดุ ที่เสื่อม สลายได้ยาก ดังนั้น องค์ความรู้ส่วนใหญ่ ที่ได้ถูกบันทึกไว้เป็นเวลากว่า 200 ปี มานี้ จึงยังสามารถ ตกทอด มาถึงในสมัย ปัจจุบัน แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมา ความสนใจ ที่จะศึกษา วิชาการด้านการแพทย์แผนไทย จะได้ชะงักไปช่วงหนึ่ง ก็ตาม
ตำราศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ( วัดโพธิ์) ที่รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าๆ ให้จารึกไว้เมื่อ พ.ศ. 2375 และ ในพ.ศ.2505 สมเด็จพระวันรัต ( ปุ่น ปุณณสิริ ) ได้ขอให้โรงเรียนแพทย์แผนโบราณวัดพระเชตุพน ๆ จัดพิมพ์ ไว้ เพื่อรักษาต้น ฉบับเดิมมิให้สูญหาย เนื้อหาของตำรายา จะกล่าวถึงอาการของโรคก่อน มีการแก้ด้วยวิธีไสยศาสตร์ และมียาแก้ ซึ่งมักมีหลาย ขนานสำหรับใช้เป็นลำดับรองลงมา เมื่อยาขนานแรกๆ ไม่ได้ผล ยา แต่ละขนาน ประกอบด้วยยา สมุนไพร มีทั้งพืชวัตถุ สัตว์ วัตถุ หลายชนิด ตั้งแต่ 10 กว่าชนิดขึ้นไปจนถึง 50 ชนิด แต่ไม่กล่าวถึงสรรพคุณยาสมุนไพร แต่ละชนิดเดี่ยวๆ
ความรู้ในวัดโพธิ์ แบ่งได้ 3 หมวดใหญ่ดังนี้ คือ 1. วิชาหนังสือ อธิบายลักษณะกาพย์ กลอน โคลง ฉันท์ กลอนกลบท และ โคลงกลบทต่างๆ พร้อมทั้งตัวอย่าง เนื้อเรื่องประกอบด้วยสุภาษิตทั้งนั้น 2. วิชาแพทย์ มีตำรายาแก้โรคต่างๆ ตำราหมอนวด มีภาพ และรูปประกอบ พันธ์ไม้สำหรับ ใช้ทำยาต่างๆ ก็ได้ทรง โปรดให้นำมาปลูกไว้เป็นตัวอย่าง 3. วิชาช่าง ได้แก่ ช่างเขียน และลาย ข่างปั้น ช่างแกะสลัก ช่างประดับ ซึ่ง เป็นฝีมือสำหรับ ที่จะนำไปใช้เป็นแบบ อย่างได้
แม่กองในการปฎิสังขรณ์วัดพระเชตุพนๆ คือ พระยาศรีพิพัฒน์ กับพระยา เพ็ชรพิไชย โดยมี กรมหมื่นนุชิตชิโนรส เป็น ผู้ควบคุมในด้านจารึก รายละเอียดเกี่ยวกับผู้แต่งจารึก วัดพระเชตุพนๆ ด้านการแพทย์ เฉพาะที่ ระบุ ไว้ในจารึก จดหมายเหตุ เรื่องการปฎิสังขรณ์ วัด พระเชตุพนๆ มีผู้แต่งทั้งหมด 37 ท่าน ซึ่งของกล่าวถึงเพียง 3 ท่านคือ
1. พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว : โคลงฤาษีดัดตน 1 ดัดตนแก้ขี้เกียจ 2.ดัดตนเอวขดขัดขา 3. ดัดตนแก้ลมในอกในเอว 4. ดัดตนแก้ขัดเอว 5. ดัดตนแก้ลมปวดศีรษะ 2. กรมหมื่นนุชิตชิโนรส : โคลงฤาษีดัดตน 1. ดัดตนแก้ซ้นเท้า 2. ดัดตนแก้ปวดท้อง แก้ข้อเท้า 3. ดัดตนแก้เสมหะในลำคอ ดัดตนแก้ลมในแขน 4. ดัดตนแก้ลมในอก 5. ดัดตนแก้ไหล่ แก้ท้อง 6. ดัดตนแก้วิงเวียนศีรษะ 3. กรมหมื่นไกรสรวิชิต : โคลงภาพฤาษีดัดตน 1. ดัดตนดำรงกายอายุยืน 2. ดัดตนแก้ขา
ความรู้ทางด้านการแพทย์แผนไทย ที่จารึกไว้ในวัดพระเชตุพนๆ
สาขาความรู้
สื่อความรู้
แหล่งความรู้



ด้านการแพทย์


สาขาพลานามัย กายภาพบำบัด


- รูปฤาษีดัดตน 82 รูป
รูปหล่อด้วยสังกะสีผสมดีบุก
เฉลียงศาลารายทุกแห่ง
- โคลงฤาษีดัดตน
ศิลาจารึก
ผนังศาลารายรอบวัด
- รูปคนแสดงแผนนวด 60 รูป
ภาพเขียน
ศาลาหน้ามหาเจดีย์หลังเหนือ



สาขาเภสัชศาสตร์


- พันธุ์ไม้และสรรพคุณยาต่างๆ
พันธุ์ไม้สมุนไพร
ปลูกรายทั่วๆไป ตามประตู และกำแพง


วัด
- ตัวยาและส่วนผสมสำหรับรักษาโรคต่างๆ
ศิลาจารึก
ศาลาหน้ามหาเจดีย์ทั้งหลังเหนือและหลังใต้



สาขาการแพทย์


- อาการไข้และตัวยาในการรักษา
ศิลาจารึก
ศาลาหน้ามหาเจดีย์ ทั้งหลังเหนือและหลังใต้
การจารึกตำรายา บนแผ่นศิลานี้ มิใช่มีแต่ที่วัดพระเชตุพนๆ เท่านั้น แต่ยังได้มี การจารึก ตำรายาไว้ในลักษณะเดียว กันนี้ ที่วัดราชโอรส ด้วย แต่มีจำนวนน้อยกว่า เพราะจารึก ตำรายาวัดราชโอรส น้น ทำขึ้นตั้งแต่สมัยที่ พระบาทสมเด็จพระนั่ง เกล้า ๆ ยังดำรงพระยศ เป็นพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ( พ.ศ. 2364 ) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสนพระทัยใน ด้านการแพทย์ ของพระองค์ ที่ทรงโปรดเกล้าๆ ให้จารึกตำรายาไทย บนแผ่นหินอ่อน รูปสีเหลี่ยม ผืนผ้า กว้างประมาร 30 ซม. ในแผ่นศิลาที่มีทั้งรูปกลม และรูปไข่ประดับ บนกำแพง พระวิหารพุทธไสยาสน์ และที่ศาลารายเล็ก ปลูก ติกกับกำแพงแก้ว หน้า พระอุโบสถ มีตำรายาต่างๆ ร่วมร้อยขนาน เพื่อเป็นวิทยาทาน แก่พสกนิกร ที่จะได้นำไปใช้ ประโยชน์ ในการ รักษา และเป็น การอนุรักษ์ ตำรายาไทย มิให้สูญสิ้นไป

รัชการที่ 4 ( พ.ศ. 2394- 2411 )
- พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยุ่หัว ได้มีการนำการแพทย์แผนตะวันตกมาใช้มาก ขึ้น แต่พระองค์ก็ยัง สนพระทัยในวิชาการ แพทย์แผนโบราณ เพราะสมัยนี้ พระองค์ ตั้ง ธรรมยุตินิกายขึ้นมา พราะส่วนใหญ่ จะถือธุดงค์ เป็นพระป่า ไม่อยุ่ในบ้านหรือเมือง ดังนั้นจึง จำเป็น ต้อง รู้เรื่องสมุนไพร และหยูกยาการรักษา ครูบาอาจารย์สอนหนังสือ และ เป็นพระปฎิบัติด้วย เพื่อ ช่วยประชาชน เพราะสมัย นั้น พระกับประชาชนจะอยู่ด้วยก้นแยกกันไม่ออก
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นยุคที่ประเทศชาติได้ เริ่มเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง เข้าสู่ยุคใหม่ อย่างกว้างขวาง โดยหันมามุ่งพัฒนาตามอย่าง วัฒนธรรมตะวันตก เป็นยุคแห่งการเปิดประเทศ เปิดประตูการค้า ครั้งใหญ่ ซึ่ง มีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ คาดว่า การแพทย์ตะวันตก ที่เริ่มเข้ามาในปลายรัชกาลที่ 3 ได้รับการสนับสนุนใน รัช กาลที่ 4 นี้ เช่น ในด้านการสูติกรรม แบบตะวันตก แต่ไม่สามารถชักจูงให้ราษฎรเปลี่ยนความนิยมได้ เพราะการรักษาพยาบาล แผนไทย เป็นจารีตประเพณี และวัฒนธรรม ที่สืบเนื่องกันมา จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนไทย แพทย์ตะวันตก ที่รัชกาลที่ 4 ทรงโปรดมาก คือ นายแพทย์แซมมวง เรย์โนลด์ เฮ้าส์ เรียกกันว่า "หมอ เหา"
ในรัชสมัยนี ถึงแม้ว่า พระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ และขุนนางชั้นผู้ใหญ่ จะนิยมการแพทย์แผนตะวันตก แต่สำ หรับราษฎร โดยทั่วไป แล้ว ยังนิยมใช้การแพทย์แผนไทย ในการรักษา ความเจ็บไข้ได้ป่วยอยู่
สมัยรัชกาลที่ 5 ( พ.ศ. 2477- 2489 ) - พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปี พ.ศ.2431 จัดตั้งศิริราชพยาบาล และมีการเรียนการสอน และให้การ รักษา ทั้งการแพทย์แผนไทย และแผนตะวันตก ร่วมกัน - มีการพิมพ์ตำราแพทย์สำหรับใช้ในโรงเรียนแพทย์ เป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2438 ชื่อตำรา แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 1-4 - ต่อมาพระยาพิษณุประสาทเเวช เห็นว่าตำรานี้ยากแก่ผู้ศึกษา จึงพิมพ์ตำรา ขึ้นใหม่ ได้แก่ ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ฉบับหลวง 2 เล่ม และตำราแพทยศาสตร์สังเขป (เวชศึกษา) 3 เล่ม
พระองค์ สนพระทัย ในตำรา และคัมภีร์ แพทย์ จึงได้พระกรุณาโปรดเกล้าๆ ให้ พระบรมวงศ์เธอ กรมหมื่น อักษรสาสน์โสภณ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นภูบดีราชหฤทัย พระยาอมรศาสตร์ประสิทธิศิลป์ หลวงกุมารแพทย์ หลวง กุมารเพชร ขุนกุมารประเสริฐ และ ขุนเทพกุมาร เป็นคณะกรรมการตรวจสอบ ชำระคัมภีร์ แพทย์ทั้งมวล
อนึ่ง คำว่า " คำภีร์แพทย์ พระตำรา และ ตำรา " คือ ตำรายาเดิมที่ได้จารึก เป็นอักขระ ในใบลาน เหมือนพระคัมภีร์ ธรรมะ ( คัมภีร์เทศน์) เมื่อเป็นเล่มลาน ( ผูก ) บรรจุวิชา แพทย์ จึงเรียกว่า คัมภีร์แพทย์ คัมภีร์เดิม โดยมาก เป็นภาษาขอม มคธ เมื่อท่านอาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญ ได้แปล คัดลอกใหม่ ลงในสมุดข่อย เรียกว่า ตำรา การที่ใช้ คำนำ พระ ลงไปข้างหน้า นั้น ก็ ด้วยเหตุมีลักษณะ คล้ายพระคัมภีร์ธรรมะ ท่านอดีตแพทย์ เห็นความศักดิ์สิทธิ์ ของตำรา จึงเรียกนามยกย่อง ด้วยความเคารพ บูชา เก็บไว้ในคลังพระตำรา ซึ่งเรียกว่า คลังพระตำรา หลวงข้างพระที่ เมื่อได้ประทานให้ใครก็เป็นพระตำราไปหมด กรรมการ คณะนี้ได้จัดการสอบชำระพระคัมภีร์ แพทย์ทั้งมวลให้ถูกต้อง มีหลักฐานจดบันทึก ไว้ในหอสมุดหลวง แต่คง ใช้กันในหมู่แพทย์ หลวงโดยมาก
นับว่า เป็นสมัยที่มีการอัญเชิญ ประวัติคัมภีร์แพทย์ อันเป็นตำราไทยหลายสมัยที่ ใช้ต่อกันมา และอยู่กระจัดกระจาย ตาม ที่ต่างๆ มารวมกัน มีการตรวจสอบให้ตรงกับของดั้งเดิม และมีหลักฐานจดบันทึกไว้ในหอพระสมุดหหลวงพระคัมภีร์แพทย์ ของ อาจารย์แต่ละท่าน มักกล่าวถึง อาการของโรค วิธีรักษา ตำรายา ที่จะต้องใช้และสรรพคุณยา ไว้พร้อมมูล พระคัมภีร ์ ประถมจินดา กล่าวถึงการปฎิสนธิของทารก การเกิดโลหิตระดูสตรี กำเนิดโรค กุมารและยารักษา พระคัมภีร์ตักกศิลา กล่าว ถึงบรรดาไข้พิษ ทั้งปวง พระคัมภีร์กษัย กล่าวถึงโรคภัย 26 ประการ เป็นต้น นอกจากนี้ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ ซึ่งทรงเป็น หมอหลวงและยังทรงกำกับกรมหมอหลวง ทรงเอาพระทัยใส่ ในเรื่อง เสาะแสวงหาร ตำรายาดี อยู่เสมอ ทั้งยาไทย และยาฝรั่ง ได้คัดเลือก ตำรายา ที่ว่าดี รวมไว้ เรียกว่า " ตำรายาพระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ "
ในรัชสมัยนี้ วิชาแพทย์แผนไทย ได้รับการฟื้นฟู และสนับสนุนอย่างเต็มที่ มีการ สอนและฝึกหัด วิชาแพทย์แผนไทย ในสำนักกรมแพทย์ พระราชวังบวร ( กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ ) ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า เป็นโรงเรียน แพทย์ ที่เกิดก่อน โรงเรียน แพทยากร ที่ศิริราช เสียอีก ถึงแม้ว่า ในยุคนี้ จะได้รับอิทธิพล จากการแพทย์ตะวันตกมากขึ้นทุกที แต่คนไทยก็ยังนิยม หมอ ไทยและกลัวหมอฝรั่ง แม้ว่า ในเวลาต่อมา จะมีการสร้าง โรงพยาบาลศิริราช ขึ้นในปี พ.ศ. 2430 สำหรับรักษาประชาชนทั่วไป แต่ก็ต้องออกอุบาย รวมทั้งแจกจ่ายเงินทอง และสิ่งของ เพื่อชักชวน ให้ไปโรงพยาบาล หลังจากโรงพยาบาลศิริราช ได้จัดตั้งขึ้น มาเป็นเวลา 2 ปี เกิดปัญหา เนื่องจาก ขาดแคลน ผู้ที่จะทำหน้าที่แพทย์ ดังนั้นในปี พ.ศ. 2432 พระเจ้า บรมวงศ์เธอ กรมพระยา ดำรงราชานุภาพ จึงทรงตั้งโรงเรียนฝึกหัดแพทย์ขึ้น ( ต่อมาในปี พ.ศ. 2443 ได้ยกขึ้นเป็นโรงเรียนแพทยาลัย ) หลักสูตรการ เรียน มีกำหนด 3 ปี ระยะแรก การเรียนและการบริการ มีทั้งแพทย์ฝรั่ง ซึ่งให้การรักษา พยาบาลตามแบบอย่างตะวันตก และ แพทย์ไทย ที่ใช้ยาไทย รักษาโรค โดยให้การรักษา ควบคู่กันไปตามความสมัครใจ ของผู้ป่วย ที่จะเลือกรับบริการได้ตามใจชอบ เหตุผลที่เอาการแพทย์แผนไทย มารวมด้วย กล่าวว่า เป็นเพราะแพทย์ตะวันตกหายาก จึงเอาแพทย์ไทยมาประจำที่โรงพยาบาล ด้วย เมื่อเปิดโรงเรียนแพทย์ขึ้น จึงมีการ เปิดสอนการแพทย์ทั้ง 2 แผนควบคู่กันไป
กิจการแพทย์และสาธารณสุข ที่มิชชันนารี มีส่วนช่วยเหลือ
ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กิจการแพทย์ และ สาธารณสุข ทั้งแผนไทย และแผนตะวันตก ได้ รับ ความช่วยเหลือ หลายอย่าง จาก คณะมิชชันนารี ดังนี้
1. การศึกษาแพทยศาสตร์ พ.ศ. 2432 รัฐบาลเปิดโรงเรียนแพทยากร 2. การผดุงครรภ์แผนปัจจุบัน หมดบรัดเลย์ ให้เลิกการอยู่ไฟ และ พ.ศ. 2439 ตั้ง โรงเรียนผดุงครรภ์ขึ้นที่ศิริราช 3. การศึกษาวิชาพยาบาล พ.ศ. 2439 ตั้งโรงเรียนพยาบาลผดุงครรภ์ และอนามัยที่เชียงใหม่ นับเป็นโรงเรียนพยาบาลแห่งแรกในส่วนภูมิภาค 4. การผลิตยาตำราหลวง พ.ศ. 2444 ได้มีการผลิตยาตำราหลวง เป็นครั้งแรก 8 ขนาน คือ ยาแก้ไข้ ( ควินิน) ยาถ่าย ยาแก้ลงท้อง ยาแก้โรคไส้เลื่อน ยาแก้โรคบิด ยาบำรุงโลหิต ยาแก้คุดทะราดและเข้าข้อ และยาแก้จุกเสียด ( โซดามินท์)
มีการพิมพ์ตำราแพทย์ สำหรับใช้ในโรงเรียนเล่มแรก ชื่อ " แพทยศาสตร์สงเคราะห์ " ขึ้นในปี พ.ศ. 2432 พิมพ์เป็น ตอนๆ แบ่งออกเป็นภาคเนื้อหา มีทั้งการแพทย์แผนไทย และตะวันตก ตำราชุดนี้ พิมพ์ออกมาได้เพียง 3 เล่มเท่านั้น ปัพ.ศ. 2444 เจ้าพนักงานกรมการพยาบาล ของกระทรวงธรรมการ ดำริว่า โรงเรียนราชแพทยาลัย ตั้งมาได้ 12 ปีแล้ว แต่ยังไม่มีหลักตำราสาธารณประโยชน์ แก่แพทย์ และ มหาชน ทั้งหลาย ที่จะระวังรักษาร่างกาย เพราะฉะนั้น จึงได้รวบรวม พระ คัมภีร์ แพทย์ไทยทั้งปวง ขึ้น และตำราแพทย์ฝรั่ง บรรดาที่สอนอยู่ในโรงเรียน เป็นต้นว่า พระตำรา หลวง ที่ตรวจสอบแล้วเช่นที่ กล่าวถึงพระคัมภีร์ ประถมจินดา ธาตุอภิญญาณ ธาตุบรรจบ ๆลๆ กับทั้งตำราตรวจโรคและรักษาไข้ต่างๆ ที่แพทย์โรงพยาบาล ได้เรียบเรียง ขึ้นใหม่ โดยได้พบปะและตรวจรักษา พยาบาลมาแล้ว หรือที่กำลังทำการรักษาอยู่รวมข้อความโดยละเอียด ออก พิมพ์ ให้ชื่อว่า " ตำราแพทยศาสตร์ " พิมพ์เป็นเล่มต่างๆ ต่อจากตำราแพทยศาสตร์สงเคราะห์ ที่เลิกล้มไป
หลังจากมีการจัดตั้ง เวชศาสตร์สโมสร ขึ้น กระทรวงศึกษาธิการ ได้ร่วมกันจัดพิมพ์ตำรา แพทย์ขึ้นอีก ใน พ.ศ. 2447 ให้ชื่อว่า " ตำราแพทยศาสตร์สงเคราะห์ ตามฉบับ แรก แต่เนื้อหา กล่าวถึงวิธีและตำรับยา ของแพทย์ตะวันตก เกือบทั้งหมด มียาไทยแทรกอยู่บ้าง ก็เพราะ หายาฝรั่งแทนไม่ได้เท่านั้น ผู้จัดการพิมพ์ คือ ร.อ. ดำรงแพทยคุณ ออกเป็นรายเดือน ปีละ 12 เล่ม พิมพ์ออกมาได้เพียง 4 เล่ม ก็ล้มเลิกไป เพราะทุนหมด และยกไปพิมพ์ รวม อยู่ในจดหมายเหตุ ของ หนังสือพิมพ์ วิทยา วิจารณ์ เป็นอันว่า พระคัมภีร์แพทย์และตำรายาไทย ในนาม ของแพทศาสตร์ ต้องล้มลุกคลุกคลาน มาจนตั้งตัวไม่ติด ในที่สุด ก็สลายตัวไป แม้ว่าตำราเรียนที่พิมพ์ขึ้นใหม่ ก็เป็นตำรายาเทศไปหมด รวมทั้งวิชาเภสัชพืชสมุนไพร ของ นักเรียนแพทย์แผน ปัจจุบัน ก็ไม่เห็นมีตำราสมุนไพรไทย ด้วย จะเห็นว่า สมุนไพรในเมือง ไทยไม่มีมาตราฐาน หรือหลักฐาน อันแน่นอน อย่างไร ยังไม่ทราบสาเหตุ
1 มีนาคม 2450 มีการพิมพ์ตำราออกมา 2 เล่ม คือ ตำราเวชศาสตร์วรรณา ซึ่งกล่าวถึง คัมภีร์แพทย์ไทยต่างๆ และ ตำราแพทยศาสตร์สงเคราะห์ ฉบับหลวง 2 เล่ม ประกอบด้วยคัมภีร์ แพทย์ไทยแท้ 10 คัมภีร์ คือเป็นตำรายาแห่งชาติฉบับแรก
เล่ม 1 กล่าวถึง พระคัมภีร์ ต่างๆ เช่น พระคัมภีร์ฉันทศาสตร์ พระคัมภีร์ประถมจินดา พระคัมภีร์ธาตุวิภังค์ ซึ่งตำรานี้ ระบุถึงสาเหตุ แห่งการเกิดโรค อาการของโรค การรักษา และสมุนไพรที่ใช้ เช่น ถ้าหญิงคลอดบุตร และรกขาดอยู่ในครรภ์ ให้ เอายอดฝ้ายแดง 7 ยอด พริกไทย 7 เม็ด ขิง 7 ชิ้น กระเทียม 7 กลีบ บดด้วยสุรา กินเป็นยาสะเดาะรก ในตอนท้าย เล่ม มี คัมภีร์ สรรพคุณ กล่าวถึงพฤกษชาติ และว่านยา อันมีประโยชน์ แต่ละชนิด ไป และส่วนต่างๆ ของพืช ใช้ประโยชน์อะไรบ้าง เช่น พริกไทยใช้ใบ เมล็ด ดอก และเครือ มี สรรพคุณต่างกันไป นอกจากนี้ ยังกล่าวถึงพิกัดยา ได้แก่ เบญจกูล ตรีผลา ตรีกฎุก ตรีสาร ๆลๆ ว่าประกอบด้วยตัวยาอะไรบ้าง ตลอดจนสรรพคุณ กล่าวถึงสรรพคุณ ของโกฐทั้งหลาย เทียนทั้งหลาย ๆลๆ คล้ายตำราสรรพคุณยา ของ กรมหลวงวงษาธิราช
เล่ม 2 มีพระคัมภีร์ สมุฎฐาน วินิจฉัยและมียาเป็นหมู่ๆ มีชื่อต่างๆ ซึ่งประกอบด้วยตัวยาหลายชนิด และสรรพคุณของยา หมู่นั้นๆ เช่น ยาปารสุกาทิคณะ มีตัวยาซึ่งเอาแต่ผล 8 สิ่ง สิ่งใช้แก้ลม ให้ชื่นใจ ให้เจริญอาหาร แก้กระหายน้ำ แก้โทษปัสสาวะ มีพระคัมภีร์มหาโชติรัต กล่าวถึงยาชื่อต่างๆ และยาแก้อาหารต่างๆ เช่น ยากำลังราชสีห์ มีคัมภีร์ชวตาร กล่าวถึงยา ชื่อต่างๆ เช่น ยาชื่อเขียวประทานพิษ มีตัวยา ถึง 80 สิ่ง ใช้แก้ลม ต่างๆ นอกจากนี้ ยังมีคัมภีร์ อื่นๆ อีกหลายคัมภีร์ บางคัมภีร์ กล่าวว่า เป็นของพระอาจารย์ โกมารภัจจ์ ลักษณะของคัมภีร์ เหล่านี้ ก็เหมือนๆ กับคัมภีร์ที่กล่าวไป แล้ว คือ มีลักษณะโรค และบอกยา ที่ใช้รักษา หลายขนาน
ตำราเวชศาสตร์วรรณา นี้เรียบเรียง โดย ท่านเจ้าคุณประเสริฐศาสตร์ธำรง ( คุณหมอหนู) เพื่อใช้สอนแก่นักเรียน แพทย์ ตำราเล่มนี้ กล่าวถึงพระคัมภีร์ฉันทศาสตร์ ตักกศิลา ธาตุวิภังค์ ธาตุวิวรณ์ สมุฎฐานวินิจฉัย จรณสังคะหะ ชวตาร ทุลาวสา ปฐมจินดา มหาโชติรัต กระษัย อภัยสันตา อติสาร มัญชุสารวิเชียร มรณะญานสูตร มุขโรค ๆ พระตำราเวชศาสตร์ วรรณา นี้ต่อมา คุณ สุ่ม วรกิจพิศาล ผู้เป็นบุตร ได้นำออกพิมพ์ จำหน่าย เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2450 ส่วนตำราของหมออื่นๆ อีกหลายถ่าย ได้เรียบเรียงไว้ใช้เป็นตำราสอนไม่ได้ พิมพ์ออกจำหน่าย แพร่หลาย จึงเป็นการยากที่จะค้นหา
ต่อมาปี พ.ศ. 2451 พระยาพิษณุประสาทเวช ( หมอคง ) เห็นว่าตำราเหล่านี้ ยากแก่ผู้ศึกษา จึงพิมพ์ขึ้นใหม่ โดยคัดที่ จำเป็นและเขียนให้เข้าใจง่ายขึ้น ชื่อว่า " ตำราแพทยศาสตร์สังเขป หรือเวชศึกษา " มี 3 เล่ม กล่าวถึงตำรับยาที่มีชื่อหลายขนาน เช่นยากำลังราชสีห์ ยาจันทลีลา ยาหอมอินทรจักร ยาธาตุบรรจบ ยาหอมนวโกฐ ๆลๆ ทั้ง 5 ตำรับนี้ เป็นยาไทย ที่โอสถศาลา รัฐบาล ( ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2) ได้ผลิตจำหน่าย 10 ขนาน ยาที่มีชื่อ ขนานอื่นๆ ในตำราแพทยศาสตร์สังเขปทั้ง 3 เล่มนี้ ซึ่งในปัจจุบัน ยังเป็นที่นิยม ใช้บ่อยๆ ได้แก่ ยาประสานกานพลู ยาเขียวหอม เขียวเบญจขันธ์ ยาอำมฤตวาที ยามหานิลแท่ง ทอง ตำราแพทยศาสตร์สังเขป นี้ ประกาศ ใช้เป็นตำราหลวง จึงนับรวมตำราหลวง ทั้งหมด มี 5 เล่ม ได้แก่ ตำราแพทยศาสตร์สงเคราะห์ ฉบับหลวง 2 เล่ม และตำราแพทยศาสตร์ สังเขป 3 เล่ม ซึ่งแพทย์ เภสัชกร แผนโบราณ มีสิทธิ์ ใช้ตำรับยา ในตำราเล่มเหล่านี้ ปรุงยาได้โดยไม่ต้อง ไปจดทะเบียน ตำรายาไทยอีก และกระทรวงสาธารณสุข ได้ประกาศ ใช้ เป็นหลักสูตร สำหรับผู้ที่ จะสอบเอาใบประกอบโรคศิลป ซึ่ง โรงเรียนแพทย์แผนโบราณวัดพระเชตุพนๆ ทีก่อตั้งขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2500 ได้ใช้เป็นหลักในการสอน ใน ตำราแพทยศาสตร์สงเคราะห์ ( ฉบับหลวง ) และตำราเวชศึกษา ของพระยาพิษณุประสาทเวช แทบจะไม่ได้กล่าวถึงระบบกลไก ของร่างกายมนุษย์เลย ยกเว้นเรื่อง ของธาตุ ทั้ง 4 เท่านั้น ซึ่งกล่าวๆไว้ในคัมภีร์สมุฎฐานวินิจฉัย โดยอธิบายว่า มนุษย์ เราประกอบด้วยธาตุ ทั้ง 4 ได้แก่
1. ธาตุดิน ( ปถวีธาตุ ) 20 ประการ 2. ธาตุน้ำ ( อาโปธาตุ) 12 ประการ 3. ธาตุลม ( วาโยธาตุ ) 6 ประการ 4. ธาตุไฟ ( เตโชธาตุ ) 4 ประากร
ในคัมภีร์สมุฎฐานวินิจฉัย ได้กล่าวถึง สมุฎฐาน ของโรค และมูลเหตุ ของโรคไว้ว่า หากธาตุทั้ง 4 ของร่างกาย อยุ่ใน สภาพสมดุล ร่างกาย ก็จะอยู่ในสภาพปกติสุข ถ้าหากธาตุ หนึ่งธาตุใดหย่อน กำเริบ หรือพิการ ก็จะทำให้ เสียสภาพสมดุล ไป ไม่ว่า จะเกิดจากปัจจัยภายใน ( ธาตุสมุฎฐาน) หรือปัจจัยภายนอก เช่น ฤดูแปรปรวน ( อุตุสมุฎฐาน) อายุ ( อายุสมุฎฐาน) เวลา ( กาลสมุฎฐาน) สถานที่ ( ประเทศสมุฎฐาน ) ก็ทำให้เกิดโรคนี้ขึ้นได้ ในการตรวจวินิจฉัยโรค อาศัยประวัติ จากการ บอกเล่าของคนไข้ ลักษณะอาการ ที่สังเกตุได้ด้วย ตาเปล่า และการตรวจด้วยมือเปล่าเป็นหลัก ส่วนการรักษานั้น ก็ใช้ตัวยา ประจำธาตุ นั้นเพิ่ม หรือลดส่วน ที่หย่อนกำเริบ หรือพิการ อาจเป็นยาสมุนไพร เดี่ยว หรือยาตำรับ อันมีฤทธิ์ หรือ สรรพคุณ ต่างๆ โดยเฉพาะรสยาแก้ตามธาตุ คือธาตุอย่างนั้นพิการ ให้ใช้ยารสนั้นๆ แก้ตลอดจนการนวด ประคบ หรือแม้แต่การใช้ พิธีกรรม ต่างๆ ประกอบ กันเข้าเพื่อก่อนให้เกิด ศรัทธา และเพื่อให้เกิดผลทางจิตใจ กับผู้ป่วย อันจะเป็น ผลดี ต่อการรักษาโรค
สำหรับระบบการบริหารจัดการ ซึ่งมีกรมพระโอสถ เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ เริ่มมาแต่ รัชกาลที่ 1 ได้มีการเปลี่ยน แปลงโดยจัดตั้ง กรมพยาบาล สังกัด กระทรวงธรรมการ ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2431 มีหน้าที่รักษาพยาบาลผู้ป่วย ปลูกฝี ป้องกันไข้ ทรพิษ จัดตั้งดูแลโรงพยาบาล ซึ่งรวมทั้งโรงพยาบาลศิริราชด้วย และจัดการฝึกหัดนักเรียนแพทย์ ในโรงเรียนแพทยากร
พ.ศ. 2534 ได้มีการเปิดร้านขายยา ในสังกัดกรมพยาบาล ขึ้น เรียกว่า " โอสถศาลา " ซึ่งมีอยู่ 2 แห่ง โอสถศาลา แห่งแรก ได้ซื้อกิจการจากหมอมิชชันนารี จำหน่ายเฉพาะยา ฝรั่ง แห่งที่ 2 จำหน่ายเฉพาะยาไทย นอกจากนี้ ยังทำหน้าที่ คลังยาของราชการด้วย ต่อมาได้ขยายโอสถศาลา ไปยังหัวเมืองต่างๆ ซึ่งเป็นทั้งจำหน่ายยา และที่ทำการของแพทย์ด้วย
พ.ศ. 2445 ได้เริ่มดำเนินการโอสถศาลาใหม่อีกแห่งหนึ่ง เรียกว่า " โอสถศาลาของรัฐบาล " โดยจ้างเภสัชกร ขาวเยอรมัน เป็นผู้ดำเนินการ ผลิต และจำหน่ายแก่หน่วยงานราชการต่างๆ และในปีเดียวกัน ได้จัดตั้ง " โอสถสภา " ทำ หน้าที่ผลิตยา เพื่อจำหน่ายแก่ราษฎร โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามชนบท ที่อยู่ห่างไกล ให้มียาราคาถูก ใช้ จนกระทั่ง พ.ศ. 2449 จึงยุบกิจการโอสถสภา ไปรวมกับ โอสถศาลาของรัฐบาล ในระยะแรก ของโอสถสภา ซึ่งเป็นยาฝรั่ง ไม่เป็นที่นิยมของราษฎร จึงมีการผลิตยาไทยด้วย เป็นจำนวน 10 ขนาน ได้แก่
1. ยาหอมอนทรจักร 2. ยาหอมนวโกฐ 3. ยาหอมจิตรารมย์ 4. ยานารายณ์ถอนจักร 5. ยากำลังราชสีห์ 6. ยาอุทัย 7. ยาสุขไสยาสน 8. ยาปัถวีธาตุพิการ 9. ยาจันทลีลา 10. ยาธาตุบรรจบ
ในด้านการรักษาพยาบาล และป้องกันโรคระบาด ในรัชกาลที่ 5 นี้ได้มีการ ปรับปรุง และประกาศ เป็นนโยบายหลัก ตั้งแต่ พ.ศ. 2449 เป็นต้นมา เมื่อครั้งที่เริ่มมีการก่อตั้งโรงพยาบาล นั้น ได้อนุญาต ให้คนไข้เลือกวิธี รักษาพยาบาล ได้ตาม ชอบใจ ว่าจะใช้แผนไทย หรือตะวันตก ดังนั้นยา ที่ใช้ในโรงพยาบาล จึงมีทั้งยาไทย และยาฝรั่ง ยาไทยที่ใช้ มียาผง ซึ่งจะซื้อ เป็นเครื่องยา มาประกอบเอง ที่โรงพยาบาลศิริราช แล้วแจกจ่าย ไปตามโรงพยาบาลอื่นๆ ของกรมพยาบาล ถ้าเป็นยา ต้ม ก็ ให้แก่โรงพยาบาลแต่ละแห่ง ทำขึ้นใช้เอง ยาต้ม ที่ใช้ เป็นหลักมี 9 หม้อ คือ
1. หม้อที่ 1 แก้ไข้ต่างๆ 2. หม้อที่ 2 ยาหม้อหอม สำหรับแก้ลม ต่างๆ เจริญอาหาร บำรุงโลหิต 3. หม้อที่ 3 แก้กระษัย แก้กล่อนลงฝัก 4. หม้อที่ 4 แก้บิด อุจจาระ กระปริดกระปรอย มีกลิ่นเน่า 5. หม้อที่ 5 แก้ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ ปวดท้อง เป็นยาธาตุ และเจริญอาหาร 6. หม้อที่ 6 ยาวัณโรคแก้ตัวร้อน ไอ เหนื่อยหอบ แก้อ่อนเพลีย 7. หม้อที่ 7. แก้เข้าข้อ แก้เข้าข้อหนองใน แก้บวมโป แผลเป็นฝ้า และน้ำเหลือง 8. หม้อที่ 8. แก้ริดสีดวง 9. หม้อที่ 9. แก้ไข้ตาเหลือง แก้ไข้เพื่อเสมหะ แก้ไข้เหนื่อยหอบ เจริญอาหาร และบำรุงธาตุ
ยาทั้ง 9 หม้อ นี้ไม่อาจสืบหาตัวยา ว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง

โรงพยาบาลต่างๆ นอกเหนือจากโรงพยาบาลศิริราช และโรงพยาบาลบางรัก จะ ใช้วิธีการรักษาแบบแผนไทย แต่ อย่างเดียว
พ.ศ. 2451 ได้มีการปรับปรุง ระบบการป้องกัน และรักษาโรค ให้กรมลำภังค์ ( กรมการปกครองในปัจจุบัน) กระทรวง มหาดไทย เป็นผู้รับผิดชอบ โอสถศาลารัฐบาล และ การทำฝีหนอง กรมพยาบาล ถูกโอนไปสังกัด กระทรวงธรรมการ ทำหน้า ที่ ด้านการศึกษา ต่อ มาได้มีการตั้ง กรมพยาบาล ในกระทรวงมหาดไทยด้วย
ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีตำนานเกี่ยวกับการนำพืชสมุนไพร บางชนิดจากต่างประเทศ เข้ามาเมืองไทยเป็นครั้งแรก เช่น ต้นยูคาลิปตัส กล่าวคือ เมื่อครั้งสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงพระกรุณา โปรดเกล้าๆ ให้สร้างทางรถไฟ สายนครราชสีมา ต้อง ตัดผ่านดงพญาไฟ คนงานเกิดไข้ป่าล้มตายมาก แพทย์ฝรั่งกราบทูล แนะนำ วิธีป้องกัน ให้แก่ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า สายสนิทวงศ์ ว่า ให้ปลูกต้นยูคาลิปตัส 2 ข้างทางรถไฟ ลึกเข้าไปในป่า ตลอดแนว ทางรถไฟ ในบริเวณดงพญาไฟ กลิ่นใบ ยูคาลิปตัส จะได้ระเหย เข้าไปในดงที่อับชื้น อาจระงับ เชื้อโรคมาเลเรียได้ เป็นต้น
ส่วนในเรื่องพระราชบัญญัติ เกี่ยวกับการรักษาพยาบาล นั้น ยังไม่มีการประกาศ ใช้โดยตรง เป็นเพียงการผ่อนปรน ไป ตามความพอใจของประชาชนเท่านั้น เพราะประชาชน ยังกลัว และไม่ยอมรับการแพทย์แผนตะวันตก แต่ก็นับได้ว่า ในรัชกาล นี้เป็นจุดเริ่มต้น ในการเปลี่ยนแปลง ด้านการแพทย์แผนไทย ที่ใช้กันมาช้านาน มาเป็นการแพทย์แผนตะวันตก

สมัยรัชกาลที่ 6 ( พ.ศ. 2453-248)
- พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ปี พ.ศ. 2456 มีการสั่งยกเลิกวิชาการแพทย์ แผนไทย - ปี พ.ศ. 2466 มีประกาศให้ใช้พระราชบัญญัติการแพทย์ เพื่อเป็นการควบคุมการประกอบโรคศิลปะ
ในสมัยรัชกาลที่ 6 ปรากฏว่า ทั้งนักเรียนแพทย์และประชาชน เลื่อมใสในการแพทย์ตะวันตก มากขึ้นเป็นลำดับ การ สอนการแพทย์ไทย จึงถูกลดทอน บทบาท และหมดโอกาสถ่ายทอด ความรู้ในโรงเรียนแพทย์ไปในที่สุด ประมาณปี 2466 ได้มีการยกเลิกทั้งการบริการ การแพทย์แผนไทย ในโรงพยาบาล และการสอนวิชาแพทย์แผนไทย ในโรงเรียนแพทย์ โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระชัยนาทนเรนทร ผู้บัญชาการโรงเรียน ให้เหตุผล ว่า การสอนวิชาแพทย์ทั้ง 2 ระบบ จะทำให้นักเรียนสับสน และแพทย์แผนไทย ส่วนใหญ่ไม่ค่อยเปิดเผยตำรา ศิษย์ ต้องหาประสบการณ์ และใช้เวลา ในการเรียน รู้ที่ยาวนาน จึงจะเกิดความรู้ ความชำนาญ
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ สุด แสงวิเชียร ได้วิเคราะห์ ถึงสาเหตุ ของจุดจบการแพทย์แผนไทยไว้ว่า เป็นเพราะแพทย์ ไทยต่างเกี่ยงกัน ไม่ยอมมาทำงานในโรงพยาบาล เนื่องจาก การใช้ยา ไม่เหมือนกัน และการปฎิบัติไม่ลงรอยเดียวกัน ไม่มี หลักสูตร และวิธีการ ปฎิบัติ รักษาแน่นอน จริงจัง การเรียนต้องท่องจำ อย่างตายตัว ขาดความประทับใจ และน่าเบื่อ ตำราก็ มีจำกัด อยู่เฉพาะตำราหลวง การสอนปฎิบัติ มีบันทึก แต่เพียงอย่างเดียว คือ วิธีให้ยา โดยไม่ปรากฏมีวิธีปฎิบัติ ซึ่งผิดกับการ แพทย์แผนตะวันตก ที่ถือการตรวจ และการวินิจฉัย เป็นสำคัญก่อน
พ.ศ. 2455 กระทรวงมหาดไทย แยกงานสาธารณสุข ออกจาก กรม ลำภังค์ มา อยู่กับกรมพยาบาลใหม่ ซึ่งตั้งขึ้นมาใหม่
พ.ศ. 2459 ได้มีการปรับปรุง และขยายงานกรมพยาบาล กระทรวงมหาดไทย เป็นกรมประชาภิบาล งานของโอสถศาลา รัฐบาลขึ้นอยู่กับกองเวชวัตถุ ในกรมนี้ พ.ศ. 2461 ได้รวบรวมงานสาธารณสุขทั้งหมด ไว้ด้วยกัน แล้วเปลี่ยนชื่อ กรมประชาบาล เป็น กรมสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย โอสถศาลารัฐบาล ได้รับการยกฐานะ เป็น กองโอสถศาลารัฐบาล
นอกจากนี้ยังได้ ยกเลิก การสอนวิชายาไทย ในหลักสูตร แพทย์ปรุงยา ในปี พ.ศ. 2461 หลังจากที่มีการสอนได้เพียง 5 ปี นับแต่เริ่มการสอนหลักสูตรแพทย์ปรุงยา นับแต่ นั้นมาการแพทย์แผนไทย ก็ถูกทอดทิ้ง จากนักวิชาการสมัยใหม่ ซึ่งให้ความ สนใจต่อการแพทย์แผนตะวันตก อันสอดคล้องกับ หลักการวิทยาศาสตร์ ประกอบกับถูกปิดกั้น ด้วยพระ ราชบัญญัติ การประกอบ โรคศิลปะ ทีออกในปี พ.ศ. 2466
พระราชบัญญัตินี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อไม่ให้เกิดอันตราย แก่ประชาชน จากการประกอบการ ของผู้ที่ไม่มีความรู้และ ไม่ได้ฝึกหัด ซึ่งได้ให้คำจำกัดความเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทยไว้ว่า แพทย์แผนโบราณ หมายถึง ผู้ประกอบโรคศิลปะ โดย อาศัยความสังเกต ความชำนาญ อันได้บอกเล่าสืบต่อกันมา เป็นที่ตั้ง หรืออาศัยตำรา อันมีมา แต่โบราณ โดยมิได้ดำเนินการ ไปในทางวิทยาศาสตร์ คำจำกัดความดังกล่าว เท่ากับปล่อยให้แพทย์แผนไทย หยุด นิ่งอยู่กับที่ และไม่อาจ จะอาศัยความรู้ และเทคโนโลยี่ใหม่ เข้ามาพัฒนา ให้มีความเจริญก้าว หน้าต่อไปได้

สมัยรัชกาลที่ 7 ( พ.ศ. 2468-2477)
- พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ตรากฎหมายเสนาบดี แบ่งการประกอบโรค ศิลปะ ออกเป็น แผนปัจจุบัน และแผนโบราณ
สมัยรัชกาลที่ 7 หลังจากได้มีการยกเลิก การสอนวิชาแพทย์แผนไทย ในโรงเรียน แพทยาลัย และมีการออกพระราช บัญญัติ ควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2466 เป็นเหตุให้การแพทย์แผนไทยตกต่ำ และเสื่อมโทรมลง ทั้งยังมีผลต่อการ พัฒนาการใช้สมุนไพร ในรูปแบบยาไทย ทำให้ไม่ได้รับความนิยม แพร่หลาย เหมือนแต่ก่อน รวมทั้งมีการออกพระราชบัญญัติ การแพทย์ ซึ่งกำหนด ลำดับชั้นต่างๆ ของผู้ประกอบโรคศิลปะ ประกอบกับ อีก 6 ปีต่อมา คือ ใน พ.ศ. 242 จึงได้ออกกฎเสนา บดีแบ่งการประกอบโรคศิลปะ เป็นแผน ปัจจุบัน และแผนโบราณ ซึ่งกำหนดว่า
ก. ประเภทแผนปัจจุบัน คือ ผู้ประกอบโรคศิลปะ โดยความรู้ จากตำรา อันเป็นหลักวิชา โดยสากลนิยม ซึ่งดำเนินและ จำเริญขึ้น โดยอาศัยการศึกษา ตรวจค้น และทดลอง ของผู้รู้ ในทางวิทยาศาสตร์ ทั่วโลก
ข. ประเภทโบราณ คือผู้ประกอบโรคศิลปะ โดยอาศัยความสังเกต ความชำนาญ อันได้บอกเล่า สืบต่อกันมา เป็นที ตั้งหรืออาศัยตำรา อันมีมาแต่โบราณ มิได้ดำเนินไปในทางวิทยาศาสตร์
การแบ่งเช่นนี้ เป็นการปิดกั้น การพัฒนา ของแพทย์แผนไทยมาโดยตลอด แต่ อย่างไรก็ตาม ยังคง มีการผลิตยาแผน ไทย โดยกองโอสถศาลารัฐบาล 10 ขนานอย่างต่อเนื่อง จนถึง พ.ศ. 2484 จึงเลิกผลิต นับเป็นการยุติบทบาท การแพทย์แผน ไทย ซึ่งให้บริการโดยรัฐ อย่างสิ้นเชิง
การพัฒนาสมุนไพร ทีเหลือ อยู่ และสืบเนื่องจนถึงปัจจุบัน จึงเป็นการพัฒนา ในเชิง เป็นยา ที่ใช้ กับการแพทย์ แผน ตะวันตก ซึ่งมีการศึกษา และการใช้ นับแต่เริ่มตั้งโรงเรียนแพทยากร และโรงพยาบาลศิริราช จวบจนแยก เป็น โรงเรียน แพทย์ปรุงยา และคณะเภสัชศาสตร์ การพัฒนาสมุนไพร เพื่อใช้เป็นยา สำหรับการแพทย์ตะวันตกนี้ มีการดำเนินงานอย่าง จริงจัง ในปี พ.ศ. 2483 อีกครั้งโดยตั้ง เป็นโรงงานเภสัชกรรมขึ้น ซึ่งก็ได้ เข้าสู่สมัย รัชกาลที่ 8 แล้ว

สมัยรัชกาลที่ 8 ( พ.ศ. 2477- 2489)
มีการตั้งกระทรวงสาธารณสุข ขึ้นในปี พ.ศ.2485 ซึ่งเป็นนโยบายเกี่ยวกับสมุนไพรว่า จะจัดให้มีการตรวจค้นหา ความรู้ ในเรื่องสรรพคุณยาสมุนไพร และยาอื่นๆ ในประเทศ เพื่อนำมาดัดแปลง เป็นยา แผนตะวันตก และขยายการทำยาให้ มากชนิด และมีปริมาณมากขึ้น
ในระหว่างปี พ.ศ. 2485-2486 สงครามโลกครั้งที่ 2 ลุกลามเข้ามาในเขตเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้เกิดภาวะ ขาดแคลนยา ขณะนั้น ศาสตราจารย์ นายแพทย์ อวย เกตุสิงห์ ได้ทำการวิจัยสมุนไพร ที่ใช้รักษา บิด และไข้มาลาเรีย ที่ โรงพยาบาลสัตหีบ หลังจากสงครามโลกสงบลง ยังคงมีปัญหา ขาดแคลนยาตะวันตก รัฐบาลจึงมีนโยบายให้โรงงานเภสัชกรรม นำสมุนไพรมาผลิตเป็นยารักษาโรค ซึ่งถือเป็นความพยายาม ที่จะทำการผลิตยาแผนตะวันตกจากสมุนไพร โดยมี ศาสตราจารย์ ชาวเยอรมัน ชื่อ ดร.ชาร์เลอร์ ผู้เชี่ยวชาญ สมุนไพรของบริษัท เบอเยอร์ ประเทศเยอรมันนี เข้ามาทำการวิจัยสมุนไพรไทย เพื่อ ผลิตเป็นยารักษาโรค และสร้างสวนสมุนไพร ที่ตำบล บ้านอ่าง อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี รวมทั้งได้รวบรวม สรรพคุณของยา ไทย ซึ่งได้จัดทำการวิจัยแล้ว เกือบ 400 ชนิดจัดพิมพ์ เป็น 2 ภาษา อย่างสมบูรณ์
พ.ศ. 2481 มีโครงการทดลองปลูกต้น ซินโคนา เพื่อสกัด ควินิน ที่จังหวัดเชียงใหม่ นับเป็นความพยายาม ที่จำทำการ ผลิตยาแผนตะวันตก จากสมุนไพร แต่ก็ต้องล้มเลิกไป ในภายหลัง เพราะถูกประเมิณว่า ไม่คุ้มค่าการลงทุน
เมื่อภาวะขาดแคลน ยาแผนปัจจุบัน ลดลง ความสนใจในการศึกษา วิจัยสมุนไพร ก็ลดลงไปด้วย มีการศึกษา วิจัยกัน บ้างในหน่วยงาน และมีชาวต่างชาติ โดยเฉพาะ ยุโรป และอเมริกา ได้สนใจเข้ามาศึกษา เก็บตัวอย่างสมุนไพร และกว้านซื้อ คัมภีร์ใบลาน ตำรับตำราต่างๆ นำกลับไปทำวิจัยเป็นจำนวนมาก

สมัยรัชกาลที่ 9 ( พ.ศ. 2489- ปัจจุบัน )
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ได้มีการจัดตั้ง สมาคมของโรงเรียน แพทย์แผนโบราณ ที่วัดโพธิ์ - ปี พ.ศ. 2525 ได้ก่อตั้ง โรงเรียน อายุรเวชวิทยาลัย ๆ โดยศาสตราจารย์ พิเศษ นายแพทย์ อวย เกตุสิงห์
สมัยรัชกาลที่ 9 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้มีการขยายงาน การรักษาพยาบาล ในส่วนภูมิภาค อย่างเต็มที่ เมื่อแรก ตั้งกระทรวงสาธารณสุข มีโรงพยาบาล เพียง 14 จังหวัด ( พ.ศ. 2485) จาก พ.ศ. 2492-2499 ระยะเวลาเพียง 7 ปี ได้มีโรง พยาบาลครบทั้ง 71 จังหวัด โรคติดต่อ โรคติดต่อ ที่สำคัญ ได้รับการควบคุมกและป้องกัน อย่างรัดกุม เพิ่มขึ้น จนโรคคุดทะราด หมดไปในที่สุด ไข้มาลาเรีย ลดความรุนแรงลง และไม่มีผู้ป่วย ด้วยกาฬโรค และไข้ทรพิษ อีก เลย
ในสมัยนี้ มีตำรายาไทย ที่ได้จัดพิมพ์ ขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา อยู่มาก แต่ส่วน ใหญ่ ได้คัดลอกมาจากตำรา เก่าๆ ซึ่งรวบรวมคัมภีร์แพทย์ ไว้เกือบสมบูรณ์ เมื่อมีผู้เห็น คุณประโยชน์ จึงนิยมพิมพ์ แจก เป็นที่ระลึก ในบางโอกาส เช่น
ตำรายาพิเศษ ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมสมเด็จพระปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงรวบรวมและ นิพนธ์ ไว้ ซึ่งเคย มีผู้นำมา พิมพ์ แล้ว เมื่อปี พ.ศ. 2435 ( ร.ศ. 129) กล่าวถึง ยาทั่วๆไป และยาอายุวัฒนะ
หนังสือวิชาแพทย์แผนยาไทย เรียบเรียงโดย พันโท หม่อมเจ้า กำมสิทธิ์ ผู้ช่วยกรมแพทย์ ในปี พ.ศ. 2450 ร.ศ. 126) ซึ่งอธิบายอาการโรค โดยย่อ และรส ของยาที่เหมาะสมกับโรค และกล่าวถึงน้ำกระสายยา
ตำราโรคนิทานคำฉันท์ พระยาวิชายาบดี ( กล่อม) เรียบเรียง และนายพันโท หม่อมเจ้า กำมสิทธิ์ ทรงรวบรวม ขึ้นเป็นฉบับใบลาน ไว้ได้โดยสมบูรณื ทรงตรวจแก้และ นิพนธ์ แต่งเติม เนื้อความ แล้วพิมพ์ ไว้เมื่อปี พ.ศ. 2456 แม้จะ อ่านง่าย แต่เข้าใจยาก ลักษณะ ตำราก็คล้ายกับที่กล่าวมาข้างต้น คือ มีลักษณะโรคและยา ที่ใช้เช่น เดียว กัน
ตำราแพทย์สำหรับบ้าน พ.ศ. 2464 โดยนาย รอด บุตรี ได้คัดเลือกจาก คัมภีร์แพทย์ แต่ไม่บอกว่า จากที่ใด มาพิมพ์ แจกในงานทำศพท่านขุนสุพรรณรัศมี การคัดเลือก ก็มักคัดที่ว่า ดี เช่น ยาขางแท่งทอง ยาหอม ๆลๆ
ตำราายาพฤฒาแถลง ของพระยาเกษตร หิรัญรักษ์ พ.ศ. 2464 เป็นตำราสั้นๆ แต่ว่ามีสิ่งที่น่าสนใจ ประการหนึ่งก็ คือ มีตำรา ยาแก้โรคภาค และสุนัขบ้ากัด ซึ่งได้อธิบายอาการโรคภาค ไว้ว่า เป็นโรคร้ายแรง ตายได้ภายใน 12 ชม. ถึง 7 วัน ยาแก้ โรคภาค ใช้ เปลือกต้นสมอพิเภกตัวเมีย ชนิดที่ถูกสุรา ไม่ดำ เอามา ตากแห้ง ทำผงรับประทาน หรือทา ส่วน ยาแก้สุนัขบ้ากัด ใช้ ทองคำเปลว และ น้ำมะนาว ที่ว่าน่าสนใจ นั้น เพราะ ในทางตะวันตก ท่านที่มีความรู้ควรพิจารณา ว่า การรักษา ตามแบบ แผนไทย นั้น จะเป็นไปได้หรือไม่ เพียงใด ซึ่งถ้าเป็นไปไม่ได้ อย่างแน่นอน ต้องเตือน ชาวบ้าน ให้รู้ไว้ เพื่อไม่ให้เสี่ยงต่อชีวิต
หนังสือตำรายาไทย พิมพ์ พ.ศ. 32473 ได้คัดเลือกตำรับยา ต่างๆ รวม 53 ขนาน มาลงไว้ เช่นยากำลังราชสีห์ ยาธาตุบรรจบ และอื่นๆ
ยาตำรับที่ชื่อเดียวกัน เช่น ยากำลังราชสีห์ ที่ปรากฏในตำรา เล่มต่างๆ เมื่อ เปรียบเทียบ ด้วยยา ในตำรับ พบว่ามี แตกต่างกันบ้าง จะเป็นเพราะมีการปรับปรุงตำรับยาดดย ตัดทอนตัวยาที่ไม่จำเป็นหรือตัวยาที่หายากออก หรือจะเป็นเพราะ การคัดลอก ต่อๆ กัน มา อาจคลาเดลื่อน
หนังสือสุภาษิตวิจิตรยิ่ง และตำรายาประจำบ้าน ที่พระอุตตมมงคล ชยมงคลโล พิมพ์ เป็นที่ระลึก ในการเลื่อน สมณศักดิ์ พ.ศ. 2474 ก็นำ ตำรายา อายุวัฒนะ ของ สมเด็จ พระบรมวงศ์ เธอ พระยาปวเรศ วริยาลงกรณ์ พระมหาสมณเจ้า ซึ่งได้นนำมาฉันเอง แล้วได้ผลดี จึงนำมาพิมพ์ไว้
ตำนานและสรรพคุณ ของพืชบางชนิด ผู้เรียบเรียง คือท่านเจ้าคุณ สีหศักดิ์สนิทวงษ์ พ.ศ. 2481 เป็นตำราที่รวบรวม ยาเกร็ด ที่น่าสนใจ โดยพลิกแพลงใช้เอง แล้วได้ผล อาศัยที่เป็นหลานตา ของพระเจ้าบรมวงศ์ เธอกรมหลวง วงษาธิราชสนิท และ พระวรวงศ์ เธอพระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ จึงได้รับการถ่ายทอด โดยการบอกเล่า ให้ทราบถึงสรรพคุณและตำนานของพืช บางชนิด เช่น เรื่องที่ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท ซึ่งเป็นแพทย์ประจำพระองค์ ในรัชกาลที่ 4 เป็นผู้ใช้เปลือก ซินโคนา ก่อนผู้อื่น ในสยาม ในสมัยนั้น มียาฝรั่ง คือ ควินิน ใช้อยู่ แต่คนไทยไม่นิยมยาฝรั่ง แพทย์ชาวต่างประเทศ จึงทูลแนะนำให้สั่งเปลือก ซินโคนา มาบดเป็นผงแล้วก็ใช้เหมือนยาไทย จึงนับว่าเปลือก ซินโคนา เข้ามาสู่ประเทศสยาม เป็น ครั้งแรก เมื่อปลายรัชกาล ที่ 4 และมีตำนาน ว่า ต้นยูคาลิปตัส และน้ำมันระกำ เข้ามาแพร่หลาย ในประเทศสยาม เมื่อ สมัยรัชกาลที่ 5 การใช้ผักโหมจีน รักษาโรคเบาหวาน ของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสานสนิทวงศ์ ตามคำแนะนำ ของจีนผู้หนึ่ง โดยปรุงเป็นอาหารรับประทาน ก็ได้ผลดี ส่วน สรรพคุณ ของพืชบางชนิด เช่น การใช้เนื้อในของว่านหางจระเข้ ต้มน้ำตาลกรวดกิน แทนรังนก ทำให้ชุ่มชื่น และมีกำลังดีกว่ารังนก ใช้ถั่วลิสง เป็นยาแก้ไอ จากหวัดธรรมดา และ แก้พิษกลอย เป็นต้น
ตำรายาไทย เป็นอีกเล่มหนึ่งที่พิมพ์อุทิศ ในงาน ฌาปนกิจศพ หมื่นชำนาญแพทยา ( พลอย แพทยานนท์) ในปี พ.ศ. 2482 ได้คัดเลือก ตำรายา เป็นจำนวนมากมาลงไว้ เช่น ยาเขียวหอม ยาอินทรจักร ( บางเล่มเขียน อินทจักร) บางเล่ม เขียนอินทจักร์) ยาสุขไสยาศน์ ยาแก้ไข้ ยาแก้มูกเลือด ยาดอง และอื่นๆ
ในปี พ.ศ. 2492 ศาสตราจารย์ นายแพทย์สำราญ วังศพ่าห์ ได้รวบรวม คัดลอกตำรายา จากจารึก บนแผ่นหินอ่อน ตาม ผนัง ศาลาราย ของวัดราชโอรส เว้นบางแผ่นที่ ชำรุด หรือ เลอะเลือน จนไม่สามารถจะอ่านได้ รวมคัดลอกไว้จำนวน 55 แผ่น เรียกว่า " ตำรายาจารึกวัดราชโอรส " เนื้อหาในเล่มกล่าวถึง ลักษณะ โรคและ บอกยาแก้ซึ่งมีหลายขนาน ให้เลือกใช้ บางขนาน มีชื่อตำรับ เช่นยา สังข์รัศมี ยาสมุทรเกลื่อน ๆลๆ ยาแต่ละขนาน มีตัวยา ตั้งแต่ 4 อย่าง ถึง กว่า 40 อย่าง บางขนาน บอก ปริมาณไว้ด้วย และ บอกวิธีปรุง วิธีใช้ ไว้ทุกขนาน
หนังสือบทความบางเรื่องเกี่ยวกับสมุนไพร ของท่านศาสตราจารย์ นายแพทย์ อวย เกตุสิงห์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับ ยา กลางบ้าน ที่ท่านเคยใช้เอง และใช้ได้ผลดี โดยแบ่งตามอาการของโรค มี 47 ข้อ รวมมียา 118 ขนาน มีบางขนาน ที่ผู้ อื่นบอกให้ ซึ่งชื่อถือได้ เกือบทุกขนาน เป็นยาตัวเดี่ยวๆ ได้แก่ ยาแก้เจ็บคอ ให้ใช้หญ้างวงช้าง หรือไพล หรือเกลือ หรือกำยาน นอกจากความนำ ที่น่าสนใจ แล้ว ยังมี คำเตือน เรื่องอันตราย จากการใช้ยาไทย ไว้ ด้วย โดยนายแพทย์ กรุงไกร เจนพาณิชย์ ได้คัดเลือกหรือเพิ่มเติม รวมเป็น เป็น 49 ขนาน พิมพ์ เมื่อ พ.ศ. 2522
ตำรายากลางบ้าน รวบรวมโดยพระเทพวิมลโมลี ท่านได้เชิญชวนให้ พระสงฆ์ และประชาชนบริจาค ตำรายา กลางบ้าน ที่มีสรรพคุณชงัด ซึ่งทุกขนาน มีนามเจ้าของ ยากำกับไว้ และรับรองสรรพคุณ ด้วยความมั่นใจ เพราะเคยใช้กับ ตนเอง หรือใช้รักษา ได้ผลดี มาแล้ว พร้อมทั้ง บอกข้อแนะนำ ในการใช้ ( ลักษณะการวบรวม เช่นนี้ เหมือนเมื่อครั้งรัชกาล ที่ 3 และรัชกาลที่ 5 ที่โปรดๆ ให้รวบรวม พระคัมภีร์) ตำรายากลางบ้านนี้ พิมพ์ครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2524 มี 244 ขนาน พิมพ์ ครั้งที่ 2 มี 299 ขนาน โดยได้รวบรวมยา หลายๆขนาน ที่บำบัดโรคเดียวกันไว้ด้วยกัน เช่น ยาแก้โรคบิด มี 8 ขนาน ยาแก้ไข้ ทับระดู มี 1 ขนาน ยาแก้ไข้มาลาเรีย มี 1 ขนาน ๆลๆ การที่มีหลายขนาน เพื่อให้เลือกใช้ ได้เหมาะสม กับท้องถิ่น ใน ตอน ท้ายเล่ม มี นามานุกรมสมุนไพร ( ตำรายากลางบ้าน) โดยบอกชื่อ พืช ที่เรียกกันทั้ง 4 ภาคของไทย

สมัยรัชกาลที่ 7 ( พ.ศ. 2468-2477)
- พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ตรากฎหมายเสนาบดี แบ่งการประกอบโรค ศิลปะ ออกเป็น แผนปัจจุบัน และแผนโบราณ
สมัยรัชกาลที่ 7 หลังจากได้มีการยกเลิก การสอนวิชาแพทย์แผนไทย ในโรงเรียน แพทยาลัย และมีการออกพระราช บัญญัติ ควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2466 เป็นเหตุให้การแพทย์แผนไทยตกต่ำ และเสื่อมโทรมลง ทั้งยังมีผลต่อการ พัฒนาการใช้สมุนไพร ในรูปแบบยาไทย ทำให้ไม่ได้รับความนิยม แพร่หลาย เหมือนแต่ก่อน รวมทั้งมีการออกพระราชบัญญัติ การแพทย์ ซึ่งกำหนด ลำดับชั้นต่างๆ ของผู้ประกอบโรคศิลปะ ประกอบกับ อีก 6 ปีต่อมา คือ ใน พ.ศ. 242 จึงได้ออกกฎเสนา บดีแบ่งการประกอบโรคศิลปะ เป็นแผน ปัจจุบัน และแผนโบราณ ซึ่งกำหนดว่า
ก. ประเภทแผนปัจจุบัน คือ ผู้ประกอบโรคศิลปะ โดยความรู้ จากตำรา อันเป็นหลักวิชา โดยสากลนิยม ซึ่งดำเนินและ จำเริญขึ้น โดยอาศัยการศึกษา ตรวจค้น และทดลอง ของผู้รู้ ในทางวิทยาศาสตร์ ทั่วโลก
ข. ประเภทโบราณ คือผู้ประกอบโรคศิลปะ โดยอาศัยความสังเกต ความชำนาญ อันได้บอกเล่า สืบต่อกันมา เป็นที ตั้งหรืออาศัยตำรา อันมีมาแต่โบราณ มิได้ดำเนินไปในทางวิทยาศาสตร์
การแบ่งเช่นนี้ เป็นการปิดกั้น การพัฒนา ของแพทย์แผนไทยมาโดยตลอด แต่ อย่างไรก็ตาม ยังคง มีการผลิตยาแผน ไทย โดยกองโอสถศาลารัฐบาล 10 ขนานอย่างต่อเนื่อง จนถึง พ.ศ. 2484 จึงเลิกผลิต นับเป็นการยุติบทบาท การแพทย์แผน ไทย ซึ่งให้บริการโดยรัฐ อย่างสิ้นเชิง
การพัฒนาสมุนไพร ทีเหลือ อยู่ และสืบเนื่องจนถึงปัจจุบัน จึงเป็นการพัฒนา ในเชิง เป็นยา ที่ใช้ กับการแพทย์ แผน ตะวันตก ซึ่งมีการศึกษา และการใช้ นับแต่เริ่มตั้งโรงเรียนแพทยากร และโรงพยาบาลศิริราช จวบจนแยก เป็น โรงเรียน แพทย์ปรุงยา และคณะเภสัชศาสตร์ การพัฒนาสมุนไพร เพื่อใช้เป็นยา สำหรับการแพทย์ตะวันตกนี้ มีการดำเนินงานอย่าง จริงจัง ในปี พ.ศ. 2483 อีกครั้งโดยตั้ง เป็นโรงงานเภสัชกรรมขึ้น ซึ่งก็ได้ เข้าสู่สมัย รัชกาลที่ 8 แล้ว

สมัยรัชกาลที่ 8 ( พ.ศ. 2477- 2489)
มีการตั้งกระทรวงสาธารณสุข ขึ้นในปี พ.ศ.2485 ซึ่งเป็นนโยบายเกี่ยวกับสมุนไพรว่า จะจัดให้มีการตรวจค้นหา ความรู้ ในเรื่องสรรพคุณยาสมุนไพร และยาอื่นๆ ในประเทศ เพื่อนำมาดัดแปลง เป็นยา แผนตะวันตก และขยายการทำยาให้ มากชนิด และมีปริมาณมากขึ้น
ในระหว่างปี พ.ศ. 2485-2486 สงครามโลกครั้งที่ 2 ลุกลามเข้ามาในเขตเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้เกิดภาวะ ขาดแคลนยา ขณะนั้น ศาสตราจารย์ นายแพทย์ อวย เกตุสิงห์ ได้ทำการวิจัยสมุนไพร ที่ใช้รักษา บิด และไข้มาลาเรีย ที่ โรงพยาบาลสัตหีบ หลังจากสงครามโลกสงบลง ยังคงมีปัญหา ขาดแคลนยาตะวันตก รัฐบาลจึงมีนโยบายให้โรงงานเภสัชกรรม นำสมุนไพรมาผลิตเป็นยารักษาโรค ซึ่งถือเป็นความพยายาม ที่จะทำการผลิตยาแผนตะวันตกจากสมุนไพร โดยมี ศาสตราจารย์ ชาวเยอรมัน ชื่อ ดร.ชาร์เลอร์ ผู้เชี่ยวชาญ สมุนไพรของบริษัท เบอเยอร์ ประเทศเยอรมันนี เข้ามาทำการวิจัยสมุนไพรไทย เพื่อ ผลิตเป็นยารักษาโรค และสร้างสวนสมุนไพร ที่ตำบล บ้านอ่าง อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี รวมทั้งได้รวบรวม สรรพคุณของยา ไทย ซึ่งได้จัดทำการวิจัยแล้ว เกือบ 400 ชนิดจัดพิมพ์ เป็น 2 ภาษา อย่างสมบูรณ์
พ.ศ. 2481 มีโครงการทดลองปลูกต้น ซินโคนา เพื่อสกัด ควินิน ที่จังหวัดเชียงใหม่ นับเป็นความพยายาม ที่จำทำการ ผลิตยาแผนตะวันตก จากสมุนไพร แต่ก็ต้องล้มเลิกไป ในภายหลัง เพราะถูกประเมิณว่า ไม่คุ้มค่าการลงทุน
เมื่อภาวะขาดแคลน ยาแผนปัจจุบัน ลดลง ความสนใจในการศึกษา วิจัยสมุนไพร ก็ลดลงไปด้วย มีการศึกษา วิจัยกัน บ้างในหน่วยงาน และมีชาวต่างชาติ โดยเฉพาะ ยุโรป และอเมริกา ได้สนใจเข้ามาศึกษา เก็บตัวอย่างสมุนไพร และกว้านซื้อ คัมภีร์ใบลาน ตำรับตำราต่างๆ นำกลับไปทำวิจัยเป็นจำนวนมาก

สมัยรัชกาลที่ 9 ( พ.ศ. 2489- ปัจจุบัน )
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ได้มีการจัดตั้ง สมาคมของโรงเรียน แพทย์แผนโบราณ ที่วัดโพธิ์ - ปี พ.ศ. 2525 ได้ก่อตั้ง โรงเรียน อายุรเวชวิทยาลัย ๆ โดยศาสตราจารย์ พิเศษ นายแพทย์ อวย เกตุสิงห์
สมัยรัชกาลที่ 9 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้มีการขยายงาน การรักษาพยาบาล ในส่วนภูมิภาค อย่างเต็มที่ เมื่อแรก ตั้งกระทรวงสาธารณสุข มีโรงพยาบาล เพียง 14 จังหวัด ( พ.ศ. 2485) จาก พ.ศ. 2492-2499 ระยะเวลาเพียง 7 ปี ได้มีโรง พยาบาลครบทั้ง 71 จังหวัด โรคติดต่อ โรคติดต่อ ที่สำคัญ ได้รับการควบคุมและป้องกัน อย่างรัดกุม เพิ่มขึ้น จนโรคคุดทะราด หมดไปในที่สุด ไข้มาลาเรีย ลดความรุนแรงลง และไม่มีผู้ป่วย ด้วยกาฬโรค และไข้ทรพิษ อีก เลย
ในสมัยนี้ มีตำรายาไทย ที่ได้จัดพิมพ์ ขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา อยู่มาก แต่ส่วน ใหญ่ ได้คัดลอกมาจากตำรา เก่าๆ ซึ่งรวบรวมคัมภีร์แพทย์ ไว้เกือบสมบูรณ์ เมื่อมีผู้เห็น คุณประโยชน์ จึงนิยมพิมพ์ แจก เป็นที่ระลึก ในบางโอกาส เช่น
ตำรายาพิเศษ ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมสมเด็จพระปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงรวบรวมและ นิพนธ์ ไว้ ซึ่งเคย มีผู้นำมา พิมพ์ แล้ว เมื่อปี พ.ศ. 2435 ( ร.ศ. 129) กล่าวถึง ยาทั่วๆไป และยาอายุวัฒนะ
หนังสือวิชาแพทย์แผนยาไทย เรียบเรียงโดย พันโท หม่อมเจ้า กำมสิทธิ์ ผู้ช่วยกรมแพทย์ ในปี พ.ศ. 2450 ร.ศ. 126) ซึ่งอธิบายอาการโรค โดยย่อ และรส ของยาที่เหมาะสมกับโรค และกล่าวถึงน้ำกระสายยา
ตำราโรคนิทานคำฉันท์ พระยาวิชายาบดี ( กล่อม) เรียบเรียง และนายพันโท หม่อมเจ้า กำมสิทธิ์ ทรงรวบรวม ขึ้นเป็นฉบับใบลาน ไว้ได้โดยสมบูรณ์ ทรงตรวจแก้และ นิพนธ์ แต่งเติม เนื้อความ แล้วพิมพ์ ไว้เมื่อปี พ.ศ. 2456 แม้จะ อ่านง่าย แต่เข้าใจยาก ลักษณะ ตำราก็คล้ายกับที่กล่าวมาข้างต้น คือ มีลักษณะโรคและยา ที่ใช้เช่น เดียว กัน
ตำราแพทย์สำหรับบ้าน พ.ศ. 2464 โดยนาย รอด บุตรี ได้คัดเลือกจาก คัมภีร์แพทย์ แต่ไม่บอกว่า จากที่ใด มาพิมพ์ แจกในงานทำศพท่านขุนสุพรรณรัศมี การคัดเลือก ก็มักคัดที่ว่า ดี เช่น ยาขางแท่งทอง ยาหอม ๆลๆ
ตำรายาพฤฒาแถลง ของพระยาเกษตร หิรัญรักษ์ พ.ศ. 2464 เป็นตำราสั้นๆ แต่ว่ามีสิ่งที่น่าสนใจ ประการหนึ่งก็ คือ มีตำรา ยาแก้โรคภาค และสุนัขบ้ากัด ซึ่งได้อธิบายอาการโรคภาค ไว้ว่า เป็นโรคร้ายแรง ตายได้ภายใน 12 ชม. ถึง 7 วัน ยาแก้ โรคภาค ใช้ เปลือกต้นสมอพิเภกตัวเมีย ชนิดที่ถูกสุรา ไม่ดำ เอามา ตากแห้ง ทำผงรับประทาน หรือทา ส่วน ยาแก้สุนัขบ้ากัด ใช้ ทองคำเปลว และ น้ำมะนาว ที่ว่าน่าสนใจ นั้น เพราะ ในทางตะวันตก ท่านที่มีความรู้ควรพิจารณา ว่า การรักษา ตามแบบ แผนไทย นั้น จะเป็นไปได้หรือไม่ เพียงใด ซึ่งถ้าเป็นไปไม่ได้ อย่างแน่นอน ต้องเตือน ชาวบ้าน ให้รู้ไว้ เพื่อไม่ให้เสี่ยงต่อชีวิต
หนังสือตำรายาไทย พิมพ์ พ.ศ. 32473 ได้คัดเลือกตำรับยา ต่างๆ รวม 53 ขนาน มาลงไว้ เช่นยากำลังราชสีห์ ยาธาตุบรรจบ และอื่นๆ
ยาตำรับที่ชื่อเดียวกัน เช่น ยากำลังราชสีห์ ที่ปรากฏในตำรา เล่มต่างๆ เมื่อ เปรียบเทียบ ด้วยยา ในตำรับ พบว่ามี แตกต่างกันบ้าง จะเป็นเพราะมีการปรับปรุงตำรับยา ตัดทอนตัวยาที่ไม่จำเป็นหรือตัวยาที่หายากออก หรือจะเป็นเพราะ การคัดลอก ต่อๆ กัน มา อาจคลาดเคลื่อน
หนังสือสุภาษิตวิจิตรยิ่ง และตำรายาประจำบ้าน ที่พระอุตตมมงคล ชยมงคลโล พิมพ์ เป็นที่ระลึก ในการเลื่อน สมณศักดิ์ พ.ศ. 2474 ก็นำ ตำรายา อายุวัฒนะ ของ สมเด็จ พระบรมวงศ์ เธอ พระยาปวเรศ วริยาลงกรณ์ พระมหาสมณเจ้า ซึ่งได้นนำมาฉันเอง แล้วได้ผลดี จึงนำมาพิมพ์ไว้
ตำนานและสรรพคุณ ของพืชบางชนิด ผู้เรียบเรียง คือท่านเจ้าคุณ สีหศักดิ์สนิทวงษ์ พ.ศ. 2481 เป็นตำราที่รวบรวม ยาเกร็ด ที่น่าสนใจ โดยพลิกแพลงใช้เอง แล้วได้ผล อาศัยที่เป็นหลานตา ของพระเจ้าบรมวงศ์ เธอกรมหลวง วงษาธิราชสนิท และ พระวรวงศ์ เธอพระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ จึงได้รับการถ่ายทอด โดยการบอกเล่า ให้ทราบถึงสรรพคุณและตำนานของพืช บางชนิด เช่น เรื่องที่ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท ซึ่งเป็นแพทย์ประจำพระองค์ ในรัชกาลที่ 4 เป็นผู้ใช้เปลือก ซินโคนา ก่อนผู้อื่น ในสยาม ในสมัยนั้น มียาฝรั่ง คือ ควินิน ใช้อยู่ แต่คนไทยไม่นิยมยาฝรั่ง แพทย์ชาวต่างประเทศ จึงทูลแนะนำให้สั่งเปลือก ซินโคนา มาบดเป็นผงแล้วก็ใช้เหมือนยาไทย จึงนับว่าเปลือก ซินโคนา เข้ามาสู่ประเทศสยาม เป็น ครั้งแรก เมื่อปลายรัชกาล ที่ 4 และมีตำนาน ว่า ต้นยูคาลิปตัส และน้ำมันระกำ เข้ามาแพร่หลาย ในประเทศสยาม เมื่อ สมัยรัชกาลที่ 5 การใช้ผักโหมจีน รักษาโรคเบาหวาน ของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสานสนิทวงศ์ ตามคำแนะนำ ของจีนผู้หนึ่ง โดยปรุงเป็นอาหารรับประทาน ก็ได้ผลดี ส่วน สรรพคุณ ของพืชบางชนิด เช่น การใช้เนื้อในของว่านหางจระเข้ ต้มน้ำตาลกรวดกิน แทนรังนก ทำให้ชุ่มชื่น และมีกำลังดีกว่ารังนก ใช้ถั่วลิสง เป็นยาแก้ไอ จากหวัดธรรมดา และ แก้พิษกลอย เป็นต้น
ตำรายาไทย เป็นอีกเล่มหนึ่งที่พิมพ์อุทิศ ในงาน ฌาปนกิจศพ หมื่นชำนาญแพทยา ( พลอย แพทยานนท์) ในปี พ.ศ. 2482 ได้คัดเลือก ตำรายา เป็นจำนวนมากมาลงไว้ เช่น ยาเขียวหอม ยาอินทรจักร ( บางเล่มเขียน อินทจักร) บางเล่ม เขียนอินทจักร์) ยาสุขไสยาศน์ ยาแก้ไข้ ยาแก้มูกเลือด ยาดอง และอื่นๆ
ในปี พ.ศ. 2492 ศาสตราจารย์ นายแพทย์สำราญ วังศพ่าห์ ได้รวบรวม คัดลอกตำรายา จากจารึก บนแผ่นหินอ่อน ตาม ผนัง ศาลาราย ของวัดราชโอรส เว้นบางแผ่นที่ ชำรุด หรือ เลอะเลือน จนไม่สามารถจะอ่านได้ รวมคัดลอกไว้จำนวน 55 แผ่น เรียกว่า " ตำรายาจารึกวัดราชโอรส " เนื้อหาในเล่มกล่าวถึง ลักษณะ โรคและ บอกยาแก้ซึ่งมีหลายขนาน ให้เลือกใช้ บางขนาน มีชื่อตำรับ เช่นยา สังข์รัศมี ยาสมุทรเกลื่อน ๆลๆ ยาแต่ละขนาน มีตัวยา ตั้งแต่ 4 อย่าง ถึง กว่า 40 อย่าง บางขนาน บอก ปริมาณไว้ด้วย และ บอกวิธีปรุง วิธีใช้ ไว้ทุกขนาน
หนังสือบทความบางเรื่องเกี่ยวกับสมุนไพร ของท่านศาสตราจารย์ นายแพทย์ อวย เกตุสิงห์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับ ยา กลางบ้าน ที่ท่านเคยใช้เอง และใช้ได้ผลดี โดยแบ่งตามอาการของโรค มี 47 ข้อ รวมมียา 118 ขนาน มีบางขนาน ที่ผู้ อื่นบอกให้ ซึ่งชื่อถือได้ เกือบทุกขนาน เป็นยาตัวเดี่ยวๆ ได้แก่ ยาแก้เจ็บคอ ให้ใช้หญ้างวงช้าง หรือไพล หรือเกลือ หรือกำยาน นอกจากความนำ ที่น่าสนใจ แล้ว ยังมี คำเตือน เรื่องอันตราย จากการใช้ยาไทย ไว้ ด้วย โดยนายแพทย์ กรุงไกร เจนพาณิชย์ ได้คัดเลือกหรือเพิ่มเติม รวมเป็น เป็น 49 ขนาน พิมพ์ เมื่อ พ.ศ. 2522
ตำรายากลางบ้าน รวบรวมโดยพระเทพวิมลโมลี ท่านได้เชิญชวนให้ พระสงฆ์ และประชาชนบริจาค ตำรายา กลางบ้าน ที่มีสรรพคุณชงัด ซึ่งทุกขนาน มีนามเจ้าของ ยากำกับไว้ และรับรองสรรพคุณ ด้วยความมั่นใจ เพราะเคยใช้กับ ตนเอง หรือใช้รักษา ได้ผลดี มาแล้ว พร้อมทั้ง บอกข้อแนะนำ ในการใช้ ( ลักษณะการวบรวม เช่นนี้ เหมือนเมื่อครั้งรัชกาล ที่ 3 และรัชกาลที่ 5 ที่โปรดๆ ให้รวบรวม พระคัมภีร์) ตำรายากลางบ้านนี้ พิมพ์ครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2524 มี 244 ขนาน พิมพ์ ครั้งที่ 2 มี 299 ขนาน โดยได้รวบรวมยา หลายๆขนาน ที่บำบัดโรคเดียวกันไว้ด้วยกัน เช่น ยาแก้โรคบิด มี 8 ขนาน ยาแก้ไข้ ทับระดู มี 1 ขนาน ยาแก้ไข้มาลาเรีย มี 1 ขนาน ๆลๆ การที่มีหลายขนาน เพื่อให้เลือกใช้ ได้เหมาะสม กับท้องถิ่น ใน ตอน ท้ายเล่ม มี นามานุกรมสมุนไพร ( ตำรายากลางบ้าน) โดยบอกชื่อ พืช ที่เรียกกันทั้ง 4 ภาคของไทย